ผู้ประกันตน ม.33 เตรียมจ่ายเพิ่มเงินสมทบประกันสังคม เริ่ม 1 ม.ค. 67

Advertisement จากกรณีที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมกำลังพิจารณา “ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงสุด ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …” เพื่อปรับปรุงเพดานค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่ Advertisement ส่งผลกระทบทำให้ผู้ประกันตนกลุ่มดังกล่าวต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นซึ่งจากข้อมูลระบบประกันสังคม ณ เดือนตุลาคม 2566 ระบุว่า มีผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวนทั้งสิ้น 11,833,086 คน อย่างไรก็ดี ขั้นตอนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ-ขั้นสูง ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมกลางปี 2565 ต่อมากระทรวงแรงงานได้ยกร่างกฎกระทรวงและนำร่างไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องครั้งที่ 1 ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาโดยมีผู้ร่วมเสนอความเห็นทั้งหมด 55,584 คน ทั้งนี้ ยังไม่มีการประกาศใช้โดยจะนำไปประกอบการพิจารณาแก้ไขกฎหมายขั้นตอนต่อไป พร้อมดำเนินการแก้ไขร่างกฎหมายตามข้อเสนอแนะและนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาและดำเนินการตามกระบวนการทางนิติบัญญัติต่อไป อัตราใหม่เริ่มวันไหน-จ่ายกี่บาท ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 […]

อัปเดต เงื่อนไข บำเหน็จชราภาพ-บำนาญชราภาพ ประกันสังคม “ม.33-ม.39”

เช็กสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่ออายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ มีดังนี้ บำเหน็จชราภาพ จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน และส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี บำนาญชราภาพ จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น รายเดือนตลอดชีวิต คิดเป็นอัตรา 20% ของเงินค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญ ให้อีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน กรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิต ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา […]

เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม ม.33-ม.39 รับผ่านพร้อมเพย์ได้แล้ว

กรณีที่ สำนักงานประกันสังคม ระบุว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่เป็นคุณแม่ที่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม 800 บาทต่อเดือนต่อคน คราวละไม่เกิน 3 คน สามารถรับเงินสงเคราะห์บุตรผ่านพร้อมเพย์ได้แล้ว วิธีรับเงินสงเคาราะห์บุตรผ่านพร้อมเพย์ ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ลงทะเบียนผ่านธนาคารเจ้าของบัญชี ไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคารกับสำนักงานประกันสังคมในการขอรับประโยชน์ทดแทน หากต้องการยื่นเรื่องหรือแจ้งเปลี่ยนวิธีรับเงินผ่านพร้อมเพย์ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา อย่างไรก็ตาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง   ข่าวจาก : thansettakij

ประกันสังคม ม.33 อายุครบ 55 ปี รับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ

ผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี รับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ สามารถขอรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญ ตามเงื่อนไขที่กำหนด เช็กที่นี่ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว สามารถขอรับสิทธิเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญกรณีชราภาพ ตามเงื่อนไข และระยะเวลาในการส่งเงินสมทบกรณีชราภาพที่ตนเองออมไว้ เงินบำเหน็จชราภาพ (จ่ายก้อนเดียวจบ) เป็นผู้ที่มีการจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน มีความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง เป็นผู้ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย เงินบำนาญชราภาพ (จ่ายเงินทุกเดือน) ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน โดยไม่จำเป็นว่าระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบใน 180 เดือนจะต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ (กรณีย้ายงาน มีช่วงเวลาที่ไม่ได้จ่ายเงินประกันสังคมแต่รวมกันต้องถึง 180 เดือน) เป็นผู้ที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ความเป็นผู้ประกันตนมีความสิ้นสุดลง ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีอายุเกิน 55 ปี ซึ่งยังคงมีนายจ้าง […]

ใกล้หมดเขตแล้ว!! ม.33 ม.39 ม.40 ไม่ได้รับเงิน ยื่นทบทวนสิทธิถึง31ต.ค.นี้!

ม.33 ม.39 ม.40 ไม่ได้รับเงิน ยื่นทบทวนสิทธิถึง 31 ต.ค. เช็กสิทธิอัพเดตเงินเยียวยาผู้ประกันตนทุกกลุ่มที่นี่ www.sso.go.th ความคืบหน้ากรณีการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ในระยะที่ 2 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 สามารถเช็กสิทธิได้ที่ www.sso.go.th หากไม่ได้รับสิทธิ์ให้รีบยื่นทบทวนสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคม 64 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการโอนจ่ายเงินเยียวยารอบที่ 2 ให้ผู้ประกันตนใน ม.33, ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) นั้น เป็นไปตามไทม์ไลน์ของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะเริ่มทยอยโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนของผู้ประกันตนตามไทม์ไลน์ ดังนี้     กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ปรับปรุงรายละเอียดการดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40 ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศล็อกดาวน์ 2 เดือน ในรอบที่ 2 […]

เช็กสิทธิประกันสังคม เตรียมโอนเงินเยียวยา ม.33 ม.39 ม.40 วันไหน ดูได้เลย!!

โฆษกสำนักงานประกันสังคม เผยวันโอนเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ในพื้นที่สีแดง คุมเข้มโควิด 19 มาดูกันเร็ว..เงินเข้าวันไหน จากกรณี ครม. มีมติแจกเงินเยียวยาประกันสังคม แก่นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์โควิด 19 ในพื้นที่ 13 จังหวัดพื้นที่สีแดง ตามที่มีรายงานไปแล้วนั้น เมื่อวานนี้ (28 กรกฎาคม 2564) ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงวันในการโอนเงินเยียวยาให้แก่ผู้ประกันตน ทั้ง ม.33 ม.39 และ ม.40 มีรายละเอียดดังนี้ ผู้ประกันตน ม.33 – ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปัตตานี, ยะลา, […]

เช็คให้ชัด “9อาชีพ” รับเงินเยียวยา ผ่านประกันสังคม ม.33,39,40 คือใครบ้าง ?

สรุป “9 อาชีพ” ที่จะได้รับ “เงินเยียวยา” ผ่าน “ประกันสังคม” มาตรา 33 39 และ 40 กรณีได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ใครได้บ้าง หลังจากที่ ครม. มีมติ “จ่ายเงินเยียวยา” ผู้ได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ครั้งล่าสุด ผ่าน “ประกันสังคม” มาตรา 33 39 และ 40 โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด และประกอบอาชีพใน 9 กลุ่มอาชีพที่รัฐกำหนด ด้วยเงื่อนไขหลายอย่าง ทำให้หลายคนยังสับสนว่าตนเองจะได้รับสิทธิ์ “เยียวยาล็อกดาวน์” ครั้งนี้หรือไม่ อ่านเลย! สรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเงื่อนไข 9 อาชีพที่จะได้รับ “เงินเยียวยา” ในครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้  9 กลุ่มอาชีพที่จะได้ “เงินเยียวยา” ล็อกดาวน์ 1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร : โรงแรม, […]

เช็กสิทธิประกันสังคม ม.33, 39, 40 ช่วยเหลืออะไรบ้างในช่วงโควิดปี64

เช็คเงินประกันสังคมมาตรา 33, มาตรา 39 หรือมาตรา 40     ผู้ประกันตน มาตรา 33, 39, 40 คือใครบ้าง ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ พนักงาน มนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างเอกชนที่ยังทำงานกับนายจ้างอยู่ในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะส่งเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ พนักงาน-ลูกจ้างเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ปัจจุบันได้ลาออกจากงาน ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว และสมัครใจเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคม ภายใน 6 เดือน หลังลาออก ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ทำอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร […]

ผู้ประกันตน ม.33 มีเฮ! บิ๊กตู่ เผยดีเดย์เริ่มต้นฉีดวัคซีนโควิดได้ มิ.ย.นี้

พล.อ. ประยุทธ์ เตรียมการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ผู้ประกันตน ม.33 เริ่มต้นเดือนมิถุนายน 2564 โดยจะเริ่มระยะแรกจาก กทม. จากนั้นจะเป็นอีก 9 จังหวัดเศรษฐกิจ วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า กลุ่มผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เป็นกลุ่มแรงงานที่ความสำคัญกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอาขีพต้องสัมผัส ต้องเจอคนจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ การเตรียมการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับกลุ่มผู้ประกันตนนี้ จะเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง แรงงาน กระทรวงการคลัง และภาคเอกชน โดยจะพร้อมฉีดตั้งแต่ ต้นเดือนมิถุนายนนี้ครับ ผมได้กำชับให้ทำการฉีดให้ต่อเนื่อง และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการ ฟื้นตัวได้โดยเร็ว สำหรับแนวทางการกระจายวัคซีนมีดังนี้ครับ           1. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ร่วมมือกับภาคเอกชน และ สปสช. ในการดำเนินการ โดยกลุ่มผู้ประกันตนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยในกลุ่ม 7 […]

1 2
error: