นายจ้างขอทบทวนนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ขอค้านแบบอัตราเดียว600บาททั่วประเทศ

Advertisement นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันะ 600 บาทและเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี25,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย จะเป็นภาระหนักต่อเอกชนโดยเฉพาะการขึ้นค่าแรงแม้ทยอยขึ้นใน 4 ปี หรือภายในปี 2570 เป็นการปรับขึ้นสูงถึง 40-60% หรือเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งเป็นสัญญาณตรงถึงภาคเอกชนที่ต้องเตรียมแบกรับภาระ Advertisement รวมถึงมีโอกาสสูงที่จะทำให้นักธุรกิจต่างชาติชะลอการลงทุนในไทย เพราะข้อเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท ถือเป็นการกระชากค่าแรงมากไปจึงต้องกลั่นกรองให้ดี เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระหนักให้ภาคเอกชน ทั้งนี้ การปรับค่าแรงเป็นวันละ 600 บาท จะเป็นไปได้ถ้าเศรษฐกิจขยายตัว 7-10% และเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจขยายตัว ดังนั้นรัฐบาลต้องมองเป้าหมายการทำเศรษฐกิจเติบโตให้ได้ดีก่อน เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีเชื่อว่าภาคเอกชนพร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงในระดับที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ และควรเพิ่ม Productivityแรงงานควบคู่กัน ซึ่งรัฐบาลใหม่ควรตัดสินใจรอบด้านร่วมกับหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์บนพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีกลไกคณะกรรมการค่าจ้างกลางแต่ละจังหวัดพิจารณาปรับค่าแรงให้สอดคล้องเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ Advertisement “หากขึ้นค่าแรงทันทีจะได้ไม่คุ้มเสีย วันนี้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงหลายด้าน หากนายจ้างมีต้นทุนสูงขึ้นบางส่วนอาจรับไม่ไหว ซึ่งอาจชะลอการจ้างงานลดพนักงาน หรือธุรกิจที่ใช้แรงงานมากอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตรวมถึงนักลงทุนใหม่ที่อาจปรับแผนลงทุนประเทศอื่น ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจวงกว้าง ดังนั้นจึงต้องหารือหลายส่วนและหวังว่าจะทบทวนเพื่อให้เกิดรูปแบบที่ทุกภาคส่วนยอมรับ” แนะเลื่อนขึ้นไปปีหน้าห่วงเศรษฐกิจชะลอ นายธนิต โสรัตน์ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า […]

50ชีวิตถูกลอยแพ นายจ้างเบี้ยวค่าแรง แฉติดพนันออนไลน์ ล็อกบริษัทหนี พนง.

จากกรณีพนักงานจากบริษัทคอลเซ็นเตอร์แห่งหนึ่งกว่า 50 คน ถูกบริษัทลอยแพ ไม่จ่ายค่าแรงและค่าคอมมิชชั่นจนได้รับความเดือดร้อน ก่อนจะนำเรื่องมาร้องเรียนผ่านกลุ่มสายไหม ต้องรอด เพื่อขอความเป็นธรรม โดยระบุว่านายจ้างจ่ายเงินเดือนมาให้เพียง 10% เท่านั้น และนัดมาจ่ายที่เหลือในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 แต่เมื่อมาถึง ประตูบริษัทกลับปิดสนิท ทำให้พนักงานบางคนร้องไห้ ไม่รู้จักเอาเงินที่ไหนไปซื้อกับข้าวให้ลูก และจ่ายค่าเช่าบ้าน จนบ้านจะถูกยึดอยู่แล้ว ต่อมาข่าวช่องวัน รายงานว่า จากการลงพื้นที่ไปยังซอยรามอินทรา 39 แยก 13 พบอาคารสีขาว ซึ่งบริษัทที่มาเช่าทำเป็นสำนักงานคือบริษัทบีจีเอ็ม ไทยกรุ๊ป จำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับคอลเซ็นเตอร์ให้บริการในด้านอาหารเสริมยี่ห้อหนึ่ง มีพนักงานในบริษัทราว 50 คน หนึ่งในพนักงาน ที่ทำงานมา 7 เดือน เผยกับทีมข่าวว่า บริษัทแห่งนี้เปิดทำการมาไม่นาน มีหุ้นส่วนจำนวน 3 คน เริ่มจ่ายเงินเดือนไม่ครบตามกำหนดตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้เจ้าของบริษัทได้เอาสลิปการโอนเงินถอนเงิน ในการเล่นการพนันสล็อตออนไลน์มาให้ดู แต่พนักงานในบริษัทก็ไม่ได้คิดอะไร จนพักหลังมีการพูดถึงว่าเอาเงินเดือนของพนักงานในบริษัทไปเล่นการพนัน ถึงจะได้เงินมาจ่าย จนล่าสุดในเดือนตุลาคม พนักงานร่วม […]

เช็กด่วน! ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา ม.33-นายจ้าง เปิดเงื่อนไขรับเงินช่วยพิเศษ

เช็กด่วน! ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา ม.33-นายจ้าง เปิดเงื่อนไขรับเงินช่วยพิเศษ หลังครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้ประกอบการเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 17 ก.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้ประกอบการเพิ่มเติม (ม.33, ม.39, ม.40 และ 9 กลุ่มอาชีพ) เป็นมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดฉบับที่ 27 เพื่อลดผลกระทบในระยะสั้น สำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ทั้งในและนอกระบบประกันสังคม โดยเป็นการทดแทนมาตรการช่วยเหลือตามมติครม. เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.64 ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน รายละเอียดดังนี้ 1. ขยายพื้นที่จากเดิม 6 จังหวัด คือกรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เพิ่มเติม 4 จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา โดยเป็น 10 จังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 2. เพิ่มประเภทกิจการรวม 9 […]

กระทรวงแรงงาน ฝากถึงนายจ้างต้องพึ่งพาตนเอง เจียดเงินช่วยเหลือคนงาน

กระทรวงแรงงาน ยันผึ้งไม่แตกรัง หลังคนงานแห่เดินทางกลับภูมิลำเนา เผยถ้าเตรียมการล่วงหน้าจะมีการเคลื่อนย้ายยิ่งกว่านี้ ชี้ผู้ประกอบการต้องพึ่งพาตนเอง เจียดเงินช่วยเหลือคนงาน จากกรณีที่รัฐบาลประกาศปิดแคมป์คนงานแบบปัจจุบันทันด่วน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 จนหลายฝ่ายกังวลใจว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ใช้แรงงาน จนเกิดเหตุการณ์ ผึ้งแตกรัง เดินทางกลับภูมิลำเนาหนีการกักตัวหรือเปล่า รายการ โหนกระแส วันที่ 28 มิถุนายน 2564 สัมภาษณ์ สุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงานถึงเรื่องดังกล่าว ประกาศแบบปัจจุบันทันด่วน มีเวลาเตรียมตัวน้อย แรงงานซึ่งอยู่ในแคมป์เหมือนผึ้งแตกรัง กลับไปท้องถิ่นเขาเอง แบบนี้ยิ่งทำให้กระจายเชื้อไปหรือเปล่า ? สุรชัย : ถ้าเรามีการเตรียมการล่วงหน้า การกระจายหรือเคลื่อนย้ายก็จะมากกว่านี้อีก เป็นเหตุที่ รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศในช่วงเวลาสั้น ๆ เข้าควบคุมแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานที่อยู่แคมป์คนงานที่มีการแพร่ระบาดโรคโควิดอย่างรุนแรง สิ่งหนึ่งที่จะบอกคือเรามีการประชุมที่กระทรวงแรงงาน เราประกาศวันที่ 25 วันที่ 26 คือวันเสาร์ กระทรวงแรงงานก็เชิญท่านปลัด อธิบดีทุกส่วนเข้ามาประชุมกัน แล้ววันที่ 27 เราก็เชิญนายกสมาคมก่อสร้างไทยมาประชุมเพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อน รวมทั้งกระทรวงแรงงานเราจะเยียวยาอะไรให้เขาเป็นข้อ ๆ ที่กฎหมายรองรับและทำได้ สิ่งที่เราได้คุยกับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย โดยสมาชิกที่มา เราได้พบว่าหลาย ๆ […]

นายจ้างกลุ้ม ! แม่บ้านหางาน เรียกเงินเดือน 2 หมื่น และมีข้อแม้

นายจ้างสิงคโปร์กลุ้ม สาวใช้เรียกเงินเดือน 2 หมื่น มีเงื่อนไขไม่ล้างรถ – ถูบ้านแบบวันเว้นวัน หากข้องใจก็ไม่ทำงานด้วย ไม่ขยันก็ยังมีงานทำ หลังแม่บ้านขาดแคลนหนักช่วงโควิด เนื่องด้วยการระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้อาชีพแม่บ้านเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะจ้างแรงงานใหม่จากต่างประเทศ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งมีนโยบายระงับการรับแรงงานที่มาจากที่มีความเสี่ยงโควิดสูงอีกด้วย จากความต้องการจ้างงานที่สูงสวนทางกับจำนวนที่ว่างอยู่ จึงเกิดกรณีที่แม่บ้านนั้นสามารถมีตัวเลือกในการรับงานมากกว่าที่คิด ซึ่งล่าสุด (26 มิถุนายน 2564) เว็บไซต์เอเชียวัน เผยเรื่องของนายจ้างที่สัมภาษณ์งานกับสาวใช้รายหนึ่ง เธอนั้นเป็นแรงงานจากประเทศอื่น ซึ่งระบุข้อเรียกร้องว่า เธอขอเงินเดือน 900 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 21,000 บาท) โดยต้องการวันหยุดอย่างน้อย 2 วัน นอกจากนี้ เธอจะไม่ล้างรถให้ รวมทั้งจะถูบ้านให้แบบวันเว้นวัน ต่อมา นายจ้างที่สัมภาษณ์งาน พยายามแจ้งว่า ที่บ้านนั้นไม่ได้มีคนแก่หรือเด็กที่คอยกวนใจ ส่วนงานที่จะให้ทำก็คือการทำอาหาร และทำความสะอาด หากแม่บ้านจะขอทำแบบวันเว้นวัน ก็สงสัยว่าวันที่เว้นไปแม่บ้านจะทำงานอะไร ส่งผลให้การเจรจาล่มในท้ายที่สุด เพราะเธอไม่ใช่นายจ้างที่แม่บ้านรายนี้อยากร่วมงานด้วย   ข่าวจาก : kapook

ลูกจ้างทุกคนโปรดทราบ! ทนายเผยมาทำงานสายนายจ้างไม่มีสิทธิ์หักเงิน? ฝ่าฝืนโทษถึงติดคุก!

  7 ส.ค. 61 เพจเฟซบุ๊ก "สายตรงกฎหมาย" โดยทนายรัชพล ศิริสาคร ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ได้โพสต์ข้อกฎหมายที่ลูกจ้างควรรู้  โดยระบุว่า เชื่อว่าในสถานประกอบกิจการต่างๆ ลูกจ้างคงจะโดนหักเงินจากนายจ้างมิใช่น้อย ซึ่งจริงๆ แล้ว ตามกฎหมายเค้าห้ามนายจ้างหักเงินมั่วๆ โดยเฉพาะเมื่อมาสาย นายจ้างจะหักเงินได้แค่ที่กฎหมายกำหนด ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 ระบุว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง นายจ้างจะหักค่าจ้างได้กรณีดังนี้ – หักภาษีหรือชำระเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด – หักค่าสหภาพ – ชำระหนี้สหกรณ์ – หักเงินประกันบางประเภท หรือหักค่าเสียหายโดยลูกจ้างต้องยินยอม – หักเงินสะสม ดังนั้น มาสายหักเงินไม่ได้ ใครโดนก็ไปร้องเรียนได้ที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานครับ หากฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน ตามมาตรา 144   ขอบคุณข้อมูลจาก : "สายตรงกฎหมาย"

กสร.เตือนนายจ้าง! ห้ามบังคับลูกจ้างทำงานวันหยุดหากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดด้วย!

  7 ก.ค.61 เว็บไซต์ thaigov.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลไทยรายงานว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดผิดกฎหมาย หากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด เพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสพักผ่อนหรือทำกิจธุระ  อย่างไรก็ตามหากนายจ้างมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเพื่อประโยชน์แก่การผลิต จำหน่าย และบริการอาจให้ลูกจ้างทำงานได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้เมื่อให้ลูกจ้างทำงานแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง โดยจ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนที่ทำ สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายเดือน และจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายวัน นายอนันต์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีโทษสูงสุดคือ จำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กสร.จึงขอให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด […]

error: