สดร.ไขข้อสงสัย ภาพถ่าย “หลุมดำ Sgr A” ใจกลางทางช้างเผือก

Advertisement สดร.ไขข้อสงสัย “หลุมดำ Sagittarius A* (Sgr A*)” ณ ใจกลางทางช้างเผือก รวมคำถาม-คำตอบที่ทุกคนอยากรู้ไว้ที่นี่ วันนี้( 15 พ.ค.65) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับภาพถ่ายหลุมดำ Sagittarius A (Sgr A) โดยระบุว่า Advertisement #ถามตอบ สิ่งที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับภาพถ่ายหลุมดำ Sagittarius A* (Sgr A*) จากที่เราได้เห็นภาพถ่ายภาพแรกของหลุมดำมวลยิ่งยวด ณ ใจกลางทางช้างเผือก Sagittarius A* (Sgr A*) กันไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนมีคำถามมากมาย วันนี้จึงรวบรวมคำถามพร้อมคำตอบมาฝากกัน – #หลุมดำมวลยิ่งยวดคืออะไร ? หากเราโยนก้อนหินสักก้อนออกไปจากพื้นโลก ก้อนหินนี้จะช้าลงเรื่อยๆ ก่อนจะตกกลับลงมาบนพื้นโลกในที่สุด เว้นแต่ว่าเราจะโยนก้อนหินได้เร็วพอเสียจนมันสามารถหลุดออกไปจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ เราเรียกความเร็วต้นนี้ว่า “ความเร็วหลุดพ้น” ซึ่งแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้บนพื้นผิวโลกนั้นมีความเร็วหลุดพ้นอยู่ที่ 11.2 กม./วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เร็วมากเกินกว่าความเร็วปรกติที่เราเจอในชีวิตประจำวัน แต่หลุมดำนั้นถูกนิยามโดยบริเวณที่มีแรงโน้มถ่วงมากเพียงพอเสียจนความเร็วหลุดพ้นนั้นเกินกว่าความเร็วแสง ที่ […]

error: