ตร.ทุ่มงบ22ล้าน จัดซื้อแผงกั้น “เครื่องหมายหยุดตรวจ”

Advertisement จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ห้วยขวาง ตั้งด่านรีดเงินนักท่องเที่ยวสาวชาวไต้หวัน จนสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ทำให้ พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ(จตช.) ต้องออกมารับลูก ผบ.ตร. สั่งการให้กองตรวจราชการ 1 -10 จัดกำลังออกสุ่มตรวจการตั้งด่านตรวจของตำรวจทั่วประเทศ Advertisement พร้อมทั้งกำชับแนวทางปฏิบัติการตั้งด่าน ตามคำสั่งตร.ที่ 0007.22/1572 ลง 31 พฤษภาคม 2564 ระบุถึง ข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม โดยคำสั่งดังกล่าว ได้นิยามความหมายของด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด และรูปแบบการตั้งด่านเอาไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังกำหนด “อุปกรณ์ที่ใช้” ในด่านตรวจ หรือจุดตรวจ อาทิ ป้ายแจ้งเตือน (ป้ายไวนิล) ป้ายไฟด่านตรวจ/จุดตรวจ นั้น 5 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ 2566 ลงวันที่ 3 […]

ผบ.ตร. กำชับ ตั้งด่านต้องติดกล้อง แต่งเครื่องแบบ หากติดสินบนเอาผิดทันที!

4 ก.พ.2566 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. มีหนังสือสั่งการ เรื่อง กำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด โดยมีเนื้อหาพอสรุปได้ดังนี้เพื่อบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกและความผิดอื่นที่เกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง ซึ่งกำหนดแนวทางและมาตรการในการตั้งด่านตรวจจุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกและความผิดที่เกี่ยวข้องไว้แล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการในกรณีดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้การตั้งด่านตรวจ จุดตรวจให้พิจารณาดำเนินการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม หรือเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงบนถนน โดยจะต้องนำข้อมูลสถานภาพอาชญากรรม หรือสถิติการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละพื้นที่มาเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณากำหนดจุด สำหรับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ รวมทั้งต้องดำเนินการในลักษณะด่านตรวจ จุดตรวจสัมพันธ์ เพื่อลดการส่งผลกระทบต่อการเดินทางและปฏิบัติกิจธุระตามปกติของประชาชน โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมไว้ดังนี้ 1. ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัดทุกนายแต่งเครื่องแบบและติดกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอล (Police Body Camera) ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ และเมื่อมีกรณีการเรียกตรวจบุคคลและยานพาหนะให้บันทึกภาพและเสียงขณะตรวจไว้ตลอดเวลาและให้นำภาพและเสียงที่บันทึกไว้ในกล้องไปจัดเก็บไว้ในเครื่อคอมพิวเตอร์ของหน่วยในโอกาสแรกหลังเลิกการปฏิบัติ โดยให้เก็บภาพและเสียงไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 วัน และให้ หน.สน./สภ. ควบคุมกำกับ ดูแลการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด หากพบข้อบกพร่องในกรณีดังกล่าว ให้พิจารณาดำเนินการทางวินัยหัวหน้าด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด จนถึง หน.สน./สภ. 2. ในการตั้งจุดสกัด ให้ปฏิบัติได้เฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วน เพื่อระงับยับยั้ง สกัดกั้น หรือจับกุมผู้กระทำความผิดเท่านั้น […]

ศบค.แจงแผนตั้งด่าน-ให้เดินทางไม่สะดวก ต้องใช้ 3 อย่างแอพฯไทยชนะ-เว็บใหม่-เอกสารจนท.

ศบค.แจงแผนตั้งด่าน-ให้เดินทางไม่สะดวก ต้องใช้ 3 อย่างแอพฯไทยชนะ-เว็บใหม่-เอกสารจนท.ในพื้นที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นต้น ถ้าไม่จำเป็นอย่าเดินทาง ขอให้อยู่ในเคหสถาน เมื่อวันที่ 19 ก.ค.64 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) กล่าวว่า สำหรับข้อกำหนดตามมาตรา 9 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 28) ออกเมื่อวันที่ 17 ก.ค.2564 กำหนดจังหวัดควบคุมสุงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จาก 10 จังหวัดเพิ่มเป็น 13 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) จาก 24 จังหวัดเป็น 53 จังหวัด พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จาก 25 จังหวัดเหลือ 10 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) จาก 18 จังหวัดลดเหลือ 1 […]

รมว.คมนาคมสั่ง’ตำรวจทางหลวง’ ถกกำหนดมาตรฐานตั้งด่าน

  “อาคม”สั่ง ทล.หารือตำรวจทางหลวง กำหนดมาตรฐานตั้งด่านบนถนน ป้องกันเกิดอุบัติเหตุ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีตำรวจทางหลวงตั้งด่านเรียกรถบนถนนทางหลวง จนเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนว่า ในเรื่องดังกล่าวได้สั่งการให้กรมทางหลวง(ทล.)ประสานงานกับตำรวจทางหลวงถึงการตั้งด่านตรวจบนถนนของกรมทางหลวงให้มีมาตรฐานและความเข้าใจตรงกันในเรื่องการตั้งด่านในระยะที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะตามหลักการที่กรมทางหลวงอนุญาตให้กรมการขนส่งทางบก(ขบ.)ตั้งด่าน คือ ด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกเกินพิกัด ส่วนตำรวจทางหลวงตั้งด่านตามกฎหมายก็สามารถตั้งด่านได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ “การทิ้งระยะห่างระหว่างรถแต่ละคันจะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งจะมีความสำพันธ์กับความเร็วด้วย เช่น จากหลักการพบว่าหากขับรถด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตร(กม.)/ชั่วโมง(ชม.) ระยะห่างจะอยู่ที่ 27.7 เมตร หรือประมาณ 1 ช่วงเสาไฟฟ้า และหากขับรถที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ระยะห่างคันหน้าจะห่างกันที่ 20 เมตร ดังนั้นการขับรถในทางปฎิบัติต้องดูระยะห่างให้ดี หากคนขับรถถูกตำรวจทางหลวงเรียกขณะขับรถ ในทางปฏิบัติอย่าเบรกกะทันหัน เพราะอาจถูกรถคันหลังที่ตามมาชนท้ายได้ ทางที่ดีควรค่อยๆลดความเร็วและลงไหล่ทาง ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้”นายอาคม กล่าว ข่าวจาก : มติชนออนไลน์

error: