งานวิจัยชี้ เด็กไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำสูบบุหรี่มวนเพิ่ม 5 เท่า ย้ำไม่ช่วยเลิกสูบได้

Advertisement 22 ก.ย. 2565 รศ.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะหัวหน้าวิจัยโครงการศึกษาการรับรู้และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนไทย เปิดเผยว่า งานวิจัยนี้ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกของไทย ที่พบว่าเด็กไทยที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มจะไปสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น Advertisement โดยงานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา ในวารสาร Tobacco Control ซึ่งเป็นวารสารด้านการควบคุมยาสูบอันดับหนึ่งของโลก การศึกษานี้เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดอื่น ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 6,045 ราย และติดตามผลไป 12 เดือน พบว่า เด็กที่ไม่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ใด ๆ มาก่อน หากเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า จะมีแนวโน้มไปลองสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น 5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการเก็บข้อมูลระยะยาว ข้อสรุปจากงานวิจัยจึงสนับสนุนว่า “บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูสู่การสูบบุหรี่ธรรมดาจริง” Advertisement ศ.ดร.สแตนตัน แกล็นซ์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาวิจัยการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย […]

สถาบันปรัชญารัสเซีย จัดสรรทุน 3 แสนบาท วิจัย “นรก” และ “ความชั่วร้าย”

สถาบันปรัชญารัสเซีย – วันที่ 30 ธ.ค. เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ เอร์เบเค รายงานว่า สถาบันปรัชญา สำนักวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย (Russian Academy of Sciences) จัดสรรเงิน 742,000 รูเบิล (ราว 333,000 บาท) เป็นทุนดำเนินการวิจัยว่า “การมีอยู่ของนรกเป็นความชั่วร้ายหรือไม่” ข้อมูลดังกล่าวปรากฏเป็น หลักฐาน ในเว็บไซต์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลรัสเซีย โดยสถาบันปรัชญา สำนักวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย วางสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างเมื่อวันที่ 29 มี.ค. และสัญญาจัดซื้อจัดจ้างในการวิจัยดังกล่าวดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ส่วนผู้สัญญาการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลมีเพียงคนเดียว คือ อีกอร์ กัสปารอฟ ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งรัฐโวโรเนจ เอ็น.เอ็น. บูร์เดนโค และมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ ตามข้อมูลเว็บไซต์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล สถาบันปรัชญา สำนักวิทยาศาสตร์รัสเซีย จัดสรรทุนดำเนินการวิจัยดังนี้ – 667,000 รูเบิล (เกือบ 300,000 บาท) งานวิชาการ […]

สุดเจ๋ง!! แพทย์หญิงไทยคว้าที่1 งานวิจัย’ใช้เลเซอร์รักษาหัวล้านที่เกิดจากพันธุกรรม’

  แพทย์ผิวหนังหญิงไทย สร้างผลงานระดับโลก คว้าที่ 1 งานวิจัยรักษาโรคศีรษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรม ชี้ เป็นงานวิจัยชิ้นแรกในเอเชีย วันที่ 7 มีนาคม 2561 เว็บไซต์ workpointnews รายงานว่า รศ. (พิเศษ) พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย และตัวแทนของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย รวมทั้งเป็นตัวแทนของแพทย์จากประเทศไทย เข้าร่วมส่งผลงานวิจัยในงาน ISHRS Poster Awards 2017 (International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS) หรือสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ     ทั้งนี้ รศ. (พิเศษ) พญ.รัชต์ธร สามารถคว้ารางวัลที่ 1 ในประเภทงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของโปสเตอร์ ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกในเอเชีย ในการยืนยันประสิทธิภาพของกระบวนการยิงด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ เพื่อขจัดปัญหาโรคผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม     รศ. (พิเศษ) พญ.รัชต์ธร กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาวิธีในการรักษาโรคผมบางศีรษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia, AGA) […]

error: