ปลัดกลาโหม ชี้แจง งบกองทัพไม่สูง เมื่อเทียบภารกิจ ใช้อย่างประหยัด

Advertisement เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อพิจารณางบของกระทรวงกลาโหม พล.อ.วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวรายงานว่า กระทรวงกลาโหมได้รับงบประมาณมีสัดส่วนลดลงทุกปี นับตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 6.55% ปี 2565 6.51% ปี 2566 6.19% หากเทียบกับสัดส่วนจีดีพีของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2563-2565 เฉลี่ย 1.22% และปี 2566 1.10% Advertisement จากสถานการณ์โลก ปัจจุบันมีความผันผวน และเสี่ยงนำไปสู่ความขัดแย้งโดยการใช้กำลังทหาร การใช้อาวุธที่เกิดจากนโยบายด้านยุทธศาสตร์ การแข่งขันขยายอำนาจของจีน สหรัฐฯ รัสเซียและประเทศพันธมิตร ที่นำไปสู่การขยายพื้นที่การสะสมอาวุธ นโยบายต่างประเทศแบบเลือกข้างและใช้นโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งจากการสำรวจพบว่างบประมาณด้านกำลังทหารโลกเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง “กระทรวงกลาโหมตระหนักข้อจำกัดงบประมาณของประเทศ จัดลำดับความสำคัญ อาวุธยุทโธปกรณ์ ควบคู่พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ […]

นายกฯ ตอบสภา ทำไมต้องซื้ออาวุธในตอนนี้ ชี้ซื้อแค่1ใน3 ของที่ต้องการ

นายกรัฐมนตรี ย้ำงบกลาโหมจัดหาอาวุธจำเป็นสำหรับป้องกันภัยคุกคามและจัดสรรเพียง 1 ใน 3 ของความต้องการ พร้อมแจงค่าใช้จ่ายจัดซื้อวัคซีน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลุกขึ้นชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ถึงเรื่องการจัดซื้ออาวุธยุทธโธปกรณ์ ของกระทรวงกลาโหม ยืนยันว่า ไม่ต้องการให้มีการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่จะต้องประเมินคือ ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไรบ้าง จะมีเหตุการณ์สู้รบหรือไม่ หรือความจำเป็นในการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบภายในประเทศหรือไม่ ซึ่งเป็นภารกิจของรัฐบาลที่จะต้องดูแล และรัฐบาลใช้งบประมาณในการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ รถยานเกราะ เพื่อเตรียมไว้สำหรับรองรับสถานการณ์ที่จะต้องดูแลให้ประชาชนเกิดความปลอดภัยและเป็นการจัดซื้อจัดหาเพียงจำนวน 1ใน 3 ของความต้องการทั้งหมด ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ยังชี้แจงค่าใช้จ่ายการจัดซื้อวัคซีนโควิด 19 ในปี 2563 และปี 2564 รวมทั้งสิ้น 21,134 ล้านบาท และโดยใช้งบกลาง 11,346 ล้านบาท จากงบเงินกู้ 9,877 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงแค่จะใช้งบประมาณของกระทรวงเท่านั้น และการพิจารณาใช้งบกลางไม่สามารถตัดสินใจเองได้ แต่จะต้องขออนุมัติและมีกระบวนการตรวจสอบจากองค์กรภายในของรัฐบาลและองค์กรภายนอก ทั้ง สตง.-ป.ป.ท.-ป.ป.ช. ยืนยันไม่เคยถูกละเว้นการตรวจสอบ และสามารถชี้แจงได้ว่า ทำตามกติกากฏหมาย ขณะเดียวกันยืนยันรัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งการพัฒนาวิจัยภายในประเทศ ซึ่งในปี […]

error: