คลังชง ครม. คลอดมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ

Advertisement นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วงว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 9 เม.ย.นี้ กระทรวงการคลัง จะเสนอแพ็คเกจมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยจะมีทั้งมาตรการการเงิน และการคลัง เพื่อช่วยกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และให้สะท้อนต่อสถานการณ์ราคาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันที่ปรับเพิ่มขึ้น Advertisement “มาตรการที่เสนอมีทั้งการขยายเรื่องลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนอง รวมถึงมาตรการสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่วงเงินพิเศษอยู่แล้ว ให้ครอบคลุมกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น” รายงานข่าวแจ้งว่า มาตรการที่จะเสนอ ครม. ประกอบด้วย การผ่อนปรนมาตรการลดค่าโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% เหลือ 1% และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% ทั้งนี้ ให้ครอบคลุมสำหรับการซื้อขาย ที่อยู่อาศัยที่มีราคาเกิน 3 ล้านบาทด้วยซึ่งปัจจุบัน มาตรการนี้จะให้สิทธิเฉพาะที่อยู่อาศัย ที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท แต่คลังจะพิจารณาผ่อนปรน ให้ที่อยู่อาศัยที่ซื้อขายเกิน 3 ล้านบาท มีสิทธิได้รับส่วนลดค่าโอน และจดจำนอง ในส่วนของ 3 ล้านบาทแรกได้ ส่วนเกินที่นอกเหนือจากนั้น ให้จ่ายค่าโอน และจดจำนองตามอัตราปกติ Advertisement ปรับสินเชื่อของ ธอส.ที่มีอยู่ เช่น การปลดล็อกให้โครงการบ้านล้านหลัง เฟส 3 ของธอส. ให้สามารถปล่อยกู้บ้านที่เกินราคา […]

’กระทรวงการคลัง‘ สั่งเก็บ VAT สินค้านำเข้าต่ำกว่า 1,500 บาท ผ่านแพลตฟอร์ม

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (2 เม.ย.2567) ว่า กรมสรรพากรและกระทรวงการคลังจะดำเนินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้านำเข้า โดยไม่มีข้อยกเว้นสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศกำหนดกติกาการส่งสินค้าข้ามพรมแดนสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท ให้ยกเว้นการเก็บภาษีอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้า “ในขณะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าไม่เกินเดือนพ.ค.นี้จะเริ่มมีการเก็บภาษี VAT ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อสร้างบรรยากาศการค้าที่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการภายในประเทศหรือต่างประเทศที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกัน” นายจุลพันธ์ กล่าวต่อว่า กลไกดังกล่าวเป็นภารกิจที่รับมอบจากนายกฯ ให้ไปดำเนินการ โดยเน้นย้ำว่า 2 เดือนต่อจากนี้เชื่อว่าจะเกิดบรรยากาศการค้าและลงทุนที่มีมาตรฐานและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำว่า 1,500 บาท ประเมินโดยเฉลี่ยคาดว่ามีการนำเข้าราวปีละ 18,000 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ราว 100 ล้านบาท และที่สำคัญจะเป็นการสร้างความยุติธรรมกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศ ทั้งนี้ กฎหมายที่จะบังคับใช้จะอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงระหว่างประเทศ สอดคล้องกับกลไกการเก็บภาษีขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ (OECD) โดยการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านแพลตฟอร์ม (Vendor Collection Model) ให้แพลตฟอร์มเป็นผู้จัดส่งภาษีให้รัฐ ซึ่งเป็นกลไกที่ทั่วโลกเริ่มบังคับใช้เพื่อรองรับการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ   ข่าวจาก : […]

คลังไม่ต่ออายุลดภาษีสรรพสามิตดีเซล โยนให้รัฐบาลใหม่พิจารณา

28 พ.ค.2566 รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า เมื่อ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา ทางนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังได้ลงนามประกาศกฏกระทรวงกำหนดอัตราพิกัดภาษีสรรพสามิตดีเซลโดยกำหนดที่จะไม่ต่อมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 5 บาทต่อลิตรออกไปโดยจะสิ้นสุดวันที่ 21 ก.ค.2566 เนื่องจากให้รอรัฐบาลใหม่มาพิจารณาเพราะว่าด้วยเรื่องของงบประมาณการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตที่หายไปด้วย โดยที่ผ่านมามาตรการการลดภาษีดีเซลที่ผ่านมารวม 7 ครั้ง กระทบรายได้รัฐ 158,000 ล้านบาท ดังนี้ วันที่ 18 ก.พ.-20 พ.ค.2565 (3 เดือน) ลดภาษีลิตรละ 3 บาท รัฐสูญรายได้ 18,000 ล้านบาท วันที่ 21 พ.ค.-20 ก.ค.2565 (2 เดือน) ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ 20,000 ล้านบาท วันที่ 21 ก.ค.-20 ก.ย.2565 (2 เดือน) ลดภาษีลิตรละ 5 บาท รัฐสูญรายได้ […]

กรมบัญชีกลางขยายเวลาเบิกเงินเหลื่อมปีได้ถึง ก.ย.66

20 มี.ค. 2566 น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565 ไว้เบิกเหลื่อมปีได้ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน มี.ค. 2566 ขณะนี้ปรากฏว่า มีหน่วยงานของรัฐจำนวนมากไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และยังมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวต่อไป น.ส.กุลยา กล่าวต่อว่า ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างต่อเนื่อง เกิดประโยชน์สูงสุด มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว และช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงกำหนดให้หน่วยงานของรัฐขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. 2565 ที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีมีหนี้ผูกพัน ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน มี.ค. 2566 ทุกรายการ ไว้ใช้จ่ายได้ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน ก.ย. 2566 โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้   ข่าวจาก : ข่าวสด

คลังปลื้ม “คนละครึ่ง” คว้ารางวัลเลิศรัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ

12 กันยายน นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการคนละครึ่งและโครงการคนละครึ่งเฟส 2 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผ่านเกณฑ์การประเมินรางวัลเลิศรัฐ ประจำปีงบประมาณ 2565 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และได้รับรางวัลระดับดี ในสาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการประชาชนผ่านโครงการคนละครึ่ง ซึ่งได้ช่วยรักษาระดับการบริโภคของประชาชนและกระจายรายได้ไปยังร้านค้ารายย่อยอย่างแท้จริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นายพรชัยกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการใช้สิทธิมาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ ปี 2565เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 เวลา 23.00 น. พบว่า มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวม 34.01 ล้านคน และมียอดใช้จ่ายสะสมทั้งสิ้น 19,143 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ แบ่งเป็น 1.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 5 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 11.65 ล้านคน และมียอดใช้จ่ายสะสม 2,320 ล้านบาท 2.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิ จำนวน 7.94 […]

คลังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจ ก่อนต่อ “คนละครึ่ง เฟส5”

คลัง ขอเวลา ศึกษา การขยาย “คนละครึ่ง เฟส 5” ชี้ รอดูสถานการณ์เศรษฐกิจก่อน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีการขยายต่อโครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ว่า กระทรวงการคลัง กำลังอยู่ระหว่างประเมินว่า ควรจะต้องขยายหรือต่ออายุ เป็นโครงการคนละครึ่ง เฟส 5 หรือไม่ โดยรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในระยะต่อไปก่อน ซึ่งขณะนี้ มาตรการคนละครึ่งก็คงดำเนินการในเฟสที่ 4 อยู่ “ขณะนี้ เศรษฐกิจอยู่ในช่วงที่ไม่ปกติ ฉะนั้น ภาครัฐก็ต้องเป็นพระเอกในการเข้าไปช่วยเหลือ เมื่อเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ ก็ต้องชะลอความช่วยเหลือ แต่เมื่อถามว่า ยังจำเป็นต้องใช้มาตรการคนละครึ่งต่อไปอีกหรือไม่ ก็คงต้องดูในระยะต่อไป เพราะวันนี้ รัฐบาลยังทำโครงการนี้อยู่” นายกฤษฎา กล่าว นายกฤษฎา กล่าวว่า โครงการคนละครึ่ง ถือเป็นมาตรการที่กระทรวงการคลังทำได้ดี และ รัฐบาลก็พร้อมสนับสนุน เพราะทำแล้วเกิดประโยชน์ในภาพรวม ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้คนไทยกว่า 50-60 ล้านคน […]

คลังยันเศรษฐกิจ ม.ค. ดีจริง ท่องเที่ยวในประเทศโต127% ลงทุนเอกชนขยายตัว

คลัง ยันเศรษฐกิจ ม.ค. ดีจริงไม่จกตา ท่องเที่ยวในประเทศโตพุ่ง 127% -การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค. 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศ โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ นักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) นักธุรกิจ กลุ่มสุขภาพที่เข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยรวม จำนวน 133,903 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย จำนวน 15.43 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 127.2% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 15.5% ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาที่ระดับ 44.8 จากระดับ 46.2 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่เริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่กลับมาขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ […]

เริ่ม 15 พ.ย.นี้ คลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ ‘ออมไปด้วยกัน’ รบ. ยันความเสี่ยงต่ำ

เริ่ม 15 พ.ย.นี้ คลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ ‘ออมไปด้วยกัน’ ผ่าน เป๋าตัง-ธนาคาร-เน็ตแบงก์กิ้ง-โมบายแบงก์ รบ.ชวนประชาชนลงทุน ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนดี “รองโฆษกรัฐบาล” เผย คลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ เริ่ม15 พ.ย.นี้ ผ่าน”แอพฯเป๋าตัง -ธนาคาร-เน็ตแบงค์กิ้ง-โมบายแบงค์ ชวนปชช. “ออมไปด้วยกัน” วันที่ 14 พ.ย.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงการคลัง เตรียมเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมไปด้วยกัน วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.-3 ธ.ค.นี้ แบ่งเป็น 2 รุ่นอายุ คือ อายุ 5 ปี และ 10 ปี โดยขายแยก 2 ส่วน 1 จำหน่ายในวอลเล็ตสบม. บนแอพพลิเคชันเป๋าตัง วงเงินรวม 1 […]

คลัง เตรียมพร้อม ‘คนละครึ่ง’ เฟส 4 ต้นปี 65 ยันไม่ปิดประตู ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีก

คลัง เตรียมพร้อม ‘คนละครึ่ง’ เฟส 4 ต้นปี 65 ขอดูสถานการณ์ปลายปีหลังเปิดประเทศ โชว์มาตรการช่วยกระตุ้นใช้จ่ายคึกคัก ไม่ปิดประตู ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีก วันที่ 29 ต.ค64 นายอาคม พิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า หลังจากเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.2564 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่จะนำมาใช้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2564 ต้องมาจากหลายส่วน ไม่ใช้เฉพาะมาตรการด้านการคลัง เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะมาตรการด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องออกมารับกับการเปิดประเทศ ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพียง แต่ต้องเปิดโอกาสให้คนไทยได้เดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัดด้วย ก็จะมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 4/2564 ทั้งนี้ ในที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้รายงานให้ทราบว่า ในช่วงเดือน พ.ย.มีตัวเลขจองห้องพัก (บุ๊กกิ้ง) เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว จะต้องทำคู่ขนานไปกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด จะต้องมีการตรวจเชื้อโควิดอย่างเข้มข้นด้วย นายอาคม กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง กำลังดูความเหมาะสมที่จะมีมาตรการคนละครึ่งเฟส 4 ในช่วงต้นปี 2565 ซึ่งขณะนี้ยังมีมาตรการคนละครึ่งเฟส […]

คลัง-แรงงาน ประสานเสียง รื้อบัตรคนจนรอบใหม่ แยกกลุ่มประกันสังคม

คลัง-แรงงาน ประสานเสียง รื้อบัตรคนจนรอบใหม่ แยกกลุ่มประกันสังคม กำหนดคุณสมบัติเข้มงวดขึ้น เพื่อให้คนที่ได้รับสิทธิเป็นผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง วันที่ 11 ต.ค.64 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้คลังกำลังพิจารณาการเปิดลงทะเบียนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ ซึ่งจะปรับปรุงเงื่อนไขการลงทะเบียนให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยล่าสุดได้หารือกับกระทรวงแรงงาน เพื่อขอนำฐานข้อมูลผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการคัดกรองคุณสมบัติผู้ที่จะลงทะเบียน ควบคู่กับการปรับปรุงเกณฑ์รายได้ และเกณฑ์ด้านอื่นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องสามารถช่วยเหลือผู้เดือดร้อนตัวจริง และลดความซ้ำซ้อนในการรับความช่วยเหลือมาตรการของรัฐ “การนำข้อมูลระบบประกันสังคมมาใช้คัดกรอง จะนำมาใช้เฉพาะการเปิดลงทะเบียนรอบใหม่ ไม่เกี่ยวข้องกับคนที่ถือบัตรสวัสดิการอยู่แล้ว ซึ่งหลังจากนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะต้องจัดทำหลักเกณฑ์ แนวทางการคัดกรองให้ชัดเจน เพื่อนำเสนอเข้าคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ซึ่งได้มอบหมายให้นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เข้ามาช่วยดูแลรับผิดชอบแล้ว” ด้าน นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมากกว่า 20 ล้านคน โดยแยกเป็นผู้ประกัน มาตรา 33 ที่เป็นคนไทยประมาณ 10 ล้านคน มาตรา 39 ประมาณ 2 ล้านคน และมาตรา 40 ที่เพิ่งเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคน ซึ่งในส่วนสำนักงานประกันสังคม […]

1 2
error: