“ราชกิจจานุเบกษา” ประกาศขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิดอีก 2 เดือน

Advertisement “ราชกิจจานุเบกษา” ขยายระยะเวลา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คุม “โควิด” ทั่วราชอาณาจักรต่ออีก 2 เดือน ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 65 (27 พ.ค. 2565) “ราชกิจจานุเบกษา” ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุม โควิด โดยออกประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร(คราวที่ 18) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคราวที่ 17 ออกไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2565 นั้น Advertisement ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ โควิด มีการฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรคในหมู่ประชาชนทุกช่วงวัย ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลงเป็นลำดับ จนสามารถผ่อนปรนให้ประชาชนและผู้ประกอบการ สามารถดำรงชีวิต และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับปกติมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเปิดการเรียนการสอนในสถานศึกษาทั่วประเทศ แต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคดังกล่าวทั่วโลก Advertisement ยังคงรุนแรง มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น และระบาดแพร่หลายเป็นระยะ และต้องใช้เวลาในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่ […]

ประกาศแล้ว ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วประเทศอีก 2 เดือน สิ้นสุด ก.ย.

ประกาศแล้ว ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วประเทศอีก 2 เดือน สิ้นสุด ก.ย. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 13) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคราวที่ 12 ออกไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2564 นั้น ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคส่วน ทั้งการค้นหาและการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ การเร่งเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ โดยการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมการจัดระบบการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อที่แยกกักตัวที่บ้าน และแยกกักตัวในชุมชน การเร่งจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วย เร่งรัดจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และกำหนดให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สามารถฉีดวัคซีนได้กว้างขวางมากที่สุด เพื่อป้องกันโรคและลดอาการเจ็บป่วยรุนแรง และการเสียชีวิต รวมถึงเร่งรัดผลิตยารักษาโรคขึ้นภายในประเทศและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของบุคคล เพื่อสกัดกั้นการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด และอยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขสามารถรองรับได้ อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้กลายพันธุ์ และสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคหลายจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องในลักษณะการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ กรณีจึงจำเป็นที่จะต้องคงไว้ซึ่งมาตรการที่เข้มข้นในการเฝ้าระวัง […]

error: