กสม.ชี้ ประกันสังคม ให้เบิกทำฟัน 900 บาท ละเมิดสิทธิมนุษยชน

Advertisement 2 กุมภาพันธ์ นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียน เมื่อเดือนมกราคม 2566 จากผู้ร้องรายหนึ่ง ระบุว่า ผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมใช้สิทธิเบิกค่ารักษาทันตกรรมที่จำเป็น ได้น้อยกว่าประชาชนทั่วไปในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) และระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ไม่ครอบคลุมชนิดของบริการและค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แตกต่างจากผู้มีสิทธิในอีกสองระบบที่สามารถเบิกได้ตามความจำเป็น ทั้งที่ผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่กฎหมายกำหนดให้ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน Advertisement ในปี 2559 คณะกรรมการประกันสังคม (ผู้ถูกร้อง) ได้ออกประกาศกำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าบริการทันตกรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด จำกัดในวงเงินเพียง 900 บาท ต่อคนต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อการรักษาทันตกรรมที่จำเป็น ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมและเพิ่มความรุนแรงของโรคทันตกรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งที่พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนที่จะต้องได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน และเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน จึงขอให้ตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การที่คณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของผู้ถูกร้องได้ประกาศกำหนดให้ผู้ประกันตนเบิกค่าบริการทันตกรรมรวมกันทุกรายการได้ไม่เกิน 900 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่สถานพยาบาลเอกชนและคลินิกทันตกรรมส่วนใหญ่กำหนดอัตราค่าบริการทันตกรรมขั้นพื้นฐานเกินกว่า 900 บาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประกันตนไม่สามารถเบิกได้ […]

กสม.เสียใจเหตุยิงห้างดัง วอนหยุดแพร่ข้อมูลส่วนตัว ผู้ก่อเหตุ

3 ต.ค.2566 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงการณ์เรื่อง ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้า วอนสังคมหยุดเผยแพร่อัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กผู้ก่อเหตุและครอบครัว ตามที่ปรากฏเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ย่านปทุมวัน เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัวและญาติมิตรของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นใจกลางเมืองซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ผู้คนจำนวนมากจะได้รับผลกระทบ อันเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมาย และละเมิดต่อสิทธิในชีวิตและร่างกายอย่างไม่ควรเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี จากการติดตามสถานการณ์ปรากฏว่า ภายหลังเหตุการณ์มีการเผยแพร่และส่งต่อภาพที่เป็นการเปิดเผยอัตลักษณ์ ตลอดจนข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กผู้ก่อเหตุวัย 14 ปีและครอบครัวอย่างแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่การตีตราและสร้างความเกลียดชังในสังคม โดยมิได้คำนึงถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัว และสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศของบุคคลตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 32 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งยังขัดต่อหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่ระบุว่า เด็กมีสิทธิที่จะได้รับความเคารพในความเป็นส่วนตัว ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และแม้แต่ในกระบวนการชั้นพิจารณาก็สมควรจะต้องหลีกเลี่ยงการแสดงตัวเด็กต่อสาธารณชน โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับรูปพรรณสัณฐาน ชื่อ และห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็กด้วย ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม.จึงขอเรียกร้องให้สังคมโดยเฉพาะผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ […]

กสม.เผยบริษัทตรวจเอดส์ก่อนรับทำงาน สุดท้ายไม่รับเพราะติดเชื้อ เป็นการละเมิดสิทธิ

9 มี.ค.66 นายจุมพล ขุนอ่อน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 แถลงผลตรวจสอบกรณีบริษัทเอกชนผลิตและจัดจำหน่ายสุขภัณฑ์ใน ต.หนองปลาหมอ อ.หนองแค จ.สระบุรี ที่ให้ผู้สมัครงานตรวจหาเชื้อเอชไอวี ก่อนรับเข้าทำงานและปฏิเสธไม่รับเข้าทำงาน เนื่องจากติดเชื้อว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียน เมื่อส.ค.2564 กสม. พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1.บริษัทกำหนดให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงานและปฏิเสธรับเข้าทำงาน เพราะเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะมีข้อมูลวิชาการทางการแพทย์ยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชไอวี ผู้ติดเชื้อสามารถดำรงชีวิตและทำงานได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และ 2.รพ.รับตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อเอชไอวี แจ้งผลตรวจเอชไอวีไปยังบริษัทโดยตรง เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้ รพ.ชี้แจงว่าลงชื่อหนังสือยินยอม แต่เป็นเพียงหลักฐานแสดงความยินยอมตามแบบฟอร์ม ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นมาตรฐานทั่วไป ไม่ได้ให้คำปรึกษาและข้อมูลแก่ผู้เข้ารับการตรวจเอชไอวี เพื่อประกอบการตัดสินใจและให้ความยินยอมก่อนเจาะเลือด ตามแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเอชไอวีที่ประกาศโดยแพทยสภา ที่ต้องให้คำปรึกษาก่อนตรวจเป็นรายบุคคล ต้องแจ้งผลให้ผู้รับการตรวจทราบเป็นการส่วนตัว รักษาความลับไม่แจ้งให้ผู้อื่นทราบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับการตรวจหรือตามกฎหมาย นายจุมพล กล่าวต่อว่า ปัจจุบันยังปรากฏข้อร้องเรียน ทำให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวปฏิบัติว่า ไม่สามารถบังคับใช้ต่อหน่วยงานเอกชนได้ กสม.มีข้อเสนอแนะต่อบริษัทและ รพ.เอกชนดังกล่าวในฐานะผู้ถูกร้อง ให้บริษัทยกเลิกการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผู้สมัครงาน […]

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ รับสมัครลูกจ้าง55อัตรา 13-21ธ.ค.64

  สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาหรือคัดเลือกเป็นลูกจ้าง พนักงานทั่วไป 1 อัตรา ไม่จำกัดวุฒิ มีความรู้ความสามารถและเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานบริการ 4 อัตรา ไม่จำกัดวุฒิ มีความรู้ความสามารถและเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานรับโทรศัพท์ 1 อัตรา ไม่จำกัดวุฒิ มีความรู้ความสามารถและเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานขับรถยนต์ 5 อัตรา ไม่จำกัดวุฒิ มีความรู้ความสามารถและมีความชำนาญงานในหน้าที่ และได้รับใบอนุญาต ขับรถยนต์ตามกฎหมาย นายช่างเทคนิค 1 อัตรา 1) มีประสบการณ์ในการดูแลการซ่อมแซม บำรุงรักษา การจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศ ควบคุมอุปกรณ์สาธารณูปโภคที่ใช้สำหรับการประชุม การตรวจซ่อม และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี และ 2) ได้รับวุฒิ ปวช.หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรือไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาหรือทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือทางช่าง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชา นักจัดการงานทั่วไป 31 อัตรา ได้รับวุฒิ ป.ตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา […]

นักวิชาการ โต้เดือด แถลงการณ์กสม. แนะถ้าอยู่เพื่อปกป้องสิทธิคนไม่ได้ ก็ยุบทิ้งไปเถอะ

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ แนะ ถ้ากสม.อยู่เพื่อปกป้องสิทธิประชาชนไม่ได้ ก็ยุบทิ้งไปเถอะ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มช. เขียนข้อความทางเฟซบุ๊ก เผยแพร่แสดงความเห็น ควรยกเลิกคณะกรรมการสิทธิฯ จากกรณีแถลงการณ์เรื่องการชุมนุมทางการเมืองที่แสดงถึงความไม่เข้าใจ โดย ระบุว่า นี่คือเหตุผลที่ควรยกเลิกคณะกรรมการสิทธิฯ แถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในวันที่ 8 ตุลาคม 2564 (ดูใน https://web.facebook.com/nhrct) คือหลักฐานอันชัดเจนว่าองค์กรดังกล่าวนี้ไม่ได้มีความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยแต่อย่างใด ข้อแรกซึ่งต้องประเด็นสำคัญที่สุดก็คือทาง กสม. เรียกร้องให้ผู้ชุมนุมใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธอย่าง “แท้จริง” ก่อนเรียกร้องให้ทางเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติการให้อยู่กรอบของกฎหมายและสอดคล้องกับหลักสากล ความเห็นลักษณะเช่นนี้ก็ไม่แตกต่างไปจากความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายความมั่นคงที่เห็นว่าความรุนแรงมาจากผู้ชุมนุม จึงทำให้รัฐต้องใช้กำลังและอาวุธในการปราบปราม ขอโทษเถอะครับ อะไรทำให้ทาง กสม. เชื่อมั่นเจ้าหน้าที่รัฐขนาดนั้น การชุมนุมนับตั้งแต่ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา หลายเหตุการณ์ที่เป็นไปอย่างสงบก็เผชิญกับการตอบโต้อย่างรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐบ่อยครั้ง ปัญหาที่ผู้ชุมนุมกำลังเผชิญอยู่ในสถานการณ์เฉพาะหน้าก็คือ การใช้กำลังและอาวุธอย่างเมามันโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของผู้คน หน้าที่ของ กสม. ควรต้องเป็นองค์กรที่ระแวดระวังต่ออำนาจของรัฐมิใช่หรือ หลายคนที่อยู่ในองค์กรนี้ก็มีประสบการณ์ในการทำงานมามิใช่น้อยก็ตระหนักกันถึงการใช้อำนาจรัฐแบบฉ้อฉลกันดี เหตุใดในห้วงเวลาปัจจุบันกลับตาลปัตรไปคนละทิศ ก่อนจะไปสู่การจัดเวที (ไม่แน่ใจว่าเวทีหัวข้ออะไร ใครจะเป็นคนเข้าร่วม และจะเป็นไปเพื่ออะไร) ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ต่างหากเป็นสิ่งที่ กสม. […]

error: