จับตารัฐบาลบีบ ‘ปตท.’ ลดราคาก๊าซ อุ้มค่าไฟประชาชนทั่วไป 4.1 บาท

Advertisement รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ถึงกรณีที่สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่าไฟฟ้าผันแปล (เอฟที) ขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย Advertisement ทั้งนี้ เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ฝ่ายรัฐบาลอยู่ระหว่างหาแนวทางเพื่อปรับลดค่าไฟฟ้าเพื่อคงให้อยู่ในระดับ 3.99 บาทต่อหน่วย เทียบเท่างวดที่เรียกเก็บปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค. 2566) หรือไม่ควรเกิน 4.20 บาทต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 4.20 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ […]

“รมว.พลังงาน” เตรียมชง ครม. ตรึงค่าไฟงวดใหม่ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง

(8 ธ.ค.2566) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ​รมว. พลังงาน กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชนว่า ทั้งหมดอยู่ที่รัฐบาล และกระ ทรวงพลังงาน ตอนนี้กำลังทำงานอยู่ ซึ่งค่าไฟฟ้าคงไม่ขึ้นไปสูงขนาดนั้น แต่ปัจจัยสำคัญคือค่าแก๊สในตลาดโลกตอนนี้ขึ้นสูง เนื่องจากเป็นช่วงหน้าหนาว ทำให้มีความต้องการเพิ่มขึ้น จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปรับราคาความจริงไม่มีใครอยากปรับ แต่ต้องพิจารณาดูว่าการปรับ ทุกคนต้องอยู่ได้ เราพยายามปรับให้น้อยที่สุด กลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าน้อยที่ไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน 17.7 ล้านครัวเรือน จะใช้งบกลางปี 2567 จำนวน 2,000 ล้านบาท ใช้ไฟราคาเดิม 3.99 บาท เมื่อถามว่า ได้มีการพูดคุยกับทางกกพ.แล้วหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ได้มีการพูดคุยกันไว้เบื้องต้นแล้ว เมื่อถามว่า จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาวันที่ 12 ธ.ค.นี้ หรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ เพราะตนไม่อยากนำเข้าทีละเรื่อง แต่จะเข้า ครม.ทีเดียวหลายเรื่องเลย และต้องเข้าครม.ก่อนครบกำหนดเวลา เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีอยากให้ลดลงเหลือ […]

“พีระพันธุ์”โวย กกพ.ค่าไฟ 4.68-5.95 บ.แพง ลั่นต้องได้ 3.99 บ.

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออก 3 ทางเลือกขึ้นค่าไฟหน่วยละ 4.68 – 5.95 บ. งวดมกราคม-เมษายน 67 จากปัจจุบัน(กันยายน-ธันวาคม 66) อยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วย โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. วันที่ 10 – 24 พฤศจิกายนนี้ ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้ทีมงานเข้าไปดูโครงสร้างต้นทุนค่าไฟเพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือประชาชน จะแยกต้นทุนรายตัว บางเชื้อเพลิงอาจปรับขึ้น แต่คงไม่เท่าราคาที่กกพ.ประกาศออกมา โดยจะพยายามทำให้ค่าไฟยังอยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วยต่อไป ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคมนี้ เพราะถือเป็นนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนให้มากที่สุด อย่างไรก็ดี หากต้นทุนเพิ่มจริงก็อาจขยับเล็กน้อยแต่คงไม่สูงตามที่ กกพ.ประกาศออกมา “โครงสร้างค่าไฟปัจจุบันที่กกพ.นำมาใช้ตนไม่พอใจ เพราะไม่เป็นธรรมกับประชาชน หน่วยงานรัฐต้องดูแลประชาชน ต้องลดภาระ ต้องพิจารณาราคาที่เป็นธรรม เวลานี้ค่าไฟจึงยังไม่สรุป ไม่ใช่ราคาที่กกพ.ประกาศออกมาแน่นอน”   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

กกพ. จ่อขึ้นค่าไฟบิลเดือน ม.ค.-เม.ย. 67 ตั้งแต่ 4.68-5.95 บาทต่อหน่วย

ค่าไฟฟ้าที่เราใช้กันหน่วยละ 3.99 บาท จะสิ้นสุดสิ้นปี 2566 เท่านั้น ปีหน้า (2567) ค่าไฟฟ้าจะเป็นไปตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิง เพราะไม่มีการอุดหนุนจากรัฐบาลแล้ว สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้พิจารณา 3 แนวทางสำหรับค่าไฟฟ้างวดหน้า คือ เดือน ม.ค.- เม.ย. 2567 มีแนวโน้มปรับขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ LNG ในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์ราคา LNG ในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น ตามความต้องการใช้ LNG ที่มากขี้นในช่วงฤดูหนาวในยุโรป ส่งผลให้การประมาณการต้นทุนการผลิตไฟฟ้างวดหน้า (ม.ค.-เม.ย. 67) เพิ่มขึ้นเป็น 64.18 สตางค์ต่อหน่วย / ขณะที่ยังมีภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. อีก 95,777 ล้านบาท กกพ.เคาะค่าไฟ 3 แนวทาง ตั้งแต่ 4.68-5.95 บาทต่อหน่วย โดย 3 แนวทางพิจารณาค่าไฟงวดหน้า คือ […]

กกพ.ปัดตก ลดค่าไฟ 4.25บาท แนะให้รอรัฐบาลใหม่ มีโอกาสปีหน้าปรับขึ้นอีก

9 ส.ค.2566 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยถึงข้อเรียกร้องจากหลายฝ่ายที่ต้องการให้ลดค่าไฟฟ้างวดสุดท้ายของปีนี้ (ก.ย.-ธ.ค.2566) ลงเหลือ 4.25 บาทว่าการลดค่าไฟทุก 1 สตางค์ จะต้องใช้เงินประมาณ 500-600 ล้านบาท หากเป็นไปตามข้อเรียกร้องจะต้องใช้เงินงบประมาณถึง 1-1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งกกพ. ไม่มีงบ คงไม่สามารถดำเนินการได้ จึงใช้วิธีการบริหารต้นทุนที่มีอยู่ในโครงสร้างค่าไฟ เพื่อให้การปรับขึ้นเป็นภาระกับประชาชนน้อยที่สุดเท่านั้น ประกอบกับการดำเนินการที่ผ่านมานั้นรัฐบาลมีงบประมาณบางส่วนมาสนับสนุน ดังนั้นหากจะให้ลดค่าไฟลงอยู่ที่ 4.25 บาท/หน่วย คงต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ ซึ่งคงไม่สามารถพิจารณาหรือเปลี่ยนแปลงได้ทันค่าไฟงวดสุดท้ายของปีนี้จะมีผลในรอบบิลเดือนก.ย.นี้แน่นอน “การลดค่าไฟฟ้างวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2566 เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะต้องมีกระบวนการคำนวณสูตรค่าไฟฟ้าใหม่ หากจะเปลี่ยนสูตรคำนวณใหม่ต้องใช้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการ อาจต้องเป็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อีกทั้งยังต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นอาจต้องใช้เวลา รวมทั้งการพิจารณาต้นทุนที่เกี่ยวข้องทั้งของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ยังมีภาระค้างค่าเชื้อเพลิงนับแสนล้านบาท และอีกเหตุผลสำคัญ คือ ล่าสุดราคา ก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ตลาดโลกเริ่มสูงขึ้นอีก ทำให้ปรับลดค่าไฟในงวดปลายปี 2566 ค่อนข้างลำบาก”นายคมกฤช กล่าว […]

กกพ.เคาะ 3ทางเลือกค่าเอฟที ก.ย.-ธ.ค.66 ต่ำสุด 4.45 บาท

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงานกกพ.) แถลงค่าไฟงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม2566 ว่า ที่ประชุมกกพ.เห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) 3 แนวทางเพื่อรับฟังความเห็นประชาชน วันที่ 7-21 กรกฎาคม 2566 ก่อนสรุปอีกครั้งเพื่อบังคับใช้ สำหรับ 3 แนวทางประกอบด้วย กรณี1 ค่าไฟอยู่ที่ 6.28 บาทต่อหน่วย เนื่องจากจุคืนหนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) 135,297 ล้านบาท จะทำให้เอฟทีอยู่ที่ 249.81 สตางค์ต่อหน่วย และรวมกับค่าไฟฐาน 3.78 บาทต่อหน่วย กรณี2 ค่าไฟเท่าเดิม 4.70 บาทต่อหน่วย มาจากเอฟที 91.19 สตางค์ต่อหน่วย ใช้วิธีทยอยคืนหนี้กฟผ. 32,291 ล้านบาท เหลือหนี้ 97,006 ล้านบาท และรวมกับค่าไฟฐาน 3.78 บาทต่อหน่วย กรณี3 ค่าไฟลดลงเหลือ 4.45 บาทต่อหน่วย มาจากค่าเอฟที 66.89 บาทต่อหน่วย โดยหนี้กฟผ.ทยอยจ่ายคืน 5 งวด […]

กกพ.เปิดช่องทางร้อง ค่าไฟแพงผิดปกติ หลังผู้ใช้ไฟโพสต์โซเชียลเดือดร้อนหนัก

26 เม.ย.2566 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แจ้งว่าจากกรณีมีผู้ใช้ไฟฟ้าเผยแพร่ข้อมูลความเดือดร้อนปัญหาค่าไฟฟ้าแพงทางสื่อโซเชียล คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะหน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้ใช้ไฟฟ้า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ทั้ง 13 เขตพื้นที่สำนักงาน กกพ. ประจำเขต ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองผู้ใช้พลังงาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน ขอให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบปัญหาการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย เรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้องหรือคิดค่าไฟฟ้าแพงเกินกว่าอัตราที่ กกพ. กำหนด สามารถยื่นร้องเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทางอีเมล์ [email protected] และเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. : https://www.erc.or.th/th/contact หรือติดต่อกกพ. 13 เขต ในเวลาทำการ (วันจันทร์-วันศุกร์) เวลา 08.30-17.00 น.   ข่าวจาก : ข่าวสด

กฟน.แจง “ไฟแพงไม่เกี่ยวขึ้นค่าไฟ” แนะเปิดแอร์27องศา พร้อมเปิดพัดลม

19 เม.ย.2566 นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ MEA ในฐานะโฆษก MEA เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ที่มีผู้ใช้ไฟฟ้าสงสัยว่าค่าไฟสูงขึ้นเพราะการไฟฟ้าขึ้นค่าไฟนั้น ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง โดย MEA ยืนยันว่ายังใช้หลักเกณฑ์วิธีการคิดค่าไฟฟ้าจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าในอัตราตามที่นโยบายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด (ตรวจสอบได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/109/111) สาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากช่วงนี้ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนจัด ในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความเย็นต้องทำงานมากขึ้นและใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น โดยเห็นได้จากค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ล่าสุด มีค่าเท่ากับ 8,904.66 เมกะวัตต์ เกิดขึ้นในวันที่ 18 เม.ย.2566 ซึ่งค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด มักจะพบว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อนทั้งสิ้น โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน คือเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ยกตัวอย่างเช่น ในสภาวะอากาศปกติ เช่น อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส หากเราปรับอุณหภูมิแอร์ในห้องที่ 26 องศาเซลเซียส แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ 4 องศาเซลเซียส […]

กกพ.พร้อมลดค่าไฟทันที7สตางค์ หลังกฟผ.ยืดหนี้

8 เม.ย.66 รายงานข่าวจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) แจ้งว่า ได้รับการประสานจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)แล้ว ในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่แบกรับค่าไฟ เป็น 6 งวด เหลืองวดละ 22,000 ล้านบาท จากเดิมกำหนดชำระ 5 งวด งวดละ 27,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ค่าไฟลดลงทันที 7 สตางค์ต่อหน่วย เหลือ 4.70 บาทต่อหน่วย งวดพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 จากปัจจุบันกกพ.เคาะค่าไฟ 4.77 บาทต่อหน่วย แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หัวหนังสือที่ กฟผ.ส่งมาใช้คำว่า “กรณีศึกษาการประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ประจำงวดพฤษภาคม-สิงหาคม2566” ไม่ใช่การแสดงเจตจำนงค์ขอขยายเวลาคืนหนี้เพื่อลดค่าไฟให้ประชาชน ซึ่งเรื่องนี้กกพ.ให้ความสำคัญ เพราะมีผลทางกฎหมาย หากระบุชัดเจนว่าต้องการยืดหนี้เพื่อลดค่าไฟให้ประชาชน กกพ.พร้อมปรับตัวเลขอยู่แล้ว เพื่อประโยชน์ประชาชน “ยกตัวอย่างเดือนมิถุนายน 2565 กฟผ.เคยส่งหนังสือถึงกกพ. หัวหนังสือใช้คำว่า “ข้อเสนอการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ประจำเดือนกันยายน 2565-ธันวาคม 2565” ซึ่งครั้งนั้นกกพ.จะให้ผู้ใช้ไฟคืนหนี้กฟผ.ทั้งหมด แต่กฟผ.ต้องการแบ่งเบาประชาชน จึงขยับค่าไฟไม่มาก และรับหนี้ไว้ เพื่อให้กกพ.ทำโครงสร้างทยอยคืนในปีนี้ ครั้งนั้นกกพ.ทำตาม […]

กกพ.เคาะค่าไฟอัตราเดียว 4.77บาทต่อหน่วย มีผล พ.ค.-ส.ค.

22 มีนาคม นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. ครั้งที่ 12/2566 (ครั้งที่ 840) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ได้มีมติให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 และแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 293.60 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 6.72 บาทต่อหน่วย กรณีที่ 2 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 105.25 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.84 บาทต่อหน่วย กรณีที่ 3 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย โดยรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. […]

1 2 3
error: