ลูกจ้างต้องทำงาน ‘ไม่เกิน 8 ชั่วโมง‘ ล่วงเวลาวันปกติ ได้ค่าโอที 1.5 เท่า

Advertisement หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ลูกจ้างต้องได้ค่าล่วงเวลาเท่าไร และต้องทำงานไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์จึงจะไม่ผิดกฎหมาย  วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากค่ะ Advertisement ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ หรือเกินชั่วโมงทำงานปกติในวันทำงาน หรือวันหยุด (เวลาทำงานปกติ ต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน) การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานวันหยุด เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาที่ลูกจ้างควรที่จะได้รับต้องได้รับเงินเท่าไร และลูกจ้างแต่ละรูปแบบจะได้รับสิทธิแบบใด รายละเอียดมีดังนี้ ค่าจ้าง จ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยจ่ายตอบแทนเวลาทำงานปกติเท่านั้น ค่าล่วงเวลาหรือนอกเวลาทำงานปกติในวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ สามารถแบ่งลูกจ้างออกเป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้ ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างที่คำนวณตามผลงาน หากไม่มาทำงานในวันหยุดก็ไม่ได้ค่าจ้าง แต่หากมาทำงานก็จะได้รับค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ลูกจ้างรายเดือน ซึ่งนายจ้างไม่สนใจว่าจะมาทำงานเดือนละกี่วัน หรือมีวันหยุดกี่วันนายจ้างก็เหมาจ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งทำให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างแม้ไม่มาทำงานในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายกำหนดให้มีลูกจ้างทุกประเภททั้งรายวัน ตามผลงาน หรือรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด หมายความว่าแม้ไม่มาทำงานก็ได้รับค่าจ้าง Advertisement […]

อิรักผ่านกฎหมายต่อต้าน LGBTQ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี

27 เม.ย. รัฐสภาอิรักผ่านกฎหมายลงโทษผู้ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันโดยมีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี ในความเคลื่อนไหวที่รัฐสภาอิรักระบุว่า มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาคุณค่าทางศาสนา เอกสารสำเนากฎหมายระบุว่า กฎหมายนี้มีเป้าหมายเพื่อ “ปกป้องสังคมอิรักจากความเสื่อมทรามทางศีลธรรมและกระแสการเรียกร้องให้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศที่กำลังครอบงำโลก” กฏหมายนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคมุสลิมนิกายชีอะห์หัวอนุรักษ์ ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภาอิรัก “กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการค้าประเวณีและการรักร่วมเพศ” กำหนดให้บุคคลใดที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน จะต้องโทษจำคุกอย่างน้อย 10 ปีและสูงสุด 15 ปี และต้องโทษจำคุกอย่างน้อย 7 ปีสำหรับใครก็ตามที่ส่งเสริมการรักร่วมเพศหรือการค้าประเวณี กฎหมายยังกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงเพศทางชีวภาพถือเป็นอาชญากรรม และลงโทษคนข้ามเพศและแพทย์ที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ โดยมีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี เดิมร่างกฎหมายดังกล่าวเสนอให้มีโทษประหารชีวิตด้วย แต่ได้รับการแก้ไขก่อนที่จะผ่านการพิจารณา ภายหลังการต่อต้านอย่างรุนแรงจากสหรัฐฯ และชาติยุโรป ก่อนหน้านี้ อิรักไม่ได้กำหนดความผิดทางอาญาต่อกิจกรรมทางเพศของคนเพศเดียวกันอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีการใช้มาตราศีลธรรมที่กำหนดไว้อย่างหลวม ๆ ในประมวลกฎหมายอาญาเพื่อกำหนดเป้าหมายกลุ่ม LGBTQ และเคยเกิดกรณีที่ชาว LGBTQ ถูกกลุ่มสังหารเช่นกัน ราชา ยูเนส รองผู้อำนวยการฝ่ายสิทธิ LGBTQ ขององค์กรฮิวแมนไรต์สวอตช์ กล่าวว่า “การที่รัฐสภาอิรักผ่านกฎหมายต่อต้าน LGBT ถือเป็นการตอกย้ำประวัติการละเมิดสิทธิของกลุ่ม LGBTQ ที่น่าตกใจของอิรัก และส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ด้าน ราซอว์ ซาลิฮี […]

“ทนายแก้ว” กางหลักกฎหมาย “การครอบครองปรปักษ์” ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ

จากกรณีข่าวดัง บ้านที่อากู๋จะยกให้เป็นของขวัญแต่งงานกับคู่รักรายหนึ่ง ถูกบ้านข้างกันบุกรุก ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงาน มีการต่อเติมจนสภาพผิดไปจากเดิม โดยทางผู้บุกรุกอ้างว่าอยากจะซื้อบ้านหลังนี้มานานมากแล้ว แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของบ้าน และเคสดังกล่าวเคยไปออกรายการโหนกระแสมาแล้ว ล่าสุดดูเหมือนว่าเรื่องราวดังกล่าวจะไม่จบ เมื่อพบว่ามีการบุกรุกและเข้ายึดบ้านอีกรอบ พร้อมเปิดเป็นร้านขายอาหารอีกด้วย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวทางด้านทนายความชื่อดังอย่าง “ทนายแก้ว ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล” ก็ได้ออกมาโพสต์ กางหลักกฎหมาย “การครอบครองปรปักษ์” ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ โดยระบุว่า จากที่เป็นข่าว การจะอ้างว่าครอบครองปรปักษ์นั้น? บอกเลยว่าไม่ใช่จะได้มาง่ายๆนะจ๊ะ ตามที่เป็นข่าวว่า.. . ข้างบ้านอ้างการครอบครองปรปักษ์ แล้วเข้ายึดเปิดเป็นร้านอาหาร ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ ทนายแก้วขอ ให้หลักของการครอบครองปรปักษ์ ม.1382 ปพพ. วางหลักว่า 1.มีการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เน้นว่าต้องมีการใช้ ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เช่นเข้าไปสร้างบ้าน,ปลูกต้นไม้ เป็นต้น หากจะนับจุดเริ่มต้นของการครอบครองโดยถือเพียงว่า การเอาของต่างๆไปวางในที่ดินหรือบ้านดังกล่าว ก็เริ่มครอบครองเลยแบบนี้ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีการเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ยึดถือเพื่อตน จร้า 2.สงบเปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อมาเกิน 10 ปี เน้นว่าการครอบครองต้องต่อเนื่อง และไม่หลบๆซ่อนๆ ตามฎีกา1919/2564 แต่ปีที่แล้วเจ้าของตัวจริงเขามา แล้วมีการล็อคกุญแจบ้านไว้นะ แล้วการที่ใครก็ตามมางัดหรือแอบเข้าไป ถือเป็นความผิดอาญา […]

หนี้เสีย กยศ.พุ่ง 1 แสนล้าน คาดกฎหมายใหม่หนุนลูกหนี้มีวินัย

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ รัฐบาลได้แก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ปีตั้งแต่ 2566 โดยปรับวิธีการคำนวณหนี้ใหม่ จากเดิมในกรณีที่ลูกหนี้มีการผิดนัดชำระหนี้ต่อกองทุน และภายหลังมีการทยอยชำระเข้ามา เงินที่ชำระเข้ามา จะต้องนำไปตัดค่าปรับการผิดนัดชำระหนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ต่อมาก็นำมาตัดดอกเบี้ยที่ค้างชำระ สุดท้ายจึงมาตัดเงินต้น ทำให้ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ค้างชำระ เมื่อนำเงินเข้ามาชำระหนี้ เงินต้นจะลดลงน้อยมาก แต่กฎหมายใหม่ เมื่อมีการชำระเข้ามา เงินนั้นจะไปตัดที่เงินต้นก่อน แล้วจึงค่อยมาตัดภาระดอกเบี้ยค้าง และสุดท้ายมาตัดที่ค่าปรับ นายชัยณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา โดยตามกฎหมายเดิม กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1 % ต่อปี แต่กฎหมายใหม่ กำหนดให้ ไม่เกิน 1 % ต่อปี หมายความว่าจะกำหนดให้ต่ำกว่า 1 % ก็ได้ ส่วนค่าปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้นั้น กฎหมายเดิม กำหนดให้คิดค่าปรับ 7.5 % แต่กฎหมายใหม่ คิดเพียง 0.5 % เท่านั้น […]

เปิด “กฎหมายโทษเยาวชน” เด็กทำผิด ไม่ต้องรับโทษ!?

เรียกว่าเป็นประเด็นถกเถียงมายาวนาน เมื่อมีกรณีที่เยาวชนทำความผิด ที่ล่าสุดเกิดเหตุ “ยิงในห้างฯ พารากอน” มีผู้ก่อเหตุอายุเพียง 14 ปี เท่านั้น หรือก่อนหน้านี้กับเหตุการณ์ “เด็ก 16 ผ่าไฟแดงชนคนตาย” นำมาสู่คำถามถึงกฎหมายการรับผิดของเด็กและเยาวชน พร้อมเรียกร้องให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเอาผิดเด็กและเยาวชน งานนี้เพื่อให้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง ทางทีมข่าวสด เลยพามาเปิดดู 4 กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ดังนี้ โดยประมวลกฎหมายอาญาในหมวดที่ 4 ความรับผิดในทางอาญา มาตราที่ 73-74 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับผิดของเด็กและเยาวชนมากที่สุด ซึ่งมาตรา 73 ระบุว่า เด็กอายุยังไม่เกินเจ็ดปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรา 74 เด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ยังไม่เกิน 14 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้ (2) ถ้าศาลเห็น ว่า บิดามารดาหรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินสามปี […]

ญี่ปุ่นผ่านกฎหมาย “ห้ามองค์กรศาสนา” เรี่ยไรเงิน

11 ธ.ค. เอ็นเอชเค รายงานว่า รัฐสภาญี่ปุ่นประกาศออกกฎหมายห้ามองค์กรทางศาสนาขอเรี่ยไรรับบริจาคเงินและทรัพย์สินจากประชาชนในทุกรณี โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นการผลักดันของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ผู้นำญี่ปุ่น เพื่อป้องกันปัญหาการขูดรีดในรูปแบบการบริจาคเงินทำบุญซึ่งเป็นต้นตอให้เกิดเหตุสะเทือนใจครั้งใหญ่ของประเทศ จากกรณีนายเทตสึยะ ยามากามิ ก่อเหตุลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาบะ เมื่อวันที่ 8 ก.ค.2565 เพราะเชื่อว่านายอาเบะให้การสนับสนุนโบสถ์แห่งความสามัคคี (ยูนิฟิเคชันเชิร์ช) หรือลัทธิมูน ขบวนการศาสนาเกิดใหม่ที่ก่อตั้งโดยบาทหลวงมุน ซ็อนมย็อง ในเกาหลีใต้ ซึ่งแม่ของนายยามากามิเข้าเป็นสมาชิกและบริจาคเงินจำนวนมากจนครอบครัวเกิดปัญหาหนี้สิน รายงานระบุว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาไดเอทของญี่ปุ่นเปิดการประชุมร่างกฎหมายฉบับนี้เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ซึ่งมติเสียงข้างมากเห็นชอบกับกฎหมายดังกล่าว ต่อมาในวันเสาร์ที่ 10 ธ.ค. วุฒิสภาซึ่งพรรคฝ่ายค้านครองเสียงข้างมากเปิดพิจารณาและลงมติรับรอง ก่อนประกาศบังคับใช้กฎหมายซึ่งมีสาระสำคัญคือ ห้ามองค์กรทางศาสนาเรี่ยไรเงินด้วยการกล่าวกระตุ้นให้เกิดความกังวลในกลุ่มผู้ศรัทธา หรือกล่าวในเชิงบังคับว่าผู้มีจิตศรัทธามีพันธกิจทางจิตวิญญาณที่ต้องบริจาค และแม้องค์กรจะอ้างว่าเป็นการบริจาคเองด้วยความเต็มใจก็ไม่สามารถรับได้ หากฝ่าฝืนมีระวางโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 1 ล้านเยน (ประมาณ 253,000 บาท) นอกจากนี้ยังอนุญาตให้คู่สมรสและบุตรของผู้บริจาคมีอำนาจยกเลิกการบริจาคได้ด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะประเมินการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในช่วง 2 ปีต่อจากนี้ เนื่องจากยังมีประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิในการใช้ทรัพย์สินและเสรีภาพในการนับถือศาสนาซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองสิทธิพึงมีของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ   ข่าวจาก : ข่าวสด

ทนายเกิดผลชี้ ยิงสู้มากกว่าเกินกว่าเหตุ เจ้าของร้านยิงโจรปล้นทอง เคสนี้ยังไงก็ตายฟรี

กรณี 4 คนร้าย ถือปืนบุก ปล้นร้านทองเยาวราช ในพื้นที่ ถนนท่าเรือ อ.เมือง จ. ตาก ตรงข้ามกับโรงเรียนตากพิทยาคม ก่อนถูกเจ้าของร้านยิงสวนออกมา ทำให้ คนร้าย 1 รายบาดเจ็บสาหัส และถูกจับกุมได้ 1 ราย ส่วนอีก 2 ราย หลบหนีไปได้นั้น ต่อมามีการถกเถียงถึงประเด็นด้านข้อกฎหมายว่า การยิงปืนเข้าใส่กลุ่มคนร้ายโดยเจ้าของร้านถือเป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุหรือไม่ โดย ทนายรัชพล ศิริสาคร ทนายความชื่อดัง ให้ความเห็นด้านข้อกฎหมายว่า หากคนร้ายอยู่ระหว่างที่วิ่งหนี ขณะที่เรายิงสวนออกไปนั้น เมื่อคนร้ายวิ่งหนีแปลว่าภัยหมดแล้ว ถ้าเราอยู่เฉยๆ ไม่มีภัยมาถึงเราแล้ว การที่จะไปยิงซ้ำ ตามล่าคนร้าย ที่ยังไม่ได้เอาทองไป (ถ้าเอาไปถือว่าเป็นการป้องกันเอาทรัพย์สินของเรากลับคืนมาได้) แล้วเรายิงซ้ำกระสุนเข้าด้านหลัง มีคำพิพากษาศาลฎีกาอยู่หลายคดี ที่ระบุว่าเป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ เพราะถ้าภัยหมดแล้ว เราจะป้องกันตัวอย่างนั้นไม่ได้ และเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีว่าป้องกันตัวเกิดแก่เหตุ ขณะเดียวกัน ทนายเกิดผล แก้วเกิด อีกหนึ่งทนายความชื่อดัง ให้ความเห็นผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า #ปล้นร้านทอง คนร้ายหนีไปแล้ว ถือว่า ภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายสิ้นไปแล้ว […]

เพจกฎหมายเผย ตอบไลน์วันหยุด เรียกเงินนายจ้างได้ เก็บหลักฐานให้ดี

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เฟซบุ๊ก กฎหมายแรงงาน มีการเล่าเรื่องของเลขาหัวหน้าพ่อครัวใหญ่ (เชฟ) รายหนึ่ง ที่ถูกที่ทำงานให้ทำ OT บ่อย ๆ โดยที่ไม่ได้ค่าจ้าง รวมถึงการทักไลน์นอกเวลางาน ซึ่งเคสนี้ทางเพจมองว่าไม่แฟร์จึงขอชี้แจงตามข้อกฎหมาย จุดเริ่มต้นของเรื่องต้นเหตุ เลขาเชฟรายนี้ ปกติทำงานวันจันทร์ถึงเสาร์ เริ่มงานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมาก็ทำงานในเวลาปกติตลอด กระทั่งเดือนธันวาคม 2564 จวบจนปัจจุบัน เธอเริ่มได้ทำงานเกินเวลา ตั้งแต่ 09.00 – 22.00 น. รวม 13 ชั่วโมง ไม่เคยได้โอที ไม่มีเวลาพักกลางวันหรือทานอาหารชัดเจน วันอาทิตย์ที่เป็นวันหยุด ก็ต้องตอบไลน์ที่ทำงานด้วย เธอเคยแจ้งต่อเชฟว่างานเยอะ ทำไม่ทัน ก็ได้คำตอบแค่ว่า “ไม่เสร็จ ไม่ต้องกลับ” พอทำงานหนักก็เริ่มมีอาการป่วย ปวดหลัง ปวดเอวด้านหลัง จนลุกไปทำงานไม่ได้ ต้องแจ้งลาป่วยติด ๆ กัน ทว่าทางที่ทำงานก็ไม่เห็นใจ กลับมาตำหนิ บอกแค่ว่า “อย่าเอางานมาอ้าง” เมื่อเจอตอบมาแบบนี้ […]

ต้องอ่าน! รู้ทันข้อกฎหมายเมื่อภัยมาถึงบ้าน ‘กองปราบ’เผย แค่ไหนถึงเรียกได้ว่า’ป้องกันตัว’

  กองปราบปรามแนะข้อกฎหมายการป้องกันตัวโดยชอบถ้าเจอโจรทำร้าย หลังเกิดเหตุเจ้าของบ้านฆ่าตีนแมว กำลังกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงในสังคมอย่างกว้างขวาง กรณีคนร้ายงัดเข้าไปในบ้านพักแห่งหนึ่งในซอยงามวงศ์วาน 18 จังหวัดนนทบุรี แต่ดันเผลอหลับกระทั่งลูกชายเจ้าของบ้านนักศึกษาปริญญาโท วัย 23 ปี กลับมาเจอจึงเกิดการต่อสู้กัน ผลสุดท้ายคนร้ายพลาดท่าถูกเจ้าของบ้านล็อกคอจนถึงแก่ความตาย แต่เจ้าของบ้านใจเด็ดเบื้องต้นกลับถูกแจ้งข้อหาหนัก “ฆ่าคนตาย โดยไม่เจตนา”  ทั้งนี้คำถามที่น่าคิดต่อคือ วิธีการป้องกันและรับมืออย่างถูกต้องที่กำลังเป็นที่สงสัยใคร่รู้ของประชาชนสามารถทำได้ถึงขั้นไหน ระดับใดได้บ้างเพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำซ้อนขึ้น เพจเฟซบุ๊ก “กองปราบปราม” ได้ออกมาให้ข้อมูลความรู้กับประชาชนสำหรับเหตุการณ์ป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายว่า การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 68 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 "ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด" และการกระทำเพื่อป้องกันนี้ถึงแม้จะเกิดความเสียหายบ้าง แต่ถ้าได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ ก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิด นอกจากนี้ยังได้ระบุถึงหลักเกณฑ์ของการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อป้องกันเมื่อพบภัยกับตัวเอง 1.มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย คือภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นผู้กระทำไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำได้ หากผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำได้ ก็ไม่มีสิทธิป้องกัน ผู้ที่จะอ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายขึ้นด้วย แต่ถ้าผู้จะอ้างป้องกันนั้น มีส่วนก่อให้เกิดภยันตรายนั้น ก็ไม่สามรถอ้างป้องกันได้ 2.ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้น จะต้องเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง คือภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นกระชั้นชิดถึงขนาดที่หากไม่ป้องกันตัวในขณะนั้น ก็อาจจะเกิดอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ 3.ผู้กระทำจำต้องกระทำการเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น 4.การกระทำเพื่อป้องกันนั้นจะต้องกระทำพอสมควรแก่เหตุ คือการกระทำเพื่อป้องกันนั้น จะต้องได้สัดส่วนกับภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้น เช่น ภยันตรายที่เกิดขึ้นจากการถูกตบหน้าจะป้องกันโดยใช้ปืนยิงถือว่าไม่ได้สัดส่วนกัน การกระทำเพื่อป้องกันนั้นถ้าผู้กระทำได้ใช้วิถีทางน้อยที่สุดที่จะทำให้เกิดอันตรายแล้วถือว่ากระทำไปพอสมควรแก่เหตุ   ขอบคุณข้อมูลจาก : กองปราบปราม, posttoday

ทนายเตือน! สาดน้ำใส่คนไม่เล่นสงกรานต์ เข้าข่ายทำร้ายร่างกาย เสี่ยงนอนคุกวันหยุดยาว!

  เพจ สายตรงกฎหมาย โดยทนายรัชพล ศิริสาคร ได้โพสต์ข้อกฎหมายเกี่ยวกับวันสงกรานต์ ว่า ถึงแม้จะเป็นเทศกาลสาดน้ำที่มีมานานแล้ว แต่กฎหมายก็ไม่ได้จะยกเว้นโทษให้ กรณีที่มีการทำความผิด การสาดน้ำใส่คนที่เค้าไม่เล่นสงกรานต์ เช่น งานบางอย่างเขาไม่ได้หยุด แล้วพนักงานกำลังไปทำงาน แต่โดนสาดน้ำใส่จนได้รับความเสียหาย กรณีนี้ ผู้เสียหายอาจดำเนินคดีผู้ที่สาดน้ำใส่ได้ การสาดน้ำใส่คนอื่น อาจโดนได้หลายข้อหาเลย เช่น ทำร้ายร่างกาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9244/2553 พิพากษาว่า สาดเหล้าใส่หน้าคนอื่น มีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย หรือสาดน้ำใส่คนอื่น ทำให้ทรัพย์สินเค้าเสียหาย ยิ่งยุคนี้ใช้ไอโฟนกัน โดนน้ำนิดเดียวก็เสียหายได้ หากทำทรัพย์สินของคนอื่นเสียหาย ก็อาจเจอข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น นอกจากนั้น อาจมีข้อหาอื่นๆ อีกซึ่งคงต้องดูเป็นกรณีไป ดังนั้น ก่อนจะสาดใคร ดูให้ดีก่อนว่าเค้าเล่นด้วยรึเปล่า ไม่ใช่จะเอามันส์อย่างเดียว ถ้าผู้เสียหายเค้าเอาเรื่อง เราอาจจะตกเป็นผู้ต้องหาได้ ประมวลกฎหมายอาญา […]

1 2
error: