ขนส่งปรับโทษใหม่ ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับสูงสุด4,000 ตัดใบขับขี่ 1 แต้ม

Advertisement กรมการขนส่งทางบกย้ำโทษใหม่กรณีผู้ขับขี่ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท และตัดคะแนนความประพฤติทันที 1 คะแนน ตามการเปลี่ยนแปลงเพิ่มอัตราโทษตามความผิดกฎหมายจราจร และมีระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งผู้ขับขี่ทุกคนมี 12 คะแนนเต็ม และจะถูกตัดคะแนน 1-4 คะแนนขึ้นอยู่กับข้อหาที่กระทำผิด Advertisement ดังนั้น หากผู้ขับขี่พบว่ามีทางม้าลายอยู่เบื้องหน้า จะต้องชะลอความเร็วหรือเตรียมหยุดรถ โดยให้ห่างจากทางม้าลายในระยะ 3 เมตร และรอให้คนข้ามถนนเสร็จสิ้นเรียบร้อยก่อน จึงค่อยขับรถผ่านไปได้ และกรณีมีไฟเตือนคนข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย ผู้ขับขี่ควรสังเกตทุกครั้งและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย Advertisement หากผู้ขับขี่รายใดถูกตัดคะแนนความประพฤติเหลือ 0 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน) จะถูกพักใช้ใบขับขี่ ห้ามขับรถ 90 วัน หากฝ่าฝืนขับรถระหว่างถูกพักใช้ใบขับขี่ มีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากโดนพักใช้ใบขับขี่เกิน 3 ครั้ง ภายใน 3 ปี จะถูกพักใช้ใบขับขี่มากกว่า 90 วัน และหากยังถูกตัดคะแนนจนถูกพักใช้ใบขับขี่ภายใน […]

ราชกิจจาฯ ประกาศจำนวนประชากรสิ้นปี65 เช็คเลย จังหวัดไหนมากสุด-น้อยสุด

24 ม.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ลงนามโดย นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย โดยทั่วประเทศ ไทยมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 66,090,475 คน เป็นสัญชาติไทย 65,106,481 แยกเป็นชาย 31,755,032 คน หญิง 33,351,449 คน และไม่ได้เป็นสัญชาติไทย จำนวน 983,994 คน และเมื่อแยกเป็นรายจังหวัดพบว่า พื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีประชากรมากที่สุดในประเทศ รวมจำนวน 5,494,932 คน ส่วนจังหวัดที่มีประชากรน้อยสุดตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม มีจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร 189,453 คน สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนประชากรเกินกว่า 1 ล้านคน […]

หมอเตือนปวดหัวบ่อย ๆ อย่าชะล่าใจ คิดว่าเครียดงาน อาจเป็นเนื้องอก

18 มกราคม 2566 นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ได้โพสต์เล่าเคสผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 65 ปีเศษ มีอาการมึนงง ปวดหัวบ่อย ๆ อากาศร้อน ๆ จะปวดมากขึ้นมานานแรมปีกินยาพาราก็ไม่หาย สุดท้ายพบโรคเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) ตอนแรกผู้ป่วยคิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก น่าจะเครียดกับงาน ต่อมาเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง เดินไปตลาดสักพักก็ไปต่อไม่ไหว ญาติสังเกตพบว่าเดินขาลาก การทรงตัวไม่ปกติ จึงตัดสินใจพามาพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ แพทย์เวรตรวจเบื้องต้น สงสัยอาการทางสมอง จึงส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง พบเนื้องอกในสมองขนาด 3 เซนติเมตร จึงแนะนำให้นอนโรงพยาบาลวางแผนผ่าตัด ส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทศัลยศาสตร์ นัดผ่าตัดสมอง เอาก้อนเนื้อออกมาเป็นผลสำเร็จ หลังผ่าตัดผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว อาการอ่อนแรงค่อย ๆ ดีขึ้น ฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงปกติ ทั้งนี้เนื้องอกในสมอง หากสามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วก้อนไม่โตมากไม่กระจายลุกลาม สามารถผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้ เพศหญิงพบมากกว่าชาย 2 เท่า ก้อนนี้เป็นชนิดไม่ร้าย อาจพบชนิดร้ายได้ 1-3% ข้อแนะนำหากอาการปวดศีรษะแย่ลงเรื่อย ๆ อาการที่เกิดขึ้นสร้างความกังวลใจหรือส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย แต่หากมีอาการชัก […]

พ่อเทียบการเรียน ป.1 อเมริกากับไทย ประเทศเราจะยากไปไหน

เว็บไซต์ Says ได้บอกเล่าเรื่องราวของคุณพ่อคุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวมาเลเซีย และได้มีโอกาสย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยที่ลูกของเขาอยู่ในชั้นเรียน ป.1 ที่อเมริกา ซึ่งเป็นชั้นเรียนของเด็กที่อายุ 6-7 ปี เทียบกันกับชั้นเรียน ป.1 ตามหลักสูตรการศึกษา Standard One ของมาเลเซีย โดยภาพแรกนั้น เป็นภาพการบ้านของเด็กในชั้น ป.1 ของมาเลเซีย ที่ต้องท่องจำสูตรคูณให้ได้ถึงแม่ 6 และการบ้านวิชาคณิตศาสตร์นั้น เป็นการบูรณาการวิชาภาษามาเลย์กับวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะให้โจทย์วิชาคณิตศาสตร์มา 1 โจทย์ และคำมาทั้งหมด 3 คำ จากนั้นให้นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้วิชาคณิตศาสตร์และคำที่กำหนดให้ (15+6=21, ริบบิ้นสีแดง, ริบบิ้นสีเหลือง, ทุกสิ่งทุกอย่าง) รวมถึงการเรียนบวกลบคูณหารเลข 2 หลัก แตกเลขออกมาแล้วได้เลขใหม่ ยากชนิดที่ผู้ใหญ่เองก็อาจจะมึน อีกทั้งยังมีอีกภาพที่เป็นโจทย์เลข ป.1 ของมาเลเซีย ที่เขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ณ จุดนั้น เด็กต้องอ่านภาษาอังกฤษเข้าใจแล้ว โดยโจทย์นั้นเป็นวิชาบัญชี จนพ่อยังบอกว่า “ป.1 ยังต้องมาเรียนวิชาบัญชี พอเหอะ” ในขณะที่การบ้านที่สหรัฐอเมริกา […]

หมอ รพ.ประจวบฯ ยกเคส “ปวดหลังร้าวลงขา” เตือนรู้ตัวช้าเสี่ยงขาอ่อนแรง

จากข่าวแพทย์โพสต์เตือน! กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจของอาการปวดเอวร้าวลงขา หลังพบคุณลุงวัย 50 ปี ปวดมานานจนไม่สามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ ตรวจพบก้อนเนื้อกดเบียดทับเส้นประสาท “เสี่ยงขาอ่อนแรง” ในเพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ระบุข้อความว่า “กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจ ผู้ป่วยชายอายุ 50 ปีเศษ ให้ประวัติปวดหลัง ปวดสะโพกด้านซ้าย เสียวลงไปขา กินยาแก้ปวด หาหมอบีบหมอนวด ไม่ดีขึ้น อาการเป็นมากขึ้นจนประกอบกิจวัตรประจำวันปกติไม่ได้ ถ้านั่งจะดีขึ้น เดินไปนานๆ จะปวดมาก จึงได้มาปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ส่งพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ตรวจอาการเบื้องต้น สงสัยเส้นประสาทถูกกดทับ ระดับกระดูกสันหลังข้อที่ 4 ได้ส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) จากภาพรังสี เห็นเป็นก้อนเนื้อไปกดเบียดทับเส้นประสาทอย่างชัดเจน จึงแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดระบบประสาทสมอง ไขสันหลังต้องใช้ทักษะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง เพื่อตัดเอาส่วนที่เป็นก้อนเนื้องอกออก โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อเส้นประสาทและไขสันหลัง ใช้เวลาผ่าตัดกว่า 1 ชั่วโมง ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ติดตามอาการผู้ป่วยหลังผ่าตัด ดีขึ้นอย่างชัดเจน หากทิ้งไว้เนิ่นนาน อาการรุนแรง ทำให้ขาอ่อนแรงตามมาได้ ปวดเอว ปวดสะโพก ปวดร้าวไปขาอย่าละเลย รีบไปปรึกษาแพทย์” ปวดสะโพกร้าวลงขา […]

นักอสรพิษวิทยาเผย สัตว์ประหลาดหางยาว มันคือ “สางห่า” แค่จิ้งเหลนชนิดหนึ่ง

กรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊ก จีระพันธ์ ดิสิงห์ ได้โพสต์ลงกลุ่ม ขอนแก่นร้องเรียนอะไรบอกไว้ที่นี่ ถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่เจอกับสัตว์ประหลาดที่มี 4 ขา หน้าตาคล้ายจิ้งเหลนแต่กลับมีลำตัวและหางยาวคล้ายงู พร้อมตั้งคำถามว่า สัตว์ดังกล่าวคือตัวอะไรกันแน่นั้น ล่าสุด นายนิรุทธ์ ชมงาม ผู้เชี่ยวชาญด้านงูของประเทศไทย หรือ นิก อสรพิษวิทยา เจ้าของเพจ Nick Wildlife มีผู้ติดตามเกือบ 2 ล้านคน ให้สัมภาษณ์กับมติชนออนไลน์ว่า สัตว์ชนิดนี้ คือ จิ้งเหลนหางยาว หรืองูคา หรือสางห่า แล้วแต่ท้องถิ่นที่จะเรียก ซึ่งเป็นจิ้งเหลนชนิดหนึ่ง จุดเด่นคือ ที่มีหางยางกว่าลำตัว 4-5 เท่า “บางคนเข้าใจว่าเป็นสัตว์มีพิษ โดยเฉพาะที่หาง ที่เขี้ยว หรือที่เล็บ แต่ความจริงแล้วเหมือนจิ้งเหลนทั่วไป ไม่มีพิษ กินแมลงเป็นอาหาร สาเหตุที่เรียกว่างูคา เป็นเพราะมันจะชอบอาศัยอยู่ตามหญ้าคา หรือตามพืชใบยาว เพื่อพรางลำตัว ส่วนการที่มีคนเจอสัตว์ชนิดนี้ในบ้าน ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะท้องที่ที่พวกมันอาศัยไม่ได้อยู่ไกล้จากบ้านคนเลย ทั้งนี้หากพบเจอ เพียงแค่เอาไม้เขี่ยไป มันก็หนีไปแล้ว แม้สถานภาพไม่ถึงกับใกล้สูญพันธุ์ […]

ไม่ใช่จระเข้! มันคือ “จิ้งจกดิน” แฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคาน ชี้คนไทยรู้ข้อมูลน้อยมาก

กรณี นางสะเอียน หพลรัมย์ อายุ 72 ปี ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านพูนสุข ต.เมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ไปพบสัตว์ชนิดหนึ่งติดโต่งดักปลา ที่ลำห้วยละหาน ต.เมืองโพธิ์ และเชื่อว่าเป็นลูกจระเข้ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันมาก และเกรงจะมีอีกหลายตัว ในอนาคตตัวอาจจะใหญ่ไปทำร้ายชาวบ้าน ต่อมา นายสุวรรณ ทองล้วน หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมงจังหวัดบุรีรัมย์ ออกมาระบุว่า จากที่ตรวจสอบเบื้องต้นไม่ใช่จระเข้แน่นอน เพราะลักษณะต่างกันทั้งปากและหาง ขณะที่ ศุภณัฐ เบญจดำรงกิจ แฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลาน โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า “จิ้งจกดิน สัตว์เลื้อยคลานตัวจิ๋วแห่งผืนป่า” เมื่อสักครู่ มีคนส่งข่าวมาให้ดูว่ามีสิ่งมีชีวิตคล้ายจระเข้ออกอาละวาด จริงๆมันไม่ใช่จระเข้เลยครับ แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่มีชื่อว่า “จิ้งจกดิน” หรือ “จิ้งจกเท้าใบไม้” (Leaf-toed ground gecko) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ตัวพอสมควรครับ แต่น้องก็หน้าตาไม่เหมือนจระเข้เท่ากิ้งก่าจระเข้จีนหรือจิ้งเหลนตาแดงเลยครับ – จิ้งจกดินในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 8 ชนิด แต่ชนิดที่เด่นและเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดนั้นมีชื่อว่า “จิ้งจกดินสยาม” (Siamese leaf-toed […]

สคบ.ตอบแล้ว “เซอร์วิสชาร์จ” ผู้บริโภคต้องจ่ายหรือไม่ หลังดราม่าถกกันเดือด

​เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผยแพร่บทความเรื่อง ​Service charge ไม่จ่ายได้ไหม โดยระบุว่า การรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นกิจกรรมที่ทุกคนคงเคยทำ บางครั้งที่ไปทานอาหารในโรงแรม ในห้าง หรือตามร้านอาหารใหญ่ๆ อาจเจอของแถมเป็นค่า service charge แต่เดี๋ยวนี้กับร้านอาหารธรรมดาบางร้านก็คิด ซึ่งบางท่านอาจรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องจ่าย เพราะไม่ได้รับบริการอะไรเป็นพิเศษจากทางร้านอาหาร แถมบางร้านเป็นแบบให้ลูกค้าบริการตัวเองอีกต่างหาก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็มีประเด็นร้อนในโลกสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ผู้บริโภคจำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ service charge กัน service charge คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน ทีนี้อาจมีคำถามต่อไปว่า หากพนักงานให้บริการไม่เป็นที่พอใจ ลูกค้าสามารถขอค่า service charge คืนได้ไหม จริงๆ แล้วสถานที่ที่คิด service charge แพงเกินจริง หาเหตุผลไม่ได้ ภาครัฐมี พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ มาตรา 29 ควบคุม โดยระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการขายจำหน่ายสินค้าในลักษณะทำให้เกิดความปั่นป่วน สร้างกลไกการตลาดบิดเบี้ยว ราคาเกินจริง โดยชี้แจงสาเหตุที่เรียกเก็บราคาสูงเกินจริงไม่ได้นั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน […]

ยกเลิก “ไทยชนะ” ไม่ตรวจเอกสารโควิดผู้เดินทางเข้าไทย เริ่ม1ต.ค.65

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยกเลิกแอปไทยชนะ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดในระบบจะถูกทำลายทิ้ง ตามมาตรฐานความปลอดภัยทางสารสนเทศ ขณะที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ยกเลิกการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด19 อาทิ เอกสารรับรองการได้รับวัคซีน และผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย “ขณะนี้ โรคโควิด19 ได้ถูกปรับลดเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงติดตามสถานการณ์การแพร่เชื้ออย่างใกล้ชิด รวมถึงการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ จึงอยากให้ประชาชนมารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน อีกทั้งการเว้นระยะห่าง การใส่หน้ากากเมื่ออยู่ในสถานที่แออัดยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ แม้อาการจะไม่รุนแรงแต่ก็อาจเป็นLong Covidได้ มากไปกว่านั้น รัฐบาลได้จัดหาวัคซีนไฟเซอร์สำหรับเด็อายุหกเดือนถึงสี่ขวบ จำนวนสามล้านโดสไว้แล้ว คาดว่าจะมาถึงและกระจายการฉีดให้แก่เด็กทั่วประเทศในช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคมนี้” นางสาวรัชดา กล่าว ข่าวจาก เนชั่นทีวี

เปิดวิธีเช็ก “ใบสั่งจราจร”แบบส่งถึงบ้าน แบบไหนของจริง-ของปลอม

ตำรวจสอบสวนกลาง ได้เผยแพร่ข้อมูล การตรวจสอบ ‘ใบสั่ง’ ชนิดส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน โดยสามารถเช็กได้ว่าเป็นของจริง หรือ ของปลอมจากพวกมิจฉาชีพแอบมาสวมรอย การออก ใบสั่ง อิเล็กทรอนิกส์ตาม พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา 140 และมาตรา 141 ที่ทำการส่งไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถ จะต้องมีการลงระบบ PTM ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน ขั้นตอนการออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ มีรายละเอียดดังนี้ 1.ครั้งแรก ใบสั่ง อิเล็กทรอนิกส์ จะมีรูปถ่ายรถ หมายเลขทะเบียนรถ และข้อหากระทำความผิดครบ หากไม่จ่ายค่าปรับใน 7 วัน จะมีใบเตือน 2.ครั้งที่สอง เป็นใบเตือนให้ชำระค่าปรับ ใบสั่ง ซึ่งในเอกสารครั้งที่สองนี้ จะไม่มีรูปถ่ายรถประกอบ แต่จะมีแค่ QR code บอกวิธีการชำระเงิน และ มีลายเซ็นนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไป เซ็นประกอบ แต่ยืนยันว่า เป็นเอกสารทางราชการจริง ผู้ได้รับใบสั่งจราจร สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ว่าเป็นใบสั่งจริง ได้ดังนี้ 1. สามารถนำเลขที่ใบสั่ง เข้าไปตรวจสอบได้ที่ https://ptm.police.go.th/eTicket/#/ 2. […]

1 2 3 4 721
error: