กกต.แจงข้อกฎหมาย “6หลักเกณฑ์” เข้าชื่อเสนอ ครม.ออกเสียงทำ “ประชามติ”

Advertisement สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งออกเอกสารข่าวเผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ เนื้อหาระบุว่า ด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มาตรา 9 (5) กำหนดการออกเสียงประชามติกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบในการออกเสียงประชามติ กกต. จึงได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกรณีดังกล่าว ดังนี้ Advertisement 1. ต้องมีจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 50,000 คน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติ ไม่มีลักษณะต้องห้าม และไม่ถูกจำกัดสิทธิตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 2. จัดทำหนังสือกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ความเห็นชอบในการออกเสียงต้องมีเนื้อหาที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าประสงค์จะออกเสียงในเรื่องใดและเรื่องนั้นมิใช่เรื่องที่ต้องห้ามมิให้ออกเสียงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 3. รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าชื่อ ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขประจำตัวประชาชน ชื่อ ชื่อสกุล และลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเข้าชื่อทุกคน พร้อมทั้งจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าชื่อในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ใส่แผ่นบันทึกข้อมูล หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบพกพา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขประจำตัวประชาชน ชื่อ ชื่อสกุล ของผู้มีสิทธิเข้าชื่อทุกคน 4.ผู้แทนของผู้มีสิทธิเข้าชื่อยื่นเอกสารและข้อมูลด้วยตนเองต่อสำนักงานกกต.ส่วนกลาง หรือสำนักงานกกต. ประจำจังหวัด หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ E-mail : [email protected] 5. เมื่อสำนักงาน กกต. ได้รับเอกสารและข้อมูลแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดในหนังสือการเข้าชื่อเสนอต่อครม. เพื่อให้ความเห็นชอบในการออกเสียง ว่าถูกต้องตามแบบที่กำหนดหรือไม่ […]

“วันนอร์” เผยเลขาฯ ครม. ประสาน “แถลงนโยบายรัฐบาล11ก.ย.นี้”

2 กันยายน 2566 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภา กล่าวถึงวันแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ว่า ตนทราบจากทางเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่า นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งว่าอยากได้วันแถลงนโยบายรัฐบาลเป็นวันที่ 11 ก.ย. หากกำหนดเป็นวันที่ 8 ก.ย. อาจจะไม่พร้อม เพราะถ้าจะประชุมวันดังกล่าวต้องส่งเอกสารนโยบายรัฐบาลมายังสภาตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย. เนื่องจากสภาต้องออกหนังสือนัดสมาชิกล่วงหน้า 5 วัน ทั้งนี้ ตนจะนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย เพื่อเตรียมความพร้อมในวันที่ 7 ก.ย. เวลา 14.00 น.โดยประมาณ ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวภายหลังมีการโปรดเกล้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ของนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง โดยในวันที่ 6 ก.ย.จะมีการประชุมครม.นัดพิเศษ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้สถานที่ใดในทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานกรรมการนโยบายพรรคเพื่อไทย และว่าที่เลขาธิการนายกฯ ได้เรียกพรรคร่วมรัฐบาลเข้าพูดคุยหารือถึงการจัดทำเอกสารแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา โดยมีการร่างนโยบายเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการพูดคุยเป็นการพูดคุยนโยบายกว้างๆของแต่ละพรรคร่วมรัฐบาล   […]

ราชกิจจาฯ กำหนดคนต่างด้าวมีสัญชาติ มีถิ่นที่อยู่ในไทยไม่เกินประเทศละ 100 คน

1 ก.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าว ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2566 โดยที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี เห็นควรกำหนดให้คนต่างด้าวทั้งที่มีสัญชาติและไร้สัญชาติ เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2566 ได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติม ผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2566 ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2566 มีจำนวนประเทศละไม่เกินหนึ่งร้อยคน บรรดาอาณานิคมของประเทศหนึ่งรวมกันหรือแต่ละอาณาจักร ซึ่งมีการปกครองของตนเองให้ถือเป็นประเทศหนึ่ง […]

สมาคมครูฯ วอน “เศรษฐา” อย่าเอาการเมืองนำการบริหารประเทศ อยากได้คนเข้าใจการศึกษา เป็น รมว.ศธ.

นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส.พ.บ.ค.) ได้ยื่นหนังสือ เรื่อง ​การแต่งตั้งบุคคลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ​​​ถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า ตามที่ท่านได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ความแจ้งแล้วนั้น สมาคมพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา (ส.พ.บ.ค.) ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งที่ท่านได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้นำรัฐบาล สมาคมฯเชื่อว่ารัฐบาลภายใต้การนำของท่านซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจจนประสบความสำเร็จ จะสามารถนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจอันจะส่งผลให้ประชาชนกินดีอยู่ดีและมีความสุข อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ก็มีกระแสข่าวว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนั้นคือ นายสุทิน คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้เคยประกอบวิชาชีพครูมาก่อนและเป็น ส.ส.หลายสมัย กระแสข่าวนี้ทำให้บรรดาผู้ประกอบวิชาชีพครูรู้สึกยินดีอย่างยิ่งเพราะนายสุทิน คลังแสง เคยเป็นครูย่อมรู้งานของครู รู้งานทางด้านการศึกษา รู้แนวทางในการพัฒนาครูและนักเรียน การพัฒนาชาติบ้านเมืองด้านการศึกษาของชาติที่จะก้าวไปข้างหน้า ต้องบริหารจัดการโดยผู้รู้ ไม่ใช่บริหารจัดการโดยผู้มาเรียนรู้การบริหารกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าบริหารโดยผู้ที่ไม่เคยเป็นครูมาก่อน จะไม่มีทางเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ที่แท้จริงของครูและจิตวิญญาณของครู ไม่มีทางเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของนักเรียน ไม่เข้าใจถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จากกระแสข่าวดังกล่าวบรรดาผู้ประกอบวิชาชีพครู จึงเห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ไม่เอาการเมืองมานำในการบริหารประเทศ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระแสข่าวดังกล่าวจะเป็นความจริงและเป็นข้อบ่งชี้ถึงความกล้าหาญและความมีวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศในด้านการคัดเลือกบุคคลมาเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษา ​​   ข่าวจาก : มติชน

เปิดรายชื่อคณะรัฐมนตรี “เศรษฐา 1” เรียงตามประกาศราชกิจจานุเบกษา

28 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานขั้นตอน การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นไปตามความในมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หลังจากได้ทรงพระกรุณาแต่งตั้งนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 22 สิงหาคม 2566 แล้วนั้น บัดนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว จึงนำรายชื่อเข้าตรวจสอบคุณสมบัติโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จากนั้นนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงนามในหนังสือกราบบังคมทูลเกล้าฯ รายชื่อ แล้วให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งเรื่องให้กับสำนักราชเลขาธิการ รับไปดำเนินการ โดยรายชื่อคณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ เรียงตามลำดับ ตัวอักษรชื่อกระทรวง ที่เคยประกาศในราชกิจจานุเบกษา รายชื่อคณะรัฐมนตรี ที่จะได้รับการแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายปานปรีย์ […]

มท.ออกกฎกระทรวง อนุมัติสถานบริการ เขตเมืองการบินภาคตะวันออก เปิด24ชม.

25 สิงหาคม ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. 2546 และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ พ.ศ. 2547 “ข้อ 6/1 สถานบริการตามมาตรา 3 (1) ถึง (5) ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาต ให้ตั้งสถานบริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง กำหนด เขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ให้เปิดทำการได้ ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง” ให้ไว้ […]

คาดโผไม่พลิก “ต่อศักดิ์ สุขวิมล” นั่ง ผบ.ตร. คนที่ 14

หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ตามกำหนดการ จะทราบชื่อของ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร) อย่างเป็นทางการ คนที่ 14 ในวันพรุ่งนี้ (25 ส.ค.) และหากไม่พลิกโผ “บิ๊กต่อ” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล จะมีรหัสเรียกขาน “พิทักษ์1” ผงาดเป็นเบอร์ 1 ของกรมปทุมวัน ในตำแหน่ง ผบ.ตร.คนที่ 14 พลิกประวัติ หนุ่มเมืองเพชรบุรี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ เกิดเมื่อปี 2507 จบชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนโยธินบูรณะ ปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเป็น “สิงห์แดง” รุ่น 38 และจบปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ก่อนจะก้าวข้ามาสวมเครื่องแบบสีกากี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ เคยเป็นพนักงานบริษัทน้ำมันมาก่อนที่จะเปลี่ยนเส้นทางชีวิต ตามความฝันในวัยเยาว์ โดยเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมผู้มีวุฒิ ทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร หรือ กอต. รุ่นที่ 4 เส้นทางสีกากีเด่น ไม่แพ้ชาวรั้วสามพราน เส้นทางสีกากี เริ่มต้นขึ้นในปี 2540 […]

ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว 4โรคต้องห้ามรับราชการ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคการปฏิบัติงานในหน้าที่

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 ลงนามโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.พ. เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2566 โดยกำหนด 4 โรคต้องห้าม ในการ “รับราชการ” เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 36 ข. (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎ ก.พ. นี้ เรียกว่า “กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2566” ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 […]

นายก อบจ.ปทุมธานี ห่วงตั้งรัฐบาลช้า กระทบงบปี’67-แต่งตั้ง ขรก. หลัง ขรก.ระดับสูงเกษียณล็อตใหญ่ เผย “ตั้งๆ ไปเถอะ ให้จบๆ”

19 สิงหาคม พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันว่า เป็นห่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า และมีแนวโน้มที่จะตั้งสำเร็จไม่ง่าย ยิ่งตั้งรัฐบาลช้าเท่าไร ยิ่งส่งผลกระทบกับหลายภาคส่วน โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณท้องถิ่น และการแต่งตั้งข้าราชการใหม่หลังข้าราชการเก่าระดับสูงต้องเกษียณอายุราชการ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ผมในฐานะที่เราอยู่ในส่วนขององค์การของส่วนท้องถิ่น ไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นใคร ผมนามขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นยังไงก็ต้องมีผลต่อพี่น้องประชาชนหลายสิ่งหลายอย่าง งานของท้องถิ่นก็จะต้องประสานงานกับรัฐบาลในโครงการต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่หลายอย่างที่จะต้องเกิดขึ้นอาจมีปัญหาจากการตั้งรัฐบาลช้าและเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ อีกประเด็นที่อยากจะเรียน คือมันผูกพันในด้านของงบประมาณกลางที่จะมาสนับสนุนในส่วนของ อบจ. ต่าง ๆ เพราะอยู่ระหว่างคาบเกี่ยวที่จะเริ่มงบประมาณใหม่แล้ว ขณะนี้สิงหาคม และเดี๋ยวสิ้นสุดปีงบประมาณ 30 กันยายน สิ่งเหล่านี้ แผนต่าง ๆ ทาง อปท. ทุกๆที่เขาได้ดำเนินการเข้าแผนไว้หมดแล้ว แต่ถ้าจะชะลอกันแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ผ่านมา 3 เดือนแล้ว อันนี้คือสิ่งที่มันเกิดขึ้น อีกประเด็นหนึ่งก็คือว่า มีกฎหมายหลายฉบับ กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่พันอยู่กับองค์กรส่วนท้องถิ่น แล้วทางกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องดำเนินการแก้ไข เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ในการบริหารงานกับพี่น้องประชาชน การแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชนมันช้าไม่ได้หรอกครับ เราเห็นชัดเจนในกรณีสงครามโควิดที่เกิดขึ้นเห็นไหม […]

เปิดระเบียบคลัง ออกสมัย “รมว.ไตรรงค์” ระบุชัด “ค่ารับรอง” ใช้เพื่อเป็นเกียรติ-ประโยชน์ทางการเมืองได้

จากกรณีที่นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1 พร้อม นางอมรัตน์ โชคปมิตต์ ล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะคณะทำงานของนายปดิพัทธ์ จัดเลี้ยงหมูกระทะแม่บ้านประจำรัฐสภา และหารือแลกเปลี่ยนความเห็นในการทำงานร่วมกัน จำนวน 370 คน โดยใช้งบรับรองประจำตำแหน่งรองประธานสภาฯ จนมีเสียงชื่นชม และวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้โพสต์ภาพระเบียบกระทรวงการคลับ ว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรองในตำแหน่งประธานวุฒิสภา พ.ศ.2536 พร้อมระบุว่า ” #ค่ารับรอง หมายความว่า ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าของขวัญ ค่าพิมพ์เอกสาร และค่าใช้จ่ายอื่น ซึ่งจำเป็นต้องจ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองเพื่อประโยชน์ทางการเมือง หรือเพื่อเกียรติแห่งประธานวุฒิสภา จาก ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรอง ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา พ.ศ. 2536″   ข่าวจาก : มติชน

1 12 13 14 995
error: