วิธีทำ “เบียร์วุ้น” ง่ายๆ ทำเองได้ที่บ้าน





วิธีทำ "เบียร์วุ้น" ง่ายๆ ทำเองที่บ้านได้

 

1393675934-pantiptalk-o

 

เคยสงสัยไหมว่า เบียร์วุ้น ที่เราดื่มเย็นๆชื่นใจเนี่ย เขาทำอย่างไร วันนี้เราขอนำเสนอวิธีทำเบียร์วุ้นง่ายๆด้วยตนเองที่บ้าน ง่ายแค่ไหนนั้นไปดูกันเลย

อุปกรณ์ 

1. เบียร์ 6 ขวด 

2. กระติกใส่น้ำแข็งขนาดใหญ่ที่พอจะวางเบียร์ 6 ขวดได้ในแนวตั้ง (ถ้าแนวนอนจะทำให้เบียร์เป็นวุ้นช้า) 

3. น้ำแข็งบด 

4. เกลือเม็ด 2-3 กำมือ (เกลือเม็ดจะราคาถูกกว่าเกลือป่นที่ใช้รับประทานกันทั่วไป) 

5. น้ำ 

[ads]

วิธีทำเบียร์วุ้น 

1. เรียงขวดเบียร์ไว้ในกระติกน้ำแข็งในแนวตั้ง 

2. ใส่น้ำแข็งลงไปให้ได้ครึ่งกระติก 

3. ใส่เกลือตามลงไปสัก 1 กำมือ 

4. ใส่น้ำแข็งเพิ่มลงไปอีกจนเต็มกระติก 

5. ใส่เกลือที่เหลือลงไป 

6. ใส่น้ำจนเต็มกระติก 

7. ปิดฝา 

8. หมุนไปหมุนมา 

9. ประมาณ 10-20 นาที ให้เริ่มตรวจสอบเบียร์ว่ามีเกล็ดหิมะขึ้นมาเกาะหรือยังถ้ามีแสดงว่าพร้อมใช้งาน 

(เวลาขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือด้วย) 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม 

** เบียร์แต่ละขวด ใช้เวลาในการเป็นวุ้น ไม่เท่ากัน 

** ใส่เกลือมากเกินไป อาจทำให้เบียร์แข็งตัวเร็วมากจนขวดแตก แล้วจะอดกิน 

** สำหรับผู้ที่ยกกระดก ก่อนกินเบียร์วุ้นที่ทำจากวิธีที่ 2 โปรดตรวจสอบความเค็มของขวดด้วย 

หลักการของเกลือและน้ำแข็ง 

เวลาเอาเกลือละลายน้ำ ถ้าจะให้เกลือละลายเร็วจะต้องใช้น้ำร้อน 

เพราะเกลือต้องการความร้อนสำหรับช่วยในการละลายตัวให้หมดโดยเร็ว ดังนั้น 

เมื่อเอาเกลือใส่ลงไปในน้ำแข็ง เกลือที่ต้องการละลายตัว ไม่สามารถจะหาความร้อนที่ไหนมาช่วยละลายได้ 

จึงดึงความร้อนจากน้ำแข็งออกมา น้ำแข็งซึ่งเย็นอยู่แล้วจึงยิ่งเย็นลงไปอีก เข้าขั้นเย็นยิ่งยวด 

อุณหภฺมิอาจติดลบได้ อยู่ที่ปริมาณของเกลือและน้ำในถังที่มีสภาพเป็นของเหลว จึงถูกดึงความร้อนออกไป 

ของเหลวในถังจึงเย็นลง 

สรุปว่า เกลือไม่ได้ทำให้น้ำแข็งละลายช้า แต่จะทำให้น้ำแข็งเย็นจัดกว่าเดิมถึงขั้นอุณหภูมิติดลบ

เลยมีผลถึงน้ำในกระติกจะเย็นจัดด้วย 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.civicesgroup.com และรูปภาพจาก vennli.com, www.hungryfatguy.com

รูปประกอบจาก http://pantip.com/topic/31723002

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: