อันตรายจากเรื่องใกล้ตัว! ‘ยาฝาแฝด’ ภายนอกเหมือน เเต่สรรพคุณแตกต่าง





'ยาฝาแฝด' หรือยาที่มีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนหรือแยกไม่ออก ซึ่งหากรับประทานเข้าไปผิดอาจเกิดอันตรายได้ยกตัวอย่างเช่น ยาลดไข้สำหรับเด็กที่มีหลายรสชาติ ซึ่งผู้ปกครองมักเลือกซื้อตามรสชาติที่ลูกชอบทาน โดยไม่ทราบว่าแต่ละรสชาติมีปริมาณยาที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจแตกต่างกันถึงเท่าตัวเลยทีเดียว เนื่องจากผลิตมาเพื่อใช้ในเด็กแต่ละช่วงอายุ

 

[ads]

 

  ผศ.กญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเฝ้าระวัง และพัฒนาระบบยา ระบุถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยาฝาแฝดเป็นผลมาจากการโฆษณา เนื่องจากเมืองบริษัทผู้ผลิตเสียค่าโฆษณา เพื่อทำให้ผู้บริโภคเกิดความคุ้นชินและเป็นที่รู้จักแล้ว เมื่อผลิตยาตัวใหม่จึงทำให้มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน

      แนะนำว่า ในฐานะผู้บริโภคจำเป็นต้องเริ่มต้นจากตัวเอง ด้วยการจำชื่อยาให้ได้หรือใช้วิธีการสอบถามจากเภสัช ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยาจากร้านขายของชำ เนื่องจากผู้ขายไม่มีความรู้ในเรื่องของยา และที่สำคัญคืออย่าหลงเชื่อคำโฆษณา

      ต้องการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ ผู้ผลิตควรมีจรรยาบรรณ ทบทวนการทำงานและจัดการแก้ปัญหายาฝาแฝดอย่างจริงจัง ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรเข้าดูแลเพื่อให้ผลิตยาออกมาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

      ทั้งนี้ ยาที่ผู้คนมักใช้ผิดกันมากคือ 'โปลเคนเมด' และ 'เพนนิซิลิน วี โปแตสเซียม' เนื่องจากเป็นยาฆ่าเชื้อกล่องสีเขียวเช่นเดียวกัน แต่ช่วยรักษาอาการแพ้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งหากทานเข้าไปผิดอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง

 

 

ขอบคุณเนื้อหาเเละภาพจาก:http://tv.bectero.com/

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: