มันมีจริงๆนะ..รังแคบนใบหน้า (เซ็บเดิร์ม) ใครเริ่มมีผื่นแดง หน้าลอกเป็นขุย ตามใบหน้า ใช้เลย!!


มันมีจริงๆนะ..รังแคบนใบหน้า (เซ็บเดิร์ม) ใครเริ่มมีผื่นแดง หน้าลอกเป็นขุย ตามใบหน้า ใช้เลย!!
โรคเซ็บเดิร์ม
• สามารถพบได้บ่อยมากในฤดูหนาว เนื่องมาจากอากาศที่แห้ง
• ถือเป็นโรคในกลุ่มเดียวกับรังแค (dandruff) และโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) แต่โรคเซ็บเดิร์มคือ โรคผิวหนังเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ
• มีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงตามหน้าผาก ข้างแก้ม คิ้ว หรือเป็นผื่นมีขุยที่เหนือคิ้ว ร่องจมูก แนวไรผม
• ถ้าหากเป็นในส่วนของชนิดที่รุนแรง ผื่นจะเห็นได้ชัดเจนมาก ซึ่งหากสังเกตดูแล้วไม่ต่างไปจากโรคสะเก็ดเงิน
• คุณอาจจะพบผื่นที่หนังศีรษะคล้ายรังแค แต่หนังศีรษะจะมีลักษณะผื่นแดงและยังสามารถพบตามตำแหน่งอื่นๆ ที่มีต่อมไขมันมาก อาทิเช่น รูหู หลัง หู สะดือ หน้าอก และหัวหน่าว
• ในบางรายอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย
• ตำแหน่งที่สามารถพบเซ็บเดิร์ม มักจะเป็นในลักษณะตำแหน่งเดียวกับที่พบสิวคือ บริเวณที่ต่อมไขมันทำงานมาก
• พบว่า ชาวฝรั่งตะวันตกเป็นโรคเซ็บเดิร์มมาก แต่ในปัจจุบันคนไทยมีวิถีชีวิตคล้ายชาวตะวันตกและมีภาวะความเครียดสูงขึ้น จึงทำให้พบอาการเช่นนี้ในคนไทยมากขึ้นตามไปด้วย
ปัจจัยที่ทำให้โรคเซ็บเดิร์มหรือรังแคของผิวหน้ากำเริบ
• ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ
• ผิวหน้าแห้งจากการล้างหน้าฟอกสบู่บ่อยครั้งเกินไป
• อาศัยอยู่ในห้องปรับอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
• ได้รับการถูกแสงแดดจัด
• ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
• กินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด
• ตรวจพบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยส่วนมากจะเป็นเซ็บเดิร์มอย่างรุนแรง
• ในคนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นโรคเอดส์ก็มักจะพบโรคเซ็บเดิร์มได้บ่อยเช่นกัน
แนวทางการรักษา "รังแคที่ผิวหน้า" คือการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นดังต่อไปนี้
• ถ้าหากเป็นมาก คุณควรที่จะพบแพทย์ผิวหนัง โดยแพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาทาที่เหมาะสม
• อาทิเช่น ครีมทาลดเชื้อยีสต์ เช่น คีโทโคนาโซล หรือครีมสตีรอยด์อย่างอ่อนทา
• ถ้าหากมีผื่นคันของหนังศีรษะร่วมด้วย คุณอาจจะต้องใช้แชมพูยา เช่น แชมพูน้ำมันดิน (Tar shampoo) แชมพูคีโทโคนาโซล (Ketoconazole) หรือแชมพูซิงก์ไพริไทออน (Zinc pyrithion) สระผม
• โดยคุณควรที่จะสระ แล้วทำการหมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ แล้วค่อยล้างออก
• โรคนี้มักจะมาแบบเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยจึงไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้เครียดและโรคยิ่งกำเริบขึ้น
ที่มา: หนังสือที่ระลึกเนื่องในวาระครบรอบ 36 ปี สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2554