อย.กุมขมับ! โซเชียลฯโพสต์ใช้ยา ‘เขียวเหลือง’ ที่แท้เป็น ‘ทรามาดอล’ ยาอันตราย





จากกรณีที่มีหญิงสาวรายหนึ่ง โพสต์ภาพและข้อความเตือนภัยถึงอันตรายของ ‘ยาทรามาดอล’ หรือที่วัยรุ่นไทยนิยมเรียกติดปากว่า ‘เขียว-เหลือง’ ตามลักษณะสีแคปซูลของยาที่ปรากฏ โดยยาตัวนี้อยู่ในการควบคุม เพราะเป็นยาที่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ทำให้เกิดอาการเคลิ้ม กดระบบประสาท โดยหญิงสาวได้โพสตเตือน ว่า

 

[ads]

 

“คนที่ชอบกินเขียวเหลืองกินจนติด คือ ตอนนี้แฟนเราอาการหนักมากทุกอย่างมันเกิดขึ้นเร็วมาก คือแรกๆมันยังไม่เกิดอาการ แต่พอวันหนึ่ง ลุกจากที่นอนไม่ได้ ไม่สามารถเดินได้รักษาก็ยังไม่หาย จำอะไรไม่ค่อยได้สมองเบลอหลงๆลืม ตาค้างเหม่อเลยตลอดเวลา ทุกวันกินข้าวก็กินไม่ค่อยได้น้ำหนักลง7-8โล ขนาดลุกนั่งแฟนเรายังทำไม่ได้เลย…ร่างกายไม่มีแรงเจ็บกระดูก ทำลายสมองความจำเสื่อม ถ้าไม่อยากเป็นแบบแฟนเราเลิกกินเถอะคะ”

   เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ยาทรามาดอล เป็นยาแก้ปวดใช้บรรเทาอาการปวดชนิดรุนแรงหรือปวดเรื้อรังเช่นกรณีแผลผ่าตัด หรือปวดข้ออย่างรุนแรง เฉียบพลัน ในการควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยยาดังกล่าว จัดเป็นยาอันตราย ต้องอยู่ในการควบคุม โดยผู้ผลิตต้องรายงานมาทางอย. ในระบบออนไลน์ และกำหนดให้ร้ายขายยาสามารถซื้อยาตัวดังกล่าวได้ครั้งละ 1,000 เม็ดต่อเดือน และจ่ายยาให้ผู้ซื้อครั้งละไม่เกิน 30 เม็ดต่อครั้ง ซึ่งจะต้องจ่ายยาตามอาการบ่งชี้ ต้องไม่ขายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี ที่สำคัญต้องทำบัญชีการขายยาตัวนี้ด้วย ฉะนั้นด้วยการลงระบบออนไลน์สาธารณสุขทุกจังหวัดจะรู้ว่าร้านไหนซื้อยาไปเท่าใด กรณีการขายยาจะขายได้เฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันเท่านั้น หากพบไปขายในอินเตอร์เน็ต ตลาดนัด หาบเร่แผงลอยถือว่าผิดหมด มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

   ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า ยาตัวนี้ ยังมีประโยชน์ในการลดอาการปวด เพียงแต่ต้องใช้อย่างเหมาะสม อยู่ในการควบคุม เพราะปกติหากกินยาไม่ถูกต้อง ก็ย่อมมีผลข้างเคียง ซึ่งยาแก้ปวดหากใช้ไปประมาณ 5-7 วันไม่ดีขึ้นก็ต้องพบแพทย์ ส่วนเรื่องของมาตรการการปราบปรามก็กำลังทำอยู่ แต่ต้องใช้มาตรการอื่นร่วมกันด้วย หากพบการกระทำความผิดสามารถแจ้งเรื่องมาได้สายด่วน 1556 หรือสามารถดาวโหลดแอพพลิเคชั่น อย.แล้วสามารถส่งเรื่องเข้ามาได้เลยหากมีหลักฐานก็สามารถจับกุมได้เลย ทั้งนี้ ยาทุกตัวนั้นมีประโยชน์หมดแต่ก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน เวลาใช้ยาต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์ ดูฉลากยาให้ดี อย.ก็ได้เข้มงวดทางเภสัชกรให้จ่ายยาตามที่มีอาหารบ่งชี้ หากบริโภคยาตัวนี้เกินขนาดก็จะมีอาการตั้งแต่ คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขณะนั้นกำลังมีการเสนอให้มีการพักใบอนุญาตในการขายยาหากพบว่ากระทำความผิด ซึ่งปกติจะมีการพักใช้ครั้งละ 120 วัน ไม่สามารถขายยาได้ หากเป็นเภสัชกรก็จะมีการส่งเรื่องให้สภาเภสัชกรรม พิจารณาเรื่องจรรยาบรรณต่อไป

   “จริงๆทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน โดยคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เยาวชนไปยุ่งเกี่ยวกับขอมึนเมา สื่อเองก็ต้องช่วยกันจะรณรงค์ไม่ให้เยาวชนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ผู้ปกครอบก็ต้องจับตาดูบุตรหลานเช่นกัน ”ภก.ประพนธ์ กล่าว

ภาพ:http://www.matichon.co.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: