มูลนิธิผู้บริโภค…พบแซนวิสไก่อบ จากร้านฟาสฟู๊ดเปื้อนยาปฏิชีวนะตกค้างในชิ้นเนื้อ-ผิวหนังไก่





   เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) แถลงข่าว”ยังพบมีการใช้เนื้อสัตว์ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในอาหารฟาสฟู๊ด ว่า ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างอาหารฟ๊าสฟู๊ด อาทิ ไก่ทอด นักเก็ต สเต็กหมู สเต็กไก่ เนื้อ ในร้านจำหน่ายอาหารฟาสฟู๊ดที่มีหลายสาขา 18 ตัวอย่างเพื่อตรวจหายาปฏิชีวนะ 6 ชนิด

 

 

[ads]

 

 

201611161340581-20050719124019

   พบเพียงแซนวิสไก่อบของร้านแห่งหนึ่งมียาปฏิชีวนะเตตตร้าไซคลีน (Tetracyline) 13.73 ไมโครกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ไม่เกินค่ามาตรฐานสากลที่อนุญาตให้ใช้ที่ 200 ไมโครกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม แต่เป็นการยืนยันว่าประเทศไทยมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการบวนการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นอยากเรียกร้องผู้ประกอบการอาหารฟ๊าสฟู๊ดรายใหญ่หรือผู้เลี้ยงสัตว์รายใหญ่มีนโยบายและแผนการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ เลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ปลอดยาปฏิชีวนะ 2.ให้นักวิชาการภายนอกเข้าไปตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทได้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำไห้ปัญหาเชื้อดื้อยา และการใช้ยาในการเลี้ยงสัตว์ลดลง ประชาชนมีปัญหาสุขภาพลดลง หากไม่ทำอะไรเลยมีการคาดการณ์ว่าอีกไม่กี่ปีจะมีคนเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยากว่า 50 ล้านคนทั่วโลก

   รศ.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธาน มพบ.กล่าวว่า ตามปกติการเลี้ยงสัตว์จะให้ยาปฏิชีวนะเมื่อป่วยเท่านั้น และใช้ในปริมาณที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้หมด ไม่ให้เหลือเชื้อโรคแม้แต่เซลล์เดียว เพราะมันต่อสู้เพื่อให้ตัวเองรอด และสามารถแพร่จำนวนได้มหาศาลภายใน 15 นาที แต่ปัญหาคือในหลายประเทศทั่วโลก และประเทศไทยมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันโรค เพื่อเร่งการเจริญเติบโตย่นระยะเวลาในการเลี้ยงดูให้สั้นลง ซึ่งถือเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล ทำให้ยานั้นตกค้างในอวัยวะของสัตว์ เครื่องใน ผิวหนัง เนื้อบางส่วนแล้วแต่กลุ่มของยาปฏิชีวนะ ในขณะที่ผู้บริโภคมักเข้าใจว่ายานั้นจะหายไปได้จากการชำแหละ และกระบวนการปรุงอาหาร แต่ปัญหาคือประเทศไทยมีการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ จึงมีโอกาสตกค้าง และก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ ทั้งนี้เมื่อรับเชื้อเข้าไปแล้วสามารถทำให้เกิดการดื้อยาได้ภายใน 24 ชั่วโมง และมีข้อมูลว่า เชื้อดื้อยาจะมียีนที่สามารถดื้อต่อยาข้ามกลุ่มได้ ดังนั้นอย่าใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นเพราะ ถ้าใช้ต้องให้ครบโดส ที่สำคัญคือในภาคการเลี้ยงสัตว์นั้นภาครัฐก็ต้องกำกับให้มีการใช้เพื่อการรักษาโรคเท่านั้นไม่ใช้เพื่อเร่งการเจริญเติบโค รวมถึงอย่าปล่อยน้ำหรือของเสียจากแหล่งที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่บำบัด ซึ่งประเทศไทยมีปัญหานี้มาก

 

[ads=center]

 

ขอบคุณข้อมูลจาก:www.matichon.co.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: