วิธีหมัก Apple cider vinegar (น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล) สูตรคุณภาพสูง!ทานเอง…มีประโยชน์ช่วยย่อยอาหาร กินวันละ 1-2 ช้อนชา





ACV ที่มีคุณภาพสูงจะสังเกตได้จากเส้นใยบางๆ คล้ายใยแมงมุมที่อยู่ในน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ (หรือที่นิยมเรียกกันว่า mother) คือส่วนที่มีสารอาหารมากที่สุด และดีต่อระบบย่อยอาหารอย่างมาก สิ่งนี้ทำให้น้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล แตกต่างจากน้ำส้มสายชูทั่วไปในท้องตลาด แต่การผ่านความร้อนจะทำลาย mother ที่มีอยู่ในน้ำส้มสายชูหมัก เราจึงควรเลือกซื้อ ACV ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนจะดีที่สุด

 

[ads]

apple_cider_vinegar

ภาพ:Wikipedia

เนื่องจาก ACV ที่มีขายอยู่ทั่วไปนั้น มีราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่สักหน่อย แถมจะซี้อแต่ละครั้ง ก็ต้องไปซื้อกันตามซุปเปอร์มาร์เก็ต และยังต้องเลือกสรรให้ได้แบบที่มี mother จึงจะถือว่าเป็น ACV ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งอาจจะยากไปสักนิด เราจึงมีวิธีการหมัก ACV ทานเองในครอบครัวมาฝากกัน นอกจากราคาจะไม่สูง ไปต้องขับรถไปซื้อกันบ่อยๆ แล้ว เราก็สามารถเลือกสรรส่วนผสมที่มีคุณภาพตามต้องการได้ด้วยตนเองอีกด้วย

 

การเตรียมวัตถุดิบ

  • – แอปเปิ้ล (ควรเป็นออร์แกนิค) 6 ผล เลือกที่ค่อนข้างมีรสเปรี้ยวอมหวาน ไม่หวานจนเกินไป
  • – หัวเชื้อหรือแม่เชื้อ : ACV ที่มี mother 2 ช้อนโต๊ะ หรือ หัวเชื้อแบบที่เป็นวุ้น (ในกรณีที่เคยหมักและมีหัวเชื้อเก็บไว้)
  • – น้ำผึ้งแท้ 2 ช้อนโต๊ะ
  • – น้ำสะอาด (ห้ามมีคลอรีน)
  • – โหลแก้ว
  • – ผ้าขาวบาง
  • – ยางสำหรับรัดปากโหล

ขั้นตอนการหมัก

1. ล้างแอปเปิ้ลให้สะอาดและผึ่งให้แห้ง จากนั้นผ่าแอปเปิ้ลออกเป็น 8-12 ชิ้น ใส่ลงในโหล ปล่อยให้สัมผัสอากาศจนผิวแอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

2. เติมน้ำผึ้งและแม่เชื้อ ACV (เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก เพราะแม่เชื้อมีจุลินทรีย์ที่เป็นมิตร จะเป็นตัวเร่งให้กระบวนการหมักเร็วขึ้น)

3. เติมน้ำเปล่าจนท่วมแอปเปิ้ล

4. ปิดฝาขวดโหลด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นวางไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก (ส่วนผสมที่ผสมแล้วนี้ เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ จะเกิดเป็นแอลกอฮอลล์อย่างอ่อนๆ (ไซเดอร์) และแบคทีเรียที่เป็นมิตร จากนั้นจะค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำส้มสายชู (วีนีการ์) ในที่สุด)

5. วางขวดโหลไว้ในที่มีอุณหภูมิอุ่นๆและไม่ให้สัมผัสแสงแดดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (ด้านบนของตู้เย็นเป็นที่ที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยต่อกระบวนการนี้)

6. เมื่อทิ้งไว้จนสังเกตเห็นฟองหรือมีลักษณะเป็นฝ้าที่ด้านบนของส่วนผสมนั่นคือ กระบวนการหมักที่ดำเนินไปอย่างถูกต้อง ให้หมั่นเปิดฝาและคนส่วนผสมทุกๆ วัน อาจมีราขาวๆ ขึ้นที่ด้านบนของส่วนผสม ซึ่งไม่เป็นอันตราย เพียงแค่ช้อนมันออกเท่านั้น

7. เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ สีของ ACV จะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาล ให้กรองเอาแต่น้ำใส่ในขวดโหลที่สะอาดและแห้ง จากนั้นปิดปากขวดโหลด้วยผ้าขาวบางอีกครั้ง วางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิแบบเดิมกับขั้นตอนแรก และคนน้ำ ACV ทุกวันจนครบอีก 2 สัปดาห์ (รวมเวลาในการหมักทั้งสิ้น 1 เดือน)

8. ลองชิมรสชาติ คุณจะสามารถตัดสินได้ว่ารสชาติแบบนี้ คือ ACV ใช่หรือไม่

9. เมื่อครบกระบวนการหมัก อาจมีวุ้นลักษณะนิ่มๆ สีขาวขุ่น (scoby) เกิดขึ้นที่ด้านบนของน้ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นแม่เชื้อในการหมักครั้งต่อไปได้

10.เมื่อได้ ACV เรียบร้อยแล้ว ให้หยุดกระบวนการหมัก โดยการเก็บไว้ในตู้เย็น

ข้อควรระวัง : อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการหมักทุกชิ้น จะต้องไม่เป็นโลหะ เนื่องจาก ACV มีความเป็นกรด อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนผิวโลหะ และเกิดการปนเปื้อนของโลหะใน ACV ได้

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: