7 พฤติกรรมทำร้าย “ไต” ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม! เลี่ยงได้เลี่ยงเลย !





หากพูดถึงโรคไต หลายคนคงคิดว่าเป็นเพราะต้อง “ทานเค็มมากเกินไป” แน่ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังคงมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้คุณเป็นโรคไตแม้จะไม่ได้ทานเค็ม เพราะอาหารรสเค็มไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคไตเพียงอย่างเดียว

 

และเมื่อไตมีปัญหา แน่นอนว่ามันจะกระทบกับการดำเนินชีวิตของคุณเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะระบบการขับถ่ายของเหลวออกสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆของการมีชีวิต คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตส่วนใหญ่เกิดมาจากการใช้ชีวิตด้วยพฤติกรรมผิดๆทั้งนั้น หากคุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร มาลองดูกันดีกว่าค่ะว่า อาหารอะไรบ้างที่ไม่ควรทาน เพราะมันจะทำให้ไตต้องทำงานหนักมาก

 

หากคุณยังไม่ทราบว่า สาเหตุมีอะไรบ้าง? และกลัวว่าจะเผลอทำร้ายไตของตัวเองโดยไม่รู้ตัว! มาลองดูสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคไตทั้งหมดเลยดีกว่าค่ะ

 

Female hand holding model of human kidney organ at back of body. Hand showing model with outside of human kidney isolated on white background. The artificial model for education shows the exterior of the kidney organ. This organ or gland filters and purifies the blood. People have two kidneys in their body and sometimes a person donates one for transplantation to another person with a kidney disease. 

 

1. ทานอาหารรสจัด

ไม่ใช่แค่การรับประทานอาหารรสเค็มจัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาหารรสจัดทั้ง อาหารหวานจัด เผ็ดจัด หรือแม้กระทั่งมันจัด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ไตทำงานหนักขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น พฤติกรรมสุดโต่งที่ว่านี้จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไตได้เช่นเดียวกันกับอาหารรสเค็ม

 

 

2. ไม่ออกกำลังกาย

การไม่ออกกำลังกายเป็นสาเหตุของหลายๆโรค เนื่องจากจะทำให้สมดุลร่างกายเสียไป ที่คุณพอทราบกันก็คืออาการอ้วนลงพุง แต่ไม่ใช่แค่โรคอ้วนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เข้ามาทำร้ายคุณ แต่ยังมีโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด โรคไขมันพอกตับ โรคเส้นเลือดอุดตัน หรือโรคหัวใจ และยังรวมไปถึงโรคไตที่อันตรายสุดๆนี้ด้วยเช่นกัน ใครไม่อยากให้ร่างพงเร็วกว่ากำหนด มาเร่งเพิ่มการออกกำลังกายกันเถอะค่ะ สัปดาห์ละ 1-2 วัน ก็ยังดี แต่ถ้าทำได้มากกว่านี้ ยิ่งดีใหญ่เลย

 

1514-2

 

3. ดื่มน้ำน้อย หรือมากเกินไป

น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย การดื่มน้ำน้อยจึงเป็นสาเหตุของหลายๆ โรค รวมไปถึงโรคไตด้วย ทั้งนี้ก็เพราะไตทำหน้าที่ฟอกของเสียในร่างกาย จึงจำเป็นต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองเพื่อขับออกมาเป็นปัสสาวะ การดื่มน้ำน้อยเกินไปจึงจะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งไม่ดีต่อไต และกระเพาะปัสสาวะด้วย

ในทางตรงกันข้าม การดื่มน้ำมากเกินไปก็มีผลทำให้ไตก็จะทำงานหนักเกินไปเช่นกัน 

 

 

4. ทำงานหนักเกินไป

เชื่อหรือไม่ว่า…การทำงานหนักมากเกินไปก็เป็นสาเหตุของโรคไตได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อร่างกายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ อวัยวะภายในร่างกายก็จะไม่ได้รับการฟื้นฟู และซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่ เมื่ออวัยวะที่คอยทำหน้าที่ฟอกของเสียในร่างกายอย่างไตไม่ได้หยุดทำงาน ก็อาจทำให้ไตเสื่อมสภาพลงได้ง่ายนั่นเอง

 

1514-3

 

[ads]

 

5. ความเครียด

ความเครียดเป็นตัวบ่อยทำลายทุกอย่าง และมักมาพร้อมกับการทำงานหนัก หากเครียดมากๆ ร่างกายก็จะพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้เมื่อเราเครียด เราจะหายใจเอาออกซิเจนเข้าร่างกาย เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งไม่ใช่แค่ผลต่อปอดเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อไตซึ่งเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากความเครียดด้วยเช่นกัน

 

 

6. ทานอาหารสำเร็จรูป

แม้ว่าคุณอาจจะบอกว่าไม่ใช่คนทานเค็ม แต่หากคุณใช้ชีวิตวนเวียนอยู่กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องในร้านสะดวกซื้อ อาหารกระป๋องต่างๆ หรือแม้กระทั่งน้ำอัดลม โซดา และเครื่องดื่มบางประเภท จะทำให้คุณได้รับโซเดียมเข้าไปในร่างกายในปริมาณสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้น จึงควรเลือกทานให้น้อยลง รับรองว่าไตจะได้ทำงานเบาลงแน่นอน

 

1514-4

 

7. ความดันโลหิตสูง

หากใครมีอาการความดันโลหิตสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นโรคไตตามมาด้วย เพราะหากปล่อยให้เป็นความดันสูงต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รีบรักษา ความดันโลหิตสูงนี้จะทำลายเส้นเลือดที่ไต ทำให้ไตถูกทำลาย หรืออาจเรียกว่าเป็น “ไตวายชั่วคราว” นั่นเอง

 

รู้อย่างนี้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว ก่อนที่จะเป็นโรตไตแล้วต้องไปฟอกไตทุกวันนะคะ ขอบอกเลยว่าไม่สนุกแน่ๆ

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก health.sanook.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: