คนใช้รถต้องรู้ ! เตรียมเสนอมาตรการควบคุมรถส่วนตัว ให้ใช้ได้แค่เดือนละ 15 วัน





ทุกวันนี้ปัญหารถติดเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่จำเป็นต้องแก้ไขโดยด่วน แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัญหานี้แก้ไขได้ยากมาก เพราะทุกวันนี้คนเรานิยมใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากมายกว่าแต่ก่อน เมื่อรถมากขึ้น แต่ถนนเท่าเดิม จึงทำให้เกิดปัญหารถติดตามมาอย่างเสียไม่ได้

 

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงคิดวิธีการใหม่ที่จะช่วยให้ปัญหารถติดลดน้อยลง จะด้วยวิธีไหนนั้น ตามมาดูเลยค่ะ

 

นายชัยวัฒน์  ทองคำคูณ  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้นโยบายกระทรวงคมนาคมตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการว่า  

 

1512

 

“ปัญหารถติดในกรุงเทพฯที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้า-เย็นเท่านั้น ไม่ใช่รถติดทั้งวันทั้งคืน   อย่างไรก็ตามสนข. ได้วางกรอบการแก้ปัญหาไว้  3 ระยะ คือ

 

1.ระยะสั้น ทำได้ทันที 

– เข้มงวดผู้ใช้รถใช้ถนน ให้เคารพกฎจราจรมากขึ้น เช่น ห้ามจอดรถบนถนน ห้ามฝ่าฝืนสัญญาณจราจร  ห้ามเลี้ยวซ้าย  โดยตำรวจต้องทำกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ หรือเพิ่มโทษให้หนักขึ้น  เช่น  การยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ต่อกรณีทำผิดในข้อหาหนักเพิ่มเติมจากการเสียค่าปรับตามปกติ   หรือการรณรงค์ให้ประชาชนเคารพกฎจราจร

 

1512-1

 

2.ระยะกลาง ใช้เวลา1-2 ปี 

มาตรการจัดการจราจรบนถนนสายหลักตามปริมาณรถ   เช่น  จัดรีเวิสซิเบิ้ลเลนหรือให้รถสวนกระแส   ยกตัวอย่างถนน 6 ช่องจราจร  ช่วงเช้ารถเข้าเมืองมีปริมาณสูงให้ เปิด 4 ช่อง  เดินรถสวนช่องขาออกเมือง 1 ช่อง  เป็นต้น โดยจะต้องพิจารณารายละเอียดของถนนและต้องหารือกับตำรวจจราจรถึงความเหมาะสม 

การเพิ่มช่องบัสเลน (ช่องรถเมล์) บนถนนสายหลักให้มากขึ้น  เพื่อให้รถเมล์ไปได้เร็ว  และเพื่อเป็นการส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน  หากรถส่วนตัวคันใดขับเข้าไปใช้ช่องบัสเลนก็จะต้องถูกจับปรับ  

 

[ads]

 

3.ระยะยาว 5-6 ปี 

– เพิ่มทางเลือกในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า 

– ใช้มาตรการควบคุมปริมาณรถส่วนตัว โดยอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบของมาตรการไว้ 2 วิธี   ได้แก่

          1. การกำหนดโซนนิ่งเก็บเงินรถเข้าเมือง   ในถนนที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น ไม่ให้รถยนต์ส่วนตัวเข้าไปเติม  หากจะเข้าต้องเสียเงินในอัตราสูง และมีด่านเก็บเงินคล้ายๆ กับการขึ้นทางด่วน   

          2. การกำหนดวันใช้รถด้วยเลขทะเบียนรถวันคู่หรือวันคี่ หากตรงกับวันคี่ให้รถยนต์ที่มีเลขทะเบียนวันคี่ใช้ ส่วนรถเลขคู่ห้ามใช้ ต้องจอดไว้บ้านเท่านั้น  ในทางตรงกันข้าม วันคู่จะอนุญาตให้รถที่มีเลขทะเบียนคู่ใช้ได้  เลขทะเบียนวันคี่ต้องจอดอยู่บ้าน  

            ดังนั้น ใน1เดือนจะสามารถใช้รถได้เพียงแค่ 15 วันเท่านั้น  ซึ่งคาดว่าจะทำให้รถหายไปจากท้องถนนถึง 50%  

            อย่างไรก็ตาม จะมีแนวทางลดผลกระทบหรือผ่อนปรนกับประชาชนบางกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้รถส่วนตัว เช่น ผู้ป่วยที่ต้องไปพบแพทย์  ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มคนพิการ  ควบคู่กับการพิจารณามาตรการอื่นๆ ด้วย

 

ทั้งนี้ มาตรการทั้ง 3 ระยะจะนำเสนอกระทรวงคมนาคมในเร็วๆ นี้  มึความคืบหน้าอย่างไรจะมานำเสนอท่านผู้อ่านอีกครั้งค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก dailynews.co.th

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: