วิธีแก้ตาล้า+สมาธิสั้น จากสมาร์ทโฟน





    สมาร์ทโฟน กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของคนส่วนใหญ่ไปแล้ว แต่การใช้สมาร์ทโฟนวันละหลายๆ ชั่วโมงต่อเนื่องย่อมเกิดผลเสีย ทั้งต่อสายตา และสมาธิในการทำงานได้ อย่างที่มีผู้อ่านนิตยสารชีวจิต เขียนจดหมายมาสอบถามค่ะ

 

 

[ads]

 

 

 

   เป็นคนที่ต้องใช้สมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวันเกือบตลอดเวลา ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ระยะหลังๆ มีอาการปวดกระบอกตาบ่อยๆ แล้วรู้สึกว่าสมาธิสั้น จดจ่อกับเรื่องต่างๆ ได้ไม่ดีเหมือนเดิม จึงอยากทราบว่า เป็นผลเสียจากสมาร์ทโฟนหรือไม่ ควรแก้ไขอย่างไร

   การใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้ส่งผลเสียด้านสุขภาพโดยตรงกับผู้ใช้ แต่มาจากพฤติกรรมการใช้งานเป็นรายบุคคลไป เช่น คนที่จ้องจอนานๆ อยู่ในท่าทางเดิมนานๆ และกะพริบตาน้อยลง ประกอบกับพักผ่อนน้อย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายดังกล่าวได้

mobile-apps

ภาพ:www.techieapps.com

   สาเหตุหลักๆ ของการใช้สมาร์ทโฟนไม่ถูกวิธีคือการก้มมองจอนานๆ โดยไม่พักสายตาหรือเปลี่ยนอริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อตารวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ และหลังเกิดอาการล้าจากการหดเกร็ง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ก็ทำให้เกิดอาการปวดตามจุดต่างๆ ได้ ยิ่งการจ้องหน้าจอเพื่อรับข้อมูลจะทำให้เรากะพริบตาน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อตาล้าได้ง่ายมากขึ้น

   ส่วนเรื่องภาวะสมาธิสั้นนั้น อาจเกิดได้จากเทคโนโลยีและความรวดเร็วของการรับข้อมูล ที่พออยากรู้อะไรก็หาได้ปุบปับ เมื่อชินกับการที่สามารถรับรู้ได้ทันใจ ทำให้มีความอดรนทนต่อการรอคอยไม่ได้ จึงไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ อีกทั้งข่าวสารหรือการติดต่อสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟนที่มีลักษณะเรียลไทม์ ทำให้ทุกอย่างอัพเดทตลอดเวลา คนที่มีภาวะติดสมาร์ทโฟนมากๆ จึงรู้สึกว่าต้องคอยเช็กโทรศัพท์มือถือของตนตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาเข้านอน

   วิธีแก้คือ หาโอกาสในการออกห่างสมาร์ทโฟนบ้าง หากิจกรรมอย่างอื่นที่ตนสนใจทำ เช่น อ่านหนังสือที่ชอบ เล่นกีฬาที่ชอบ เข้าสังคมกับเพื่อนๆ พยายามมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างมากขึ้น หากจำเป็นต้องใช้สมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวัน ควรเตือนตัวเองให้พักสายตา ด้วยการทอดสายตาไปไกลๆ มองพื้นที่สีเขียว บริหารตาโดยการกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ตามเข็มนาฬิกา อย่างละ 10 ครั้ง ยืดเหยียดร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่สำคัญคือกินอาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินดี และวิตามินเค โดยเฉพาะในบิลเบอร์รี่ ที่มีสารสีน้ำเงิน เรียกว่า ไมร์ทิลลิน (Myrtliiln) ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ประสาทตา และแอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ เพิ่มจอสีประสาทตาให้ทนต่อแสงได้ดี

   แต่หากใครที่มีอาการติดแบบที่ไม่สามารถห่างจากสมาร์ทโฟนได้เลย แนะนำให้ขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์เพื่อหาวิธีการบำบัดต่อไปค่ะ

 

 

[ads=center]

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก:วิธีแก้ตาล้า+สมาธิสั้น จาก สมาร์ทโฟน เขียนโดย สุนิสา สมคิด จากนิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 431 (16 กันยายน 2559

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: