ควรรู้! เลือกยาคุมกำเนิดเเบบไหนดี?กินเเล้ว-ไม่อ้วน-สิวไม่ขึ้น-ขนไม่ดก





          สาว ๆ คงทราบถึงสรรพคุณที่แท้จริงของยาเม็ดคุมกำเนิดกันแล้วว่าใช้สำหรับการ ป้องกันการตั้งครรภ์ ปัจจุบันตามท้องตลาด มียาเม็ดคุมกำเนิดหลายยี่ห้อ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าควรเลือกทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบใดที่ช่วยลดอาการข้างเคียงอย่างอ้วนขึ้น บวมน้ำ มีสิวเห่อได้

 

[ads]

 

         

ตัวยาในยาเม็ดคุมกำเนิด  จะมีฮอร์โมนอยู่ 2 ชนิดที่ใช้ในยาคุมกำเนิด

– Estrogen (เอสโตรเจน) ที่ใช้มากได้แก่ Ethinyl estradiol (EE) และ Mestranol โดยตัว Mestranol จะมีฤทธิ์น้อยกว่า เพราะต้องเปลี่ยนเป็น Estrogen ที่ตับ ก่อนที่จะออกฤทธิ์

– Progesterone (โปรเจสเตอโรน) ที่นิยมใช้ได้แก่ Norethisterone (Norethindrone) รวมทั้งในรูป acetate ด้วย, Norethynodrel, Lynestrenol,Norgestrel, d-Norgestrel (Levonorgestrel), Desogestrel, Gestodene,Medroxyprogesterone acetate ฯลฯ ยากลุ่มนี้อาจจะ แสดงฤทธิ์ของฮอร์โมน Androgen ด้วยเช่น Norgestrel, d-Norgestrel (Levonorgestrel) และ Norethisteroneนอกจากนี้ Norethisterone ยังแสดงฤทธิ์ Estrogen อ่อนๆ อีกด้วย

istock-000029626044-large

ภาพ:www.ppat.or.th

รูปแบบของยาเม็ดคุมกำเนิดในท้องตลาด   ยาในท้องตลาดจะแบ่งได้ตาม ส่วนประกอบของยาคือ

1. ยาที่แสดงฤทธิ์เอสโตรเจนเด่นกว่า ได้แก่

– Anacyclin (Lynestrenol 1 mg + EE 0.1 mg)

– Norinyl (Norethisterone 1 mg + Mestranol 0.05 mg)

– Diane-35 (Cyproterone 2 mg + EE 0.035 mg)

 

2. ยาที่แสดงฤทธิ์โปรเจสเตอโรนเด่นกว่า ได้แก่

– Microgynon 30 (Levonorgestrel 0.150 + EE 0.03 mg)

– Nordette (Levonorgestrel 0.150 + EE 0.03 mg)

– Nordiol (Levonorgestrel 0.250 + EE 0.05 mg)

– Eugynon 30 (Levonorgestrel 0.250 + EE 0.03 mg)

– Ovral (Norgestrel 0.5 + EE 0.05 mg)

– Eugynon 50 (Norgestrel 0.5 + EE 0.05 mg)

 

3. ยาที่แสดงฤทธิ์สมดุล (Balanced pills) ได้แก่

– Novular (Norethisterone acetate 4 mg + EE 0.05 mg)

– Gynovlar (Norethisterone acetate 3 mg + EE 0.05 mg)

– Gynera (Gestodene 0.075 mg + EE 0.03 mg)

– Microgynon 50 (Levonorgestrel 0.125 + EE 0.05 mg)

– Marvelon (Desogestrel 0.150 + EE 0.03 mg)

– Mercilon (Desogestrel 0.150 + EE 0.02 mg)

– Lyndiol (Lynestrenol 2.5 + Mestranol 0.75 mg)

 

4. ยาที่มีโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว (Mini pills) ได้แก่

– Exluton (Lynestrenol 0.5 mg)

– Noriday (Norethisterone 0.35 mg)

 

การเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

    ปกติยาที่มีฤทธิ์สมดุล สามารถใช้ได้กับคนส่วนใหญ่ แต่ผู้หญิงที่มีลักษณะของเพศหญิงมาก เช่น มีหน้าอก สะโพกผาย ผิวหนังเต่งตึง มีไขมันใต้ผิวหนังมาก ขนไม่ดก แสดงว่า อาจมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง หรือไวต่อเอสโตรเจนมาก ให้เลือกยาที่แสดงฤทธิ์ โปรเจสเตอโรนเด่นกว่า ส่วนหญิงที่มีลักษณะตรงกันข้ามก็สามารถเลือกยาที่มีฤทธิ์ไปทางเอสโตรเจนเด่นกว่าได้ สำหรับวิธีการ และอาการประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเลือกยาได้แก่

1. เลือกใช้ยาที่มีเอสโตรเจนต่ำ  เพื่อลดอาการข้างเคียง

2. อาการคลื่นไส้  มักจะเกิดเมื่อกินยาชุดแรก โดยเฉพาะ 2-3 เม็ดแรก อาการจะลดลงและพบได้น้อย ภายหลังรับประทานยาไปแล้ว 3 ชุด ถ้าเกิดมาก ให้เปลี่ยนไปใช้ชนิดที่แสดงฤทธิ์ โปรเจสเตอโรนเด่นกว่า หรือยาที่มีเอสโตรเจนต่ำ หรือเปลี่ยนชนิดของเอสโตรเจน

3. อาการปวดศีรษะ วิงเวียน และมีอาการซึมเศร้า อาจจะเป็นผลจากยาโดยตรง หรืออาจจะเกิดจากการคั่งน้ำ และโซเดียมจากเอสโตรเจน ให้ทดลองลดขนาดเอสโตรเจนลง

4. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากฤทธิ์เสริมสร้าง (anabolic effect) จากโปรเจสเตอโรนที่มีฤทธิ์ของ Androgen อยู่ด้วยได้แก่ Norgestrel, Levonorgestrel และ Norethisterone หรืออาจเกิดจากการมีไขมันใต้ผิวหนัง, คั่งน้ำ และโซเดียมจากเอสโตรเจน ให้หลีกเลี่ยงไปใช้โปรเจสเตอโรนตัวอื่น หรือลดขนาดของเอสโตรเจนลง

5. สิวขึ้น และผมร่วง เกิดจากฤทธิ์ของ Androgen เหมือนกัน ควรเลือกโปรเจสเตอโรนที่ไม่มีฤทธิ์ Androgen หรือใช้ยาที่มีสารต้านฤทธิ์ Androgen เช่น Diane-35

6. เต้านมคัดและเจ็บ มักเกิดจากยาที่มีฤทธิ์ต้าน Androgen เช่น Diane-35 ควรหลีกเลี่ยงไปใช้ยาที่มีฤทธิ์ Androgen ด้วย

7. อาการมีเลือดออกกระปริบกระปรอยนอกเวลาประจำเดือน  มักเกิดกับผู้ที่ใช้ยาที่มีโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจนที่มีขนาดต่ำ เลือดจะออก 2-3 วัน ถ้าทานยาต่อไปเลือด

อาจจะหยุดเอง หรือไม่ก็เลือกยาที่มีขนาดสูงขึ้น

8. ยาที่มีโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว (Mini pills)  จะเลือกใช้กับผู้ที่ทนต่อเอสโตรเจนไม่ได้ แต่ฤทธิ์ในการคุมกำเนิด จะลดลง ซึ่งอาจจะตั้งครรภ์ ระหว่างใช้ยาได้

 

   เนื่องจากปัจจุบัน ยาเม็ดคุมกำเนิด มียาใหม่ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก การที่จะเลือกซื้อ ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้น คงต้องให้ความระมัดระวัง และเลือกซื้อ จากร้านที่เชื่อถือได้ หรือควรปรึกษาเภสัชกรก่อนทุกครั้ง ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีโรคประจำตัว ควรที่จะปรึกษา แพทย์ที่ดูแลอยู่ ก่อนที่จะใช้ยาคุมกำเนิด

 

[ads=center]

 

ขอบคุณข้อมูลจาก:สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ [online]www.hiso.or.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: