ข่าวดีผู้ประกันตน! บอร์ดการแพทย์ยกเลิกบัญชีแนบท้ายทำฟัน ให้สิทธิ900บ.ไร้เงื่อนไข





9 ก.ย.59 นพ.ชาตรี บานชื่น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดการแพทย์ พิจารณาทบทวนบัญชีประกาศแนบท้าย หลักเกณฑ์สิทธิการรักษาทันตกรรมผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมตามที่มีผู้เรียกร้อง เพราะมองว่าการเพิ่มสิทธิค่าบริการทันตกรรม 900 บาทต่อปี จากเดิม 600 บาท แต่มีการกำหนดบัญชีแนบท้าย จะทำให้เป็นการจำกัดวงเงินและได้รับสิทธิที่น้อยลงนั้น ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว และมีมติให้ยกเลิกประกาศแนบท้าย กล่าวคือ ให้ผู้ประกันตนได้สิทธิเบิกค่าบริการทันตกรรมได้ 900 บาทต่อปี โดยไม่มีเงื่อนไข ขณะเดียวกันจะมีการประสานหารือร่วมกับสถานพยาบาลภาครัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสังกัดภาครัฐอื่นๆ เพื่อขอความร่วมมือในการเบิกจ่ายตรงคล้ายๆ สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยผู้ประกันตนไปใช้สิทธิทันตกรรมโดยไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ให้ทางสถานพยาบาลภาครัฐมาเบิกกับทาง สปส.แทน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 900 บาท โดยการใช้บริการแต่ละกรณี ทั้งอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน จะเป็นเกณฑ์ค่าบริการของสถานพยาบาลภาครัฐนั้นๆ อาทิ ของกระทรวงสาธารณสุข ค่าบริการจะคิดตามเกณฑ์ของกระทรวง หากค่าบริการเกิน 900 บาท ทางผู้ประกันตนจะต้องจ่ายส่วนต่างเอง

[ads]

dent

“เช่นเดียวกับ รพ.เอกชน โดยจะมีการประกาศว่า รพ.เอกชน หรือคลินิกใดสนใจเข้าร่วมก็จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของ สปส. โดยเป็นการเบิกจ่ายตรง คือ ไม่เก็บเงินผู้ประกันตนในวงเงิน 900 บาท แต่มาเบิกกับทาง สปส.เอง ทั้งนี้ ต้องมีการเปิดเผย หรือแจ้งค่าบริการกรณีต่างๆ ให้ทางผู้ประกันตนทราบก่อน เพื่อให้ทราบว่า หากเกินวงเงิน 900 บาทต้องจ่ายส่วนต่างเองมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นทางเลือกให้ผู้ประกันตนที่อาจไม่ต้องการเข้าสถานพยาบาลภาครัฐ ก็เลือกเข้า รพ.เอกชนได้ แต่ทั้งหมดยังไม่ใช่ข้อสิ้นสุด เพราะมติของบอร์ดการแพทย์จะต้องเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหญ่ให้พิจารณาอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า” นพ.ชาตรีกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์แนบท้ายประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งจะมีการยกเลิกในเร็วๆ นี้ ประกอบด้วย

1. ขูดหินปูนทั้งปาก อัตราค่าบริการ (เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน) 400 บาท
2. อุดฟันด้วยวัสดุอะมอลกัม (Amalgam) 1 ด้าน 300 บาท อุด 2 ด้าน 450 บาท
3. อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน กรณีฟันหน้า 350 บาท กรณีฟันหลัง 400 บาท อุด 2 ด้าน กรณีฟันหน้า 400 บาท กรณีฟันหลัง 500 บาท
4. ถอนฟันแท้ 250 บาท ถอนฟันที่ยาก 450 บาท 
5. ผ่าฟันคุด 900 บาท


ข่าวจาก : matichon.co.th

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: