ช่วยจับได้รับส่วนแบ่ง! แจ้งจับ “มอไซค์” วิ่งบนทางเท้า คนแจ้งได้ส่วนแบ่งค่าปรับ 2,500 บาท





หลายต่อหลายครั้งที่ฟุตบาทหรือทางเดินเท้ากลายไปเป็นส่วนหนึ่งของนักบิดหลายๆคน  เพราะถ้าท้องถนนมีรถติด หรือมอเตอร์ไซต์ต้องการสวนเลน เขาก็มักจะเลือกใช้ฟุตบาทเป็นทางด่วนทางลัด เพื่อหวังจะไปให้ถึงจุดหมายเร็วกว่าเดิม โดยที่ไม่ได้สนใจสักเท่าไหร่ว่าจะไปใช้ที่ของใคร หรือทำใครเดือดร้อน

 

แต่คนส่วนใหญ่ก็มักจะเพิกเฉยและคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตน ห้ามไปอาจจะโดนลูกหลงได้ แต่ ณ บัดนี้ คุณอาจจะเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะคนที่แจ้งเหตุที่ว่านี้ต่อเทศกิจ มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งค่าปรับได้เช่นเดียวกัน

 

1492-1

 

พันตำรวจเอก พิชัย เกรียงวัฒนศิริ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร ยืนยันว่า

“กฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้เช่นนั้น โดยผู้แจ้งสามารถแจ้งได้กับเจ้าหน้าที่เทศกิจ และเมื่อมีการจับปรับผู้ฝ่าฝืนแล้วก็จะมีส่วนแบ่งค่าปรับให้ผู้แจ้งเบาะแสตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้ แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีประชาชนแจ้ง อาจเป็นเพราะคิดว่าธุระไม่ใช่ และกลัวว่าจะได้รับผลกระทบ”

 

[ads]

 

มาลองดูเนื้อหาตามกฎหมายที่มีอยู่กันสักหน่อย

 

ตามมาตรา ๑๗ ห้ามมิให้ผู้ใด

(๒) จอด หรือ ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน บนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้

 

และมีบทกำหนดโทษอยู่ในมาตรา ๕๖ ที่ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

 

1492-2

 

หากมีผู้แจ้งการกระทำผิดดังกล่าว ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ จะแบ่งแก่ผู้แจ้งครึ่งหนึ่ง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจร หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ผู้จับกุมอีกครึ่งหนึ่ง(มาตรา ๔๘ วรรคสาม)

 

ดังนั้น กฎหมายที่ว่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งคนเดินถนน คนแจ้งจับ และประเทศชาติ ทางเดินเท้าในประเทศไทยจะได้ปลอดภัยมากขึ้น หรือถ้าใครอยากจะหารายได้พิเศษ ก็ลองสอดส่องสายตา เป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าพนักงานได้ เผื่อจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทาง

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก motorival.com และ pptvthailand.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: