โรคร้ายคุณผู้หญิง ! เหงื่อออกมาก มือสั่น ผมร่วง สัญญาณ ‘ไทรอยด์เป็นพิษ’ ร้ายแรงถึงชีวิตเชียวนะ





ผู้หญิงมีหลายโรคที่ต้องระวังตัวเองหลายโรค นอกจากเรื่องของมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่แล้ว เรื่องของอาการไทรอยด์ก็ยังเป็นอีกเรื่องที่น่ากังวล

 

เพราะจากสถิติพบว่า โรคที่ว่านี้เป็นบ่อยมากในเพศหญิง และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โรคร้ายก็จะรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ ซึ่งมีหลายคนที่เสียชีวิตจากโรคนี้ไปแล้ว ถ้ายังไม่อยากเป็นเช่นนั้น มาทำความเข้าใจกับโรคตัวนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า

 

ไทรอยด์เป็นพิษ จะมีอาการดังต่อนี้

1. ชีพจรจะเต้นเร็ว

2. ใจร้อน หงุดหงิดง่าย

3. เหงื่อออกมาก

4. มือสั่น

5. ผมร่วง

6. ประจำเดือนผิดปกติ

ส่วนความผิดปกติทางกายภาพและเนื้องอกนั้น จะสังเกตได้จากการคลำ และการสังเกตจากคนรอบข้าง ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดมาจากอะไร

 

1450.1

 

1450.2

 

มีแนวโน้มว่าเพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากกว่าเพศชาย

คนไข้ส่วนใหญ่กว่า 80% จะเป็นเพศหญิง และส่วนหนึ่งก็เกิดจากพันธุกรรม และการขาดสารไอโอดีน เมื่อพูดถึงข้อบ่งชี้ของการเกิดโรคไทรอยด์นั้น สามารถบ่งชี้ได้ใน 2 ลักษณะ คือ

 

1. ไทรอยด์ที่ผิดปกติจากการทำงานของต่อมในไฮโปไทรอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการเซื่องซึม เชื่องช้า ชีพจรเต้นช้า

2. ถ้าไทรอยด์เป็นพิษ ชีพจรจะเต้นเร็ว ใจร้อน หงุดหงิดง่าย เหงื่อออกมาก มือสั่น ผมร่วง และ ประจำเดือนผิดปกติ

 

[ads]

 

ศ.คลินิก นพ.สุชาติ จันทวิบูลย์ แพทย์ที่ปรึกษาด้านการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวถึงต่อมไทรอยด์ว่า

“ต่อมไทรอยด์มีลักษณะคล้ายผีเสื้ออยู่บริเวณคอด้านข้างกล่องเสียงและด้านหน้าของหลอดลม ด้านซ้ายและขวา เชื่อมด้วยส่วนที่แคบ ที่เรียกว่า อีสมัส (Isthmus)

ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญอาหารของร่างกาย ส่งผลต่อสมอง หัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อทุกระบบในร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

1450.3

 

เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้โดยวิธีการ ดังนี้

1.  “การตรวจร่างกายประจำปี” ในกรณีที่เกิดความสงสัยให้เจาะเลือดเพื่อตรวจหาการทำงานของต่อมไทรอยด์

2. การรับประทานอาหารที่มีธาตุไอโอดีน

3. การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี

 

เมื่อวินิจฉัยว่ามีอาการป่วย หรือมีความผิดปกติจากต่อมไทรอยด์ สามารถรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การทานยา น้ำแร่รังสี และการผ่าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่ตรวจพบในแต่ละบุคคล

 

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการนี้เช่นกัน อย่านิ่งดูดายกับความผิดปกติของตัวเอง แต่รีบนำอาการนี้ไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาทางแก้ไขที่ถูกต้องจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก smartsme.tv

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: