ต้มจืดยอดมะรุม สุดยอดเมนูอาหารโปรตีนสูง กินลดไขมันในเลือด บำรุงตับ





ต้มจืดยอดมะรุม สุดยอดเมนูอาหารโปรตีนสูง กินลดไขมันในเลือด บำรุงตับ

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง 

• สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง 

• ใบคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับกัน 

• ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน 

• ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ 

• ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง 

• เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก

• ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

คุณค่าทางสารอาหาร

1. โปรตีนสูง เฉลี่ยแล้วมะรุมมีโปรตีนแซงหน้านมสดถึง 2 เท่า

2. อุดมไปด้วยวิตามินเอ เฉลี่ยแล้วมากกว่าแครอท 3 เท่า

3. แคลเซียมสูงกว่านมสดประมาณ 3 เท่า

4. โพแทสเซียมในมะรุมมีมากกว่ากล้วย 3 เท่า

5. ใยอาหารสูงมาก

6. แคลอรีต่ำ

7. อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมากถึง 8 ชนิด ได้แก่ ไอโซลิวซีน (ISOLEUCINE), ลิวซีน (LEUCINE), ไลซีน (LYSINE), เมไธโอนีน (METHEONINE), ฟีนิลอะลานีน (PHENYLALAINE), ทรีโอนีน (THREONINE), ทริทโอยีน (TRYTOHYAN) และกรดอะมิโนวาลีน (VALINE) ซึ่งล้วนแต่เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายผลิตขึ้นเองไม่ได้


[ads]

สรรพคุณของมะรุม

1. แทรกซึมอยู่แทบทุกส่วนของต้นมะรุม ไม่ว่าจะเป็นใบมะรุม ฝักมะมุม เปลือกต้น หรือรากมะรุม 

2. ใบมะรุมจะเป็นส่วนที่มีวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินบีสูงมาก รวมทั้งธาตุเหล็กก็สูงไม่แพ้กัน จนกระทั่งงานวิจัยต่างประเทศยังยกให้ใบมะรุมเป็นซูเปอร์ฟู้ดชนิดหนึ่งเลยทีเดียว

3. ตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด

4. เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ

5. ทำให้นอนหลับง่าย

6.  แก้ไข้

7. ลดไขมันในเลือด

8. บำรุงตับ

9. ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน

10. แก้อักเสบ

11. ช่วยลดความดันโลหิต เมื่อนำสารสกัดจากใบไปผสมน้ำและเอทานอล

12. ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

13. บำรุงกำลัง

14. บรรเทาอาการปวดข้อ

15. รักษาแผลเปื่อย

16.สารสกัดจากใบสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้

17. บำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้แข็งแรง

18. ต้านอนุมูลอิสระได้

19. น้ำคั้นสดของใบมะรุมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

20. สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

21. ช่วยบำรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร

22. ช่วยคงสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยให้อารมณ์คงที่


ข้อควรระวังในการกินมะรุม

1. ผู้ป่วยที่กินมะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหมั่นตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ตรวจพบว่ามีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น

2. สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังการรับประทานมะรุมในทุก ๆ ส่วนเพราะจากการทดลองความเป็นพิษในสัตว์ทดลองพบว่า การรับประทานมะรุมเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดการสะสมของสารบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นพิษและทำให้เกิดการแท้งได้


วิธีการนำมะรุมมาทำอาหาร

1. เด็ดยอดมะรุมอ่อนๆ รูดใบ เด็ดก้านอ่อน 

2.ต้มน้ำซุปใส่ปลาหมึกแห้งหรือกุ้งแห้งสักนิดเพื่อดึงความหอมของน้ำซุป ต้มจนเดือด

3. พอเดือดให้ทำหมูบะช่อให้ลอย 

4. ใส่ยอดและก้านมะรุมลงไป 

5. เหยาะพริกไทย กระเทียมเจียวโรยหน้า 

6. หากชอบรสหอมก็เติมผักชีลงไป 

7. เพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จ  เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ ก็ดูจะเข้ากัน

หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว ก็ได้ทราบถึงสรรพคุณของมะรุมกันไปแล้ว ซึ่งใบมะรุมต้องผ่านการสกัดใบมะรุมด้วยตัวทำละลาย เพื่อให้ง่ายต่อการป้อนสัตว์ทดลอง ดังนั้นหากคุณจะทานมะรุมสดๆสามารถช่วยรักษาโรคและบำรุงสุขภาพได้เช่นกัน แต่ก็อย่าหวังผลการรักษาที่มากเกินไป และไม่ควรรับประทานมะรุมในปริมาณมาก หรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไปจากประโยชน์จะกลายเป็นโทษแทน

 

 

______________________________________
เรียบเรียงและจัดทำหาข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com
[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: