ภัยเงียบของ “คนชอบอดนอน” ถ้ายังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม อาจเป็นแผลเรื้อรังแบบนี้ อันตรายมาก!





ใครจะไปรู้ได้ว่า คนเราร่างกายแข็งแรง กินได้นอนหลับ ตรวจสุขภาพเป็นประจำ แต่กลับมีเจ้าเชื้อไวรัสที่จะซ่อนอยู่ตามปมประสาทของเรานานไปจนตลอดชีวิตหลังจากเป็นอีสุกอีใสแล้ว’  

ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแอเมื่อไหร่ มีความเครียด หรืออดนอน ไวรัสตัวนี้ก็จะออกมาจู่โจมทำให้เกิดตุ่มพองใสที่เรียกว่า “งูสวัด” ทันที

 

โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส VZV ซึ่งเชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ตามประสาทใต้ผิวหนังหลังจากเป็นอีสุกอีใสและแฝง ตัวอย่างสงบเป็นเวลานานหลายปีจนถึงสิบๆ ปี รอจนวันที่ร่างกายของเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น

– อายุมาก

– เครียด

– อดนอน

– ติดเชื้อเอชไอวี

– เป็นมะเร็ง

 

เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดอาการปวด และเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวตามแนวเส้นประสาท

 

โรคนี้สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัส ระยะที่ติดต่อเป็นระยะช่วงที่มีผื่น ตุ่มน้ำใส และตกสะเก็ด ในรายที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ถ้าไปสัมผัสกับคนไข้ที่เป็นงูสวัดก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน

 

1432.2

 

อาการของโรคงูสวัด

1. เริ่มจากอาการเหมือนไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือเจ็บแสบร้อนบริเวณผิวหนัง

2. หลังจากนั้นจะเริ่มมีผื่นลักษณะแดง คัน เป็นทางยาวตามแนวประสาทของร่างกาย แต่ไม่กว้างมากนัก โดยมักเริ่มในแนวใกล้ๆ กลางลำตัวตามแนวปมประสาท เช่น ตามประสาทของลำตัว แขน ขา ตา และหู มักเกิดเพียงด้านเดียว โดยส่วนใหญ่จะพบที่ลำตัวบ่อยที่สุด

3. หลังจากเกิดผื่นได้ 1 วัน ผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส เมื่อตกสะเก็ดบางครั้งจะมีสะเก็ดสีดำๆ และประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะหายไปเองได้ และสามารถทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้

 

ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือกลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มนี้ผื่นจะรุนแรงมาก สามารถเป็นได้รอบตัว แต่ถ้าภูมิคุ้มกันปกติผื่นจะเป็นแค่ซีกเดียว

ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือรักษาไม่ทันเวลา หลังอาการที่ผิวหนังหายไปแล้วจะยังคงมีอาการเจ็บปวดอยู่ โดยเฉพาะคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป การฟื้นตัวของเส้นประสาทนั้นจะใช้เวลานาน ส่วนมากจึงยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องอีกหลายปี

 

[ads]

 

การรักษาโรคงูสวัด

1. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทาน ภายใน 2-3 วัน

2. สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือเป็นชนิดแพร่กระจายทั้งตัว แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

3. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดขึ้นที่ตา ควรรักษากับจักษุแพทย์ ซึ่งแพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทานและหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา แต่ยาที่ใช้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่จะทำให้การอักเสบสงบลง

 

สิ่งสำคัญที่สุดคือ การตรวจเจอแต่เนิ่นๆ ถ้าบริเวณที่เจ็บนั้นมีตุ่มพองขึ้นในบริเวณเดียวกัน ต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ยิ่งตรวจพบเจอเร็วก็สามารถใช้ยาต้านทานไวรัสไว้ได้ อาการเจ็บหลังเกิดโรคนั้นก็จะเกิดขึ้นได้ยาก

 

1432.1

 

การดูแลรักษาด้วยตัวเอง

1. ในระยะที่เป็นตุ่มน้ำใสให้รักษาแผลให้สะอาด โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือกรดบอริค 3 % ปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วชุปเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง

2. ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่ จะเข้าสู่แผลได้ ควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ

3. ถ้าปวดแผลมาก สามารถทานยาแก้ปวดได้

4. ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัด เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และ กลายเป็นแผลเป็นได้

5. ไม่ควรเป่าหรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้าและกลายเป็นแผลเป็นได้

 

1432.4

 

วิธีป้องกันงูสวัด

1. วิธีที่ดีที่สุดคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และออกกำลังกายเป็นประจำ

2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่นในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัด โดยเฉพาะคนไข้ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส

3. ในบางรายอาจจะใช้การฉีดวัคซีนได้ โรคเริม กับ

 

 

ถือว่าน่ากลัวไม่น้อยสำหรับโรคงูสวัด ซึ่งถือเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย การป้องกันการเป็นงูสวัดที่ทำได้ดีที่สุดคงเป็นการพยายามรักษาสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรง และพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็น่าจะปลอดภัยแล้ว

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก dedduang.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: