รู้ไว้ก่อน!! ทำไงดีเมื่อรถเบรกแตก..ถ้าถึงวันนั้นจะได้รอดและปลอดภัย ?





ปัญหาบนท้องถนนที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเราก็คือ “ปัญหาเบรคแตก” ซึ่งสามารถนำพาความเสียหายมาให้เราได้อย่างมากมาย  เมื่อเบรกไม่สามารถทำงานได้จะต้องมีข้อควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้รอดทั้งรถและทั้งคน ตามมาดูเลยค่ะ

 

อาการร้ายแรงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนได้บ่อยๆ ก็คือ รถเกิดอาการเบรกแตกหรือเบรกไม่อยู่ ซึ่งสามารถแบ่งอาการได้ดังต่อไปนี้

1. เมื่อเหยียบเบรกจนจมติดแล้ว แล้วเหยียบเบรกซ้ำอีกครั้งจะพบว่าช่องว่างระหว่างคันเหยียบกับพื้นค่อยๆ เพิ่มขึ้น แล้วรถจึงสามารถหยุดได้เต็มที่ แบบนี้เรียกว่าอาการยังไม่หนักมาก

2. เมื่อเหยียบเบรกจมแล้ว พยายามเหยียบเบรกซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง แต่ปรากฏว่าเบรกไม่สูงขึ้นเลย รวมทั้งรถก็ไม่สามารถหยุดได้ แบบนี้เรียกว่าอาการหนัก

 

1373.3

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเบรกแตก

1. ตั้งสติให้ดี  คิดให้เร็ว หาทางลดความเร็วให้ช้าลง พยายามหาช่องว่างชิดซ้ายในทันที

 

2. ลดคันเร่งและความเร็ว เครื่องยนต์มีแรงเสียดทาน โปรดใช้มันให้เป็นประโยชน์ โดยให้ทำการ Engine  Brake ที่เครื่องยนต์จะทำให้เกิดการหน่วง และช่วยให้ลดความเร็วได้อย่างกะทันหัน ซึ่งคุณสามารถทำได้ โดยเหยียบคลัทช์ ลดตำแหน่งเกียร์ ส่วนในเกียร์อัตโนมัติใช้วิธีกดปุ่ม Overdrive on หรือ สับตำแหน่ง เกียร์ จาก D มาเป็น 3 อย่าเปลี่ยนมาเป็นเกียร์ L โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เครื่องยนต์พังได้

 

3. จับพวงมาลัยให้มั่น ค่อยๆชิดซ้าย เมื่อเราลดเกียร์ลงรถจะยังไม่หยุดสนิท ให้พยายามชิดซ้ายเข้าข้างทาง หากมีรถกีดขวางให้บีบแตรเพื่อส่งสัญญาณ พร้อมเปิดไฟฉุกเฉินไปพร้อมกัน

 

4. ใช้เบรคมือ เบรคมือจะช่วยลดความเร็วที่ล้อหลัง โดยมันสามารถช่วยหน่วงและชะลอได้บ้าง แต่ระวังอย่าดึงเบรกมือตั้งแต่รถยังขับไว รอให้รถชะลอความเร็วและให้ค่อยๆ ดึงขึ้นจนสุดอย่างช้าๆ จะช่วยลดความเร็วได้บ้างอย่างปลอดภัย

1373.1

 

5. มื่อเบรกแตกในทางลาดชันหรือในขณะลงเขา สิ่งสำคัญคือ ต้องลดความเร็วให้มากกว่าทางปกติ เพราะการลงเขาจะทำให้รถวิ่งเร็วขึ้น การชะลอรถควรเริ่มที่การลดเกียร์ต่ำลงก่อน แต่ให้งดการใช้เบรกมือจนกว่าจะถึงช่วงที่มีความชันน้อย จะไม่ทำให้เกิดความร้อนที่มากเกินไป

 

6. ในกรณีที่รถยังวิ่งต่อไม่ยอมหยุด ห้ตัดสินใจไว้เลยว่าจะไม่หลบ แต่ขอเลือกชนเอง เพราะจะช่วยลดการบาดเจ็บและความเสียหายได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวังอย่าให้หน้ารถปะทะหรือชนกับสิ่งที่จะเกิดอันตรายจากการชนเด็ดขาด

 

7. เลี่ยงการปะทะโดยตรง หากจำเป็นต้องหยุดรถ ควรเลือกกำแพงหนาๆ  โดยให้เอาสีข้างรถเฉียดเข้าไปเพื่อให้เกิดการเสียดสี จะเป็นการช่วยหยุดรถได้บ้าง หรือถ้าพบลานหรือสนามกว้างๆ ให้นำรถลงไปทันที

 

[ads]

 

1373.2

 

การตรวจสภาพเบรกมือแบบง่ายๆ ด้วยตนเอง

คุณสามารถตรวจสอบเบรกด้วยตัวเอง โดยการขับรถขึ้นบนเนินสูงๆ หรือคอสะพานที่ค่อนข้างชัน และทำตามขั้นตอนดังนี้

1. เหยียบเบรกให้สุด

2. ปลดเกียร์ไว้

3. ต่อด้วยการดึงเบรกมือขึ้นจนสุด

4. แล้วจึงค่อยถอนเท้าออกจากเบรกที่เหยียบไว้ จากนั้นตรวจสอบดูว่า รถยังไหลอยู่หรือไม่ ถ้าใช่ก็ถึงเวลาต้องไปเช็กเบรกมือแล้วละค่ะ

 

เพิ่มเติม : การดึงเบรกมือจนสุดนั้น ตามปกติแล้วจะประมาณ 4 จังหวะ แต่ถ้าคุณดึงจนสุดแล้วอยู่ราวๆ 7-8 แก๊ก ก็แสดงว่าเบรกมือคุณอาจมีปัญหาแล้ว ถึงเวลานำไปเช็กสภาพได้แล้วละค่ะ

 

การขับรถแล้วมีปัญหาเบรคแตก นับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น  สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ “การมีสติ” เพราะมันจะช่วยให้คุณตัดสินใจทำในสิ่งที่ควรจะทำได้ แล้วคุณจะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

มากไปกว่านั้น ก็คือการตรวจสอบสภาพการใช้งานของเบรก รวมทั้งระบบอื่นๆของรถยนต์ ให้อยู่ในสภาพการใช้งานที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องขับรถในระยะทางไกล ทั้งนี้ ก็เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ของพวกคุณทุกคนนั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก kaijeaw.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: