เสียเวลาอ่านสักนิด ความเครียด บ่อกำเนิดโรคร้ายที่หลายคนมองข้าม





cover19

ในสภาวะสังคมที่มีแรงกดดันรอบด้าน ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องแบกรับความเครียดที่ต้องเผชิญอย่างหย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนเมื่อรู้ว่าตัวเองเครียดก็มีวิธีรับมือกับความเครียด แต่สิ่งที่น่ากลัวคือหลายคนไม่รู้ตัวว่าตนกำลังเครียด หรือเกิดความเคยชินต่อความเครียดนั้นคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ทำให้ละเลยสัญญาณที่ร่างกายส่งเตือนและดำเนินชีวิตอยู่บนความเสี่ยงจนเกิดโรคร้ายอื่นๆตามมา

นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลนครธน ระบุว่า กว่า 80% ของโรคเกิดจากจิตใจ เพราะเมื่อเกิดความเครียดจิตจะส่งสัญญาณไปยังสมองให้หลั่งฮอร์โมน ซึ่งก่อให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบต่างๆทำให้เกิดอาการปวดหัว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง รู้สึกเหนื่อยหายใจไม่เต็มอิ่ม จุกเสียดแน่นท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก และภูมิต้านทานต่ำติดเชื้อง่าย

อาการเหล่านี้เมื่อไปพบแพทย์ส่วนใหญ่จะตรวจหาสาเหตุไม่พบทำได้เพียงรักษาตามอาการ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด สิ่งสำคัญคือต้องคอยสังเกตภายในตัวเอง ยอมรับว่าความเครียดเป็นต้นเหตุสำคัญ และเริ่มหาทางรับมือซึ่งมีหลายวิธีทั้งการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ การหัวเราะ สุนทรียศาสตร์บำบัด การสวดมนต์ทำสมาธิ ฯลฯ ต่างเป็นวิธีที่ได้ผลเพียงเลือกให้เหมาะกับเรา เมื่อไม่อาจหนีพ้นจากความเครียดก็จงเครียดอย่างฉลาดโดยเปลี่ยนความเครียดเป็นพลังไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า เริ่มง่ายๆ ด้วยการรู้ตัวว่ากำลังเครียด

[ads]

cancer-101-s1-what-is-cancer-cell

ความเครียดกับโรคมะเร็ง

แพทย์หญิงกฤตชญา ฤทธิ์ฤาชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้ความรู้ว่า

“ความเครียดมักเกิดขึ้นเมื่อเราต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ตนเองไม่สามารถจัดการได้ และทันทีที่เกิดความเครียดร่างกายของคนเราก็จะตอบสนองด้วยการสร้างฮอร์โมน อันได้แก่ อีพิเนฟริน (Epinephrine) หรือ อดรีนัลลีน (Adrenaline) และ คอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น และระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น เป็นผลให้คนเราเกิดความตื่นตัว แข็งแรงและมีพลังพร้อมรับกับสถานการณ์ จึงนับว่าความเครียดเล็กๆ น้อยๆ เป็นประโยชน์ที่ทำให้เราตื่นตัวกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตประจำวัน

“แต่ในทางกลับกัน หากความเครียดนั้นกินระยะเวลายาวนานมีความรุนแรงมากกว่าปกติ ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ รวมถึงโรคอื่นๆอีกหลายโรค ปัญหาสุขภาพจิตก็เกิดขึ้นตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล

“นอกจากนี้ความเครียดจะนำไปสู่พฤติกรรม หรือการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมาะสมอย่างการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติดอื่นๆ รวมถึงพฤติกรรมการกินอาหารที่มากเกินไป ซึ่งส่งผลให้อัตราความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมีมากขึ้น”

ไม่เพียงเท่านี้ การศึกษาทั้งในคนและสัตว์หลายแห่งพบว่า ความเครียดที่เรื้อรังจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลงซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ทั้งการศึกษาในสัตว์ยังพบว่า ฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือดจากการกระตุ้นของระบบประสาทมีผลรบกวนกระบวนการของเซลล์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งอีกด้วย

“โดยสรุปแล้ว ผลของความเครียดต่อการเกิดมะเร็งนั้น มีความสัมพันธ์ในการเป็นปัจจัยร่วมให้เกิดความเสี่ยง ทั้งยังส่งผลให้มะเร็งขยายขนาดและลุกลาม แม้ยังไม่พบความสัมพันธ์ที่แน่ชัดว่าจะทำให้เกิดได้โดยตรง แต่สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกอยู่เสมอก็คือเราต้องรู้จักจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่ให้ส่งผลร้ายต่อตัวเราค่ะ” คุณหมอกฤตชญากล่าว

ดังนั้นความเครียดที่มากเกินไป ทำร้ายคุณได้มากกว่าความทุกข์ใจ และอาการนอนไม่หลับนะคะ ทำใจให้ปล่อยวางในเรื่องร้าย หากิจกรรมที่คุณชอบทำบ้าง เพื่อสุขภาพใจจะได้ไม่ส่งผลต่อกายจนโรคร้ายถามหาค่ะ

[ads=center]

 

เรียบเรียงโดย : Thaijobsgov.com
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.cheewajit.com, http://www.dmh.go.th
รูปภาพจาก : www.medicinenet.com, www.drorestesg.com, rechargehq.com.au

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: