รู้ก่อนสาย!! อาการเท้าบวม สัญญาณเตือน 7 โรคร้ายนี้…!!


รู้ก่อนสาย!! อาการเท้าบวม สัญญาณเตือน 7 โรคร้าย
อาการเท้าบวมนั้น จริงๆ แล้วเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน หากเท้าของคุณไม่ได้รับอุบัติเหตุใดๆ แต่เกิดบวมขึ้นมานั้น ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและตรวจอาการต่อไป เพราะนั่นอาจจะเป็นอาการของโรคดังต่อไปนี้
1. โรคไต สังเกตได้เวลาตื่นนอนหรือช่วงบ่ายๆ หรือมีกิจกรรมในท่ายืนนานๆ จะมีอาการบวมรอบตา บวมหน้า บวมเท้า สังเกตได้ว่าแหวนหรือรองเท้าที่เคยใส่จะคับขึ้น เมื่อใช้นิ้วกดที่มือ และเท้าจะมีรอยกดบุ๋ม
2. โรคหัวใจ อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือโซเดียม และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย อาจเกิดจากโรคหัวใจบางชนิด เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม
3. โรคตับ สาเหตุสำคัญเกิดจากภาวะโปรตีนต่ำในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนชนิดอัลบูมิน ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการดึงน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือด โรคตับในระยะท้ายทุกชนิดทำให้เกิดอาการบวม และพบได้บ่อยที่สุดในโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
4. โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน มักเกิดกับผู้ประกอบอาชีพที่ใช้ขาทั้งสองข้างยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ อย่างน้อยวันละ 4-6 ชั่วโมง การยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการขาบวม เท้าบวม และปวดขา ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อขาเมื่อยล้า อาการดังกล่าวถือเป็นอาการเริ่มต้น หรือสัญญาณเตือนของการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดดำอาจมากขึ้นจนเห็นได้ชัด เช่น เส้นเลือดขอดอักเสบ แผลเรื้อรัง อาจเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น
5. โรคเท้าช้าง คนที่มีอาการมักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อม และท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวร และผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาจะบวมแดง และเมื่อเป็นนานๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณนี้หนา และขรุขระ ขาจะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ
6. โรคติดเชื้อ การติดเชื้อจากโรคต่างๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการบวมได้เช่นกัน
7. โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าต์ เอ็นอักเสบ พังผืดอักเสบ
ข้อมูลเพิ่มเติมสำคัญ ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
1. เท้าที่บวมมีอาการปวด แดง หรือร้อน ร่วมด้วยหรือไม่ หรือลองกดดูว่าเจ็บหรือไม่
2. เท้าบวมทั้งสองข้าง หรือข้างเดียว
3. บวมเฉพาะที่หลังเท้า หรือบวมเลยขึ้นมาถึงหน้าแข้ง
4. บวมเวลาใดมากเป็นพิเศษ เช่น ตอนเช้าตื่นนอนไม่ค่อยบวม ตกเย็นจะบวมมาก หรือว่าบวมเท่าๆ กันทั้งวัน
หากใครที่มีอาการเท้าบวมก็ลองสังเกตอาการตัวเองดู ว่ามันบวมเพราะสาเหคุอะไร หรือหากหาสาเหตุไม่ได้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างละเอียดต่อไป อย่าปล่อยไว้นาน เพราะหากไปรับการรักษาไม่ทันอาจจะเป็นอันตรายได้
______________________________________
เรียบเรียงและจัดทำหาข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com
อ้างอิง...หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ