ขับรถเกียร์ออโต้ต้องรู้ ! 8 สิ่งห้ามทำถ้าไม่อยากให้ “เกียร์พัง” ก่อนเวลา





รถยนต์เกียร์ออโต้ หรือเกียร์อัตโนมัติ เป็นรูปแบบของรถยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เหมาะแก่การใช้ในเมืองที่มีสภาพการจราจรหนาแน่น แต่ก็มีความถึกได้ไม่เท่ากับเกียร์กระปุกแบบเก่า

หากไม่ต้องการให้เกียร์ออโต้เสียก่อนเวลาอันควร มาทราบวิธีการขับขี่เกียร์ออโต้ที่ถูกต้องก่อนดีกว่า อะไรบ้างที่ไม่ควรทำถ้าไม่อยากต้องเปลี่ยนเกียร์ทั้งชุด

 

1. ไม่เหยียบเบรกก่อนสตาร์ท หรือเปลี่ยนเกียร์

วิธีที่ถูกต้องที่สุด คือ การเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตารท์รถ เพื่อป้องกันอันตรายถึงแม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง(P)หรือ(N)ก็ตาม และที่สำคัญคือ การเหยียบเบรคทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จากเกียร์ว่าง( N ) หรือเกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) ความจริงแล้วกรณีนี้ไม่อันตรายต่อเกียร์เท่าไหร่นัก แต่ เหยียบเบรกไว้ก่อนอุ่นใจกว่า รถจะได้ไม่พุ่งไปโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว

 

1286.1

 

2. ไม่รอรถหยุดสนิทก่อนเปลี่ยนเกียร์

ถ้าคุณเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเดินหน้า (D) ไปเป็นตำแหน่งถอยหลัง (R) หรือเปลี่ยนจากตำแหน่งถอยหลัง (R) ไปเป็นตำแหน่งเดินหน้า (D) ควรรอให้รถหยุดสนิทก่อน อย่าใจร้อนและทำตอนที่รถยังคงเคลื่อนที่อยู่ เพราะจะทำให้เกียร์มีอายุการใช้งานสั้น ต้องเสียค่าซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในราคาสูง

 

 

3. เข้าเกียร์ N ขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่

หลายคนชอบเข้าาเกียร์ (N)  ในขณะที่รถกำลังวิ่งและเห็นว่าข้างหน้าใกล้จะต้องหยุดรถเพราะมีไฟแดง และคิดว่าวิธีนี้จะช่วยประหยัดน้ำมันมากกว่า แต่ทราบไว้เลยว่า การทำเช่นนี้เป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเกียร์ของท่าน เนื่องจากในขณะที่รถยนต์ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เกียร์ที่อยู่ในตำแหน่ง D จะมีปั้มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลาแต่ปั้มน้ำมันของเกียร์อัตโนมัติจะทำงานน้อยลงเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N เมื่อไม่มีแรงดันที่พอเพียงจะดันน้ำมันไปหล่อลื่นเกียร์อย่างเพียงพอ จะทำให้เกียร์ออโต้ร้อน และเกิดการสึกหรอง่ายตามมา

 

 

4. เร่งเครื่องก่อนเข้าเกียร์

คนใจร้อนมักจะเร่งเครื่องในขณะเข้าเกียร์ P หรือ N พอเปลี่ยนเกียร์เป็น D รถก็จะแล่นไปเลย แต่ทำแบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะ การเร่งเครื่องก่อนเข้าเกียร์จะทำให้เกียร์กระตุกแรงและเสียหายได้ และถ้าเร่งแรง ๆ จะเกิดอันตรายได้อย่างง่ายดาย เหยียบเบรกก่อนเข้าเกียร์ทุกครั้งปลอดภัยที่สุด

 

[ads]

 

5. ใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่ขับรถด้วยความเร็วสูง

การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ต้องระมัดระวังให้มาก เหมาะที่จะใช้งานในกรณีที่ต้องการแรงบิดมากๆเท่านั้น เช่น ทางขึ้นหรือลงเนินที่ค่อนข้างชัน เป็นต้น ทราไว้เลยว่า ห้ามใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่คุณขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ใช้รอบเครื่องสูงตามไปด้วย จนอาจเกินขีดจำกัดและก่อให้เกิดความเสียหายได้ ไม่แน่ว่ารถอาจจะลื่นไถลเนื่องจากเกิดแรงบิดมหาศาล ทำให้รถเสียการทรงตัวได้

 

 

6. ขับลากเกียร์

รถยนต์เกียร์อัตโนมัติจะควบคุมให้ปรับเปลี่ยนเกียร์ขึ้นลงตามความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่บางท่านรู้มากและมักจะใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ขึ้นลงเองในขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุดเพื่อเร่งเครื่องให้ไวตามใจชอบ การทำเช่นนี้จะมีผลทำให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง

 

1286.2

 

7. ไม่ตรวจเช็คน้ำมันเกียร์

น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ เป็นหัวใจสำคัญของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถให้ยาวนาน จึงควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด และเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่แนะนำ

 

 

8. ใส่เกียร์ P ทุกครั้งที่หยุดรถ

ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนี้ทุกครั้ง ให้ทำเฉพาะกรณีที่จอดบนทางลาดชันนาน ๆเท่านั้น  หรือถ้าจะให้ดีแค่ใส่เกียร์ N แล้วดึงเบรกมือไว้ก็ได้  เพราะการที่ใส่เกียร์ P ทุกครั้งที่หยุดรถอาจทำให้ระบบเกียร์เสียหายเร็วขึ้นได้

 

 

อีกสิ่งที่ควรรู้เมื่อจำเป็นต้องลากรถไปอู่เมื่อเกียร์ออโต้เสีย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไป เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะที่ทำการลากจูง

แต่ถ้าหาน้ำมันเกียร์ไม่ได้ ควรยกให้ล้อรถให้ลอยพ้นพื้นถนน โดยอาจต้องใช้รถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออน ที่สามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลังได้ เพื่อความปลอดถัยของรถยนต์ราคาแพงของคุณ

 

ขอให้มีความสนุกและขับรถเกียร์ออโต้ปลอดภัยทุกท่านนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก st.ac.th

 

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: