6 วิธีป้องกันและเอาตัวรอดจากฟ้าผ่าที่ทุกคนควรรู้





 

6 วิธีป้องกันและเอาตัวรอดจากฟ้าผ่าที่ทุกคนควรรู้

สัมผัสความตื่นเต้นของการเล่นด้วยโบนัสหมุนฟรีของคุณเองที่พอร์ทัลการพนันของเรา คาสิโนออนไลน์ใหม่ที่น่าตื่นเต้น ด้วยเกมที่มีให้เลือกมากกว่า 500 เกม คุณจะพบกับเกมที่จะทำให้คุณเพลิดเพลินได้นานหลายชั่วโมงอย่างแน่นอน! นอกจากนี้ โบนัสฟรีสปิน thaionlinecasino.org/casino-bonuses/free-spins/ของเรายังมอบโอกาสให้คุณชนะรางวัลใหญ่โดยไม่ต้องเสี่ยงกับเงินของคุณเอง เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับประสบการณ์การเล่นเกมที่หรูหราด้วยการหมุนหรือข้อเสนอฟรีของเรา! ดังนั้นสิ่งที่คุณรอ? เล่นที่เว็บไซต์ของเราและใช้ประโยชน์จากโบนัสฟรีสปินที่เป็นตัวเอกของเราวันนี้!
อย่าลืมตรวจสอบโปรโมชั่นอื่นๆ ของเรา เรามีโบนัสและรางวัลที่ยอดเยี่ยม ทั้งหมดนี้ออกแบบมาเพื่อให้ประสบการณ์คาสิโนออนไลน์ของคุณสนุกยิ่งขึ้น ลงทะเบียนตอนนี้และเริ่มเล่นด้วยโบนัสหมุนฟรีที่เว็บไซต์ของเรา! คุณจะไม่เสียใจเลย!

cover08

 ฟ้าผ่านั้นเกิดจากความพยายามลดความต่างศักย์ระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน เนื่องจากก้อนเมฆได้สะสมประจุไว้ในลักษณะไฟฟ้าสถิต จนมีน้ำหนักมากขึ้นจะเคลื่อนตัวลงเข้าใกล้พื้นดินทำให้เกิดความต่างศักย์ขึ้น โดยสนามไฟฟ้าสถิตที่กระทำระหว่างก้อนเมฆและพื้นดินจะเพิ่มขึ้น และปรากฏการณ์ฟ้าผ่าจะเกิดในช่วงเปลี่ยนฤดู จากการเปลี่ยนแปลงระหว่างอากาศแห้งกับอากาศชื้น ทั้งจากฤดูร้อนไปฤดูฝน และจากฤดูฝนไปฤดูหนาว เมื่อมีฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามีวิธีป้องกันและเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ฟ้าผ่าอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

1.อย่าเข้าไปในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
วิธีเลี่ยงที่ดีที่สุดคืออย่าเข้าไปในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าอยู่ใกล้ต้นไม้สูง และพยายามหลบเข้าอาคาร หาที่กำบังที่เป็นลักษณะอาคาร แต่ถ้าติดอยู่ในที่โล่งแจ้งก็ให้ทำตัวเองให้เตี้ยที่สุด รวมถึงหลีกเลี่ยงการพกพาสื่อนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะ พร้อมทั้งให้ข้อสังเกตว่า หากเห็นสายฟ้าแลบ ฟ้าผ่าในลักษณะตรงๆ หรือเอียงไม่เกิน 45 องศา แสดงว่าพายุกำลังเคลื่อนตัวมาหาเรา หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง แต่ถ้าลักษณะฟ้าแลบ ฟ้าผ่าเอียงเกิน 45 องศา แสดงว่าพายุกำลังเคลื่อนตัวหนีจากตำแหน่งที่เราอยู่

2.อยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้าปลอดภัยกว่าอาคารที่ไม่มีสายล่อฟ้า
วิธีป้องกันตัวเราจากฟ้าผ่าได้ดีที่สุดคือ การอยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้าระหว่างเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่า แต่การอยู่ในอาคารที่ไม่มีสายล่อฟ้าก็จะไม่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากฟ้าผ่าได้เลย ส่วนการขับรถหรืออยู่ในรถระหว่างมีฟ้าร้องฟ้าผ่านั้น เชื่อว่ามีโอกาสถูกฟ้าผ่าได้น้อย ซึ่งน่าจะเพราะเป็นรถยนต์มีโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ดีนัก
“โดยทั่วไปแล้วโลหะทั้งหลายจะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เช่น เงินและอลูมิเนียม หากเราสวมหรือถืออุปกรณ์โลหะเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นจี้หรือสร้อยโลหะ หรือแม้กระทั่งร่มที่มีปลายโลหะยอดแหลมในที่โล่งแจ้ง เช่น กลางทุ่งนา ในระหว่างที่เกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าก็มีโอกาสเกิดฟ้าผ่าได้ ทั้งนี้ต้นไม้ใหญ่กลางที่โล่งแจ้งก็มีโอกาสชักนำให้เกิดฟ้าผ่าได้มากเช่นกัน ซึ่งฟ้าผ่ามักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงรอยต่อฤดูกาลคือ รอยต่อระหว่างฤดูร้อนและฤดูฝนที่มีโอกาสเกิดมากที่สุด และรอยต่อระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว”

3.ไม่ควรเปิดทีวีระหว่างฟ้าร้องฟ้าผ่า
ไม่ควรใช้เครื่องไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าว่าและไม่ควรเปิดโทรทัศน์โดยเด็ดขาดเพราะอาจเกิดฟ้าผ่ามาที่เสาอากาศนอกบ้านซึ่งเชื่อมต่อกับโทรทัศน์ หากเกิดฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าปริมาณสูงจะไหลเข้าที่โทรทัศน์มาก ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และได้รับความเสียหายได้ เว้นแต่โทรทัศน์ที่มีการต่อสายดิน ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง
ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้าน อาทิ วิทยุ คอมพิวเตอร์ ก็ไม่น่าจะเกิดฟ้าผ่าได้ เพราะไม่มีเสาอากาศคอยรับประจุไฟฟ้าจากอากาศ เว้นแต่จะนำไปใช้กลางแจ้ง ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างโทรศัพท์มือถือ หากพูดสายขณะที่มีฟ้าร้องฟ้าผ่าก็มีโอกาสที่จะถูกฟ้าผ่าได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงงดใช้ในเวลาดังกล่าว

[ads]

 4.หากอยู่ที่โล่งให้นั่งยองๆ ขาชิดกัน
ดร.คมสัน เพ็ชรรัตน์ หัวหน้าห้องจำลองฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า อยู่ในบ้านหรือในอาคารและเลี่ยงไม่อยู่กลางแจ้งก็เพียงพอแล้วสำหรับการป้องกันตัวเองจากภัยฟ้าผ่า และการอยู่ในรถยนต์ก็ปลอดภัยพอสมควร ส่วนกรณีที่อยู่กลางแจ้งและไม่สามารถหาที่ที่เหมาะสมกว่าได้ ก็ให้นั่งทำตัวอยู่ต่ำมากที่สุดคือ นั่งยองๆ ขาชิดกันที่พื้น แต่ห้ามนอน ซึ่งวิธีนี้ก็จะลดความเสี่ยงได้มาก เพราะจะช่วยลดค่าความต่างศักย์ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
“ตามสถิติฟ้าผ่ารุนแรงที่สุดจะมีกระแสไฟฟ้ามากถึง 2 แสนแอมแปร์ โดยทั่วไปหากคนเราโดนฟ้าผ่าก็จะตายสถานเดียว เพราะจะมีความร้อนจำนวนมากไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายไปพร้อมๆ กับกระแสไฟฟ้า ทำให้น้ำในเซลล์ระเหยออกมาและทำให้เซลล์แห้งตาย โดยหากกระแสไฟฟ้าไหลเข้าหัวใจๆ เซลล์หัวใจก็จะไหม้และหัวใจจะหยุดเต้น จึงไม่สามารถจะช่วยชีวิตได้ ส่วนในรายที่โชคดีจริงๆ ซึ่งรอดจากฟ้าผ่าได้ ก็เนื่องมาจากกระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลเข้าสู่ร่างกายหรือไหลเข้าสู่ร่างกายน้อย แต่กระแสไฟฟ้าส่วนมากจะไหลจากผิวหนังไปลงดิน ทำให้มีบาดแผลเป็นรอยไหม้ที่ผิวหนังเท่านั้น

 5.เก็บ “มือถือ” สื่อล่อฟ้า
ไม่ควรพกพาวัสดุวัสดุที่เป็นโลหะ เนื่องจากจะมีโอกาสถูกฟ้าผ่าได้มาก ส่วนโทรศัพท์มือถือก็เป็นสื่อล่อฟ้า เนื่องจากมีแผ่นโลหะ สายอากาศและแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนผสมของโลหะ วิธีที่ดีที่สุดคืออย่าอยู่ในที่โล่งแจ้ง หากอยู่ในที่โล่ง เช่น สนามกอล์ฟ ให้รีบกลับเข้าอาคาร ซึ่งการอยู่ในรถยนต์หรืออาคารจะปลอดภัยที่สุด โดยเฉพาะอาคารที่มีระบบป้องกันฟ้าผ่า     

lightning-strikes-tree-video-june-2014   

6. ไม่ควรอยู่ใต้ต้นไม้ในขณะฟ้าร้องหรือฟ้าผ่า
ส่วนใหญ่แล้วฟ้ามักจะผ่าลงที่สูง การหลบอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่จึงไม่ปลอดภัย ขณะเกิดฟ้าผ่าใต้ต้นไม้ใหญ่จะมีแรงดันที่พื้นดิน ทำให้คนที่อยู่ใต้ต้นไม้ได้รับอันตรายเนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านขาข้างหนึ่งไปยังขาอีกข้างหนึ่ง ทำให้เกิดอาการ“ช็อก” เนื่องจาก “แรงดันระยะก้าว” ซึ่งเกิดจากการไหลของแรงดันในดิน ทำให้เกิดความต่างศักย์ในร่างกายและเป็นแรงดันที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น ทั้งนี้ขณะเกิดฟ้าผ่าคนเราจะได้รับอันตรายจาก 3 ปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาเชิงกลซึ่งทำให้เรากระเด็น ปฏิกิริยาทางความร้อนซึ่งทำให้ผิวหนังไหม้ และปฏิกิริยาไฟฟ้าซึ่งทำให้หัวใจหยุดเต้น

[ads=center]

 

เรียบเรียงโดย : Thaijobsgov.com
ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th
รูปภาพจาก : www.informationng.com,

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: