แก่ไม่แก่ก็ทานได้! 10 อาหารต้านความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด





ผู้สูงอายุที่บ้านของคุณมีใครเจ็บป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือดบ้างไหมค่ะ? โรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆกับคนที่มีอายุมาก เนื่องจากช่วงวัยที่มากขึ้นย่อมส่งผลให้หลอดเลือดอ่อนแอลง การรับประทานอาหารจึงสำคัญมากๆที่จะช่วยทำให้สุขภาพของกลุ่มคนเหล่านี้แข็งแรง ไม่เกิดเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตอย่างฉับพลัน อาหารใดบ้างที่ควรทานเอาไว้ให้มากๆเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ตามมาดูกัน

 

1219.1

 

ภญ. ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความรู้เรื่องนี้แก่พวกเราว่า

สารอาหารสำคัญที่คนสูงอายุควรได้รับในปริมาณที่มากเพียงพอ ก็คือ “โพแทสเซียม” แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆทำงานได้อย่างคล่องตัว ไม่ว่าจะเป็น การช่วยระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูง รวมลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ผู้สูงวัยมักเป็นกันบ่อยๆด้วย

 

1219

 

ในคนปกติที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณ 4.7 กรัมต่อวัน (ข้อมูลจาก Food and Nutrition Board, Institute of Medicine) ซึ่งจากการสำรวจยังพบว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยังได้รับปริมาณโพแทสเซียมต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ!! หากไม่ต้องการให้ร่างกายอ่อนแอ มาเสริมโพแทสเซียมด้วยอาหารต่อไปนี้กันเถอะค่ะ

 

หากทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณ 100 กรัม คุณจะได้รับโพแทสเซียมสูงเท่ากับ

1. ผงโกโก้ 1.5 กรัม

1219.3

 

2. ลูกพรุน (อบแห้ง) 1.1 กรัม

1219.4

 

3. ลูกเกด 892 มิลลิกรัม

1219.5

 

4. เมล็ดทานตะวัน 850 มิลลิกรัม

5. อินทผาลัม 696 มิลลิกรัม

6. ปลาแซลมอน 628 มิลลิกรัม

7. ผักโขม (สด) 558 มิลลิกรัม

8. เห็ด 484 มิลลิกรัม

9. กล้วย 350 มิลลิกรัม

10. ส้ม 181 มิลลิกรัม

 

[ads]

 

มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่า “กลุ่มประชากรที่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูง จะมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย” และยังพบอีกด้วยว่า “การได้รับโพแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ได้ถึง 30%”

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรระวังหรือข้อยกเว้นในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เรื่องความบกพร่องในการขจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เบาหวานและภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ควรได้รับโพแทสเซียมน้อยกว่า 4.7 กรัมต่อวัน

 

ก่อนที่จะเลือกอาหารรับประทานใดๆ ควรตรวจสอบให้รู้ก่อนว่าสภาพร่างกายของตัวเองเป็นอย่างไร บกพร่องหรือได้รับสารอาหารตัวไหนมากเกินไป เพื่อที่เราจะได้เติมเต็มหรือลดทอนให้เกิดความเหมาะสม ร่างกายของเราจะได้แข็งแรงตลอดไป

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก rak-sukapap.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: