เป็นแผลต้องระวัง!  “แบคทีเรียกินเนื้อ”  ร้ายแรงถึงตาย เบาหวาน ตับแข็ง เสี่ยงสูงมาก





การติดเชื้อของแบคทีเรียที่ผิวหนังอาจฟังดูไม่น่ากลัว เพราะน่าจะสามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก แต่สำหรับการติดเชื้อในระดับชั้นตั้งแต่หนังกำพร้าจนถึงชั้นไขมันส่วนบน อาจจะก่อให้เกิดโรคไฟลามทุ่งและส่งผลต่อการติดเชื้อลงไปลึกถึงชั้นไขมันส่วนล่างได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะแก้ไขได้ยากมากขึ้น

 

แบคทีเรียกินเนื้อ ที่เราจะกล่าวถึงกันในที่นี้ หมายถึง การติดเชื้อของแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นลึกถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะมีอาการรุนแรง มีไข้ ปวดบวม แดงร้อนและอาการอักเสบร่วมด้วย ที่สำคัญสามารถทำให้เสียชีวิตได้เลย

 

Real microphotography of  Streptobacillus bacteria similar to an Anthrax pathogen 

 

สาเหตุ             

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดการอักเสบแบบมีเนื้อตายที่ผิวหนังตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้าถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ

โรคนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยดังต่อไปนี้

1. บุคคลที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

2. บุคคลที่มีโรคเบาหวานหรือโรคตับแข็งร่วมด้วย

การติดเชื้อมักพบหลังการผ่าตัดหรือหลังประสบอุบัติเหตุ ทำให้เกิดแผลและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อแบคทีเรีย

 

Operation 

อาการและอาการแสดง

ลักษณะอาการที่พบในระยะแรก คือ

1. มีอาการเจ็บปวดบวม แดง ร้อน ที่ผิวหนังอย่างมาก โดยอาการบวมแดงจะลามอย่างรวดเร็ว และอาจมีตุ่มน้ำร่วมด้วย

2. ต่อมาสีของผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงและมีเนื้อตายเกิดขึ้น เมื่อมีเนื้อตายเกิดขึ้นผู้ป่วยอาจมีอาการชาเข้ามาแทนที่อาการเจ็บปวด นอกจากนี้ก็มักจะมีไข้สูง และมีการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดร่วมด้วย

3. ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อคและอวัยวะต่างๆ มีการทำงานที่ลดลง เช่น ไต ตับ เป็นต้น อีกทั้ง ยังพบการติดเชื้อบ่อยๆที่บริเวณแขนและขา 

 

1202.1

 

การติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นลึกระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 17-49% ทั้งนี้ขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยและอวัยวะที่มีการติดเชื้อด้วย โดยหากเป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคตับแข็ง จะทำให้มีความเสี่ยงสูงในติดเชื้อ รวมถึงการติดเชื้อจะลุกลามอย่างรวดเร็ว

 

[ads]

 

การรักษา

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเฉพาะ โดยการใช้ยาต้านจุลชีพในรูปยาฉีดร่วมกับการผ่าตัด เมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคตั้งแต่ระยะต้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้

 

 

คำแนะนำในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากแบคทีเรียกินเนื้อ

1. ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผล ที่จะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่สกปรกโดยตรง

 

2. ถ้าเกิดมีแผลที่ผิวหนัง ควรล้างทำความสะอาดให้ดี และควรทำแผลทันทีให้ได้เร็วที่สุด จากนั้นให้พันแผลให้มิดชิดแต่ระบายอากาศได้ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่สกปรก

 

1202.2

 

3. ไม่ควรบ่งแผลด้วยเข็ม หรือกรีดเปิดแผลด้วยตัวเอง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้อาจไม่สะอาด และจะยิ่งส่งเสริมการติดเชื้อให้เพิ่มมากขึ้น

 

4. ถ้าแผลเริ่มมีอาการปวดบวม รู้สึกแดงร้อนที่ผิวหนัง หรือมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยว่าเข้าข่ายอาการแบคทีเรียกินเนื้อหรือไม่ ถ้าใช่จะได้รักษาได้โดยทันท่วงที

 

5. ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง ถือเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ คุณจำเป็นต้องให้ความระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ

 

จะเห็นได้ว่าอุบัติเหตุหรือการเกิดแผลเล็กๆน้อยๆที่คุณคิดว่าอีกไม่นานก็หาย อาจส่งผลให้คุณสูญเสียสิ่งที่มีค่าบางอย่างในชีวิตไปได้หากคุณเกิดเหตุการณ์แบคทีเรียกินเนื้อขึ้นและรักษาได้ไม่ทันเวลา

เพราะฉะนั้น อย่าชะล่าใจในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และควรที่จะไปพบแพทย์ทุกครั้งที่เกิดแผลใหญ่ หรือแผลจากของมีคมที่คาดว่าน่าจะมีสิ่งสกปรกสูง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของคุณเอง

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.si.mahidol.ac.th

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: