“วิธีแก้สะอึก” ให้หายแบบชั่วอึดใจ ทำปุ๊บหายปั๊บ ไม่ต้องมีน้ำก็หายได้





เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยมีประสบการณ์การสะอึกกันมาบ้าง บางทีก็เป็นตอนที่สำคัญๆ เช่น กำลังจะต้องขึ้นพูด หรือทำกิจกรรมสำคัญต่างๆ จนบางครั้งเกิดความรำคาญ และหงุดหงิดไม่น้อย ถ้าอยากจะทำให้อาการสะอึกหยุดไปได้อย่างเห็นผลทันตา เรามีวิธีที่ง่ายแสนง่ายมาฝากกัน รับรองว่าทำแล้วหายสะอึกได้ในทันทีแบบชั่วอึดใจ

 

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าทำไมเราต้องสะอึก

 

1191.1

 

การสะอึก (Hiccup) เป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอด และช่องท้องที่เกิดขึ้นเองได้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากมีสิ่งมากระตุ้นเส้นประสาท 2 เส้น คือ เส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) และเส้นประสาทฟรีนิก (phrenic nerve) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระบบประสาทต่อกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น

สียงสะอึกที่เกิดขึ้นมาจากการหายใจออกขณะที่กะบังลมเกิดการกระตุกทันทีทันใด ทำให้เกิดเป็นเสียงดังของการสะอึกขึ้นนั่นเอง

 

ส่วนการแก้ไขก็ต้องทำให้กระบังลมและกระดูกซี่โครงกลับมาทำงานประสานกันดังเดิม ด้วยวิธีที่เราจะแนะนำ 2 วิธี ซึ่งเหมาะกับตอนที่คุณไม่สามารถหาน้ำมาดื่มแก้ไขได้ในช่วงเวลานั้น วิธีทำดังนี้

 

วิธีที่ 1

กดจุดบริเวณใต้ลิ้นปี่ ให้กดเบา ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆกดแรงขึ้น ประมาณ 3-6 นาที พอหายสะอึกจึงหยุดกด

1191.4

 

วิธีที่ 2

เอาถุงกระดาษมาครอบปากและจมูกไว้ หายใจเข้าออกในถุงกระดาษ เพื่อนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปกดที่ “ศูนย์การสะอึก” ในสมอง เพียงไม่กี่ครั้งก็หาย

1191.3

 

[ads]

 

นอกจาก 2 วิธีที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าสามารถแก้ไขอาการสะอึกได้อย่างรวดเร็ว ยังมีวิธีการแก้สะอึกรูปแบบอื่นๆอีก เก็บไว้เป็นความรู้หากคุณใช้ 2 วิธีข้างต้นแล้วไม่สำเร็จก็แล้วกันนะคะ เพราะแต่ละคนก็อาจจะเหมาะกับวิธีที่แตกต่างกันออกไป  เช่น

 

– สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นหายใจไว้สักพัก

– กลืนน้ำแข็งบดละเอียด

– เคี้ยวขนมปังแห้ง

– จิบน้ำมะนาว

– ก้มตัวดื่มน้ำจากขอบแก้วด้านตรงข้ามหรือด้านที่ไกลจากริมฝีปาก

– จิบน้ำจากแก้วเร็วๆ หลายๆ อึก ติดๆ กัน

– ใช้มืออุดหูไปด้วย แล้วดูดน้ำจากหลอดไปด้วย

– แหงนหน้า กลั้นหายใจ นับ 1-10 จากนั้นหายใจออกทันที แล้วดื่มน้ำ 1 แก้ว

 

1191.2

 

– ใช้นิ้วคีบลิ้นแล้วดึงออกมาเบาๆ หรือแลบลิ้นออกมายาวๆ

– กดจุด โดยออกแรงบีบเนินใต้นิ้วโป้งของมืออีกข้างหนึ่ง หรือกดบริเวณร่องเหนือริมฝีปาก

– นวดเพดานปาก

– ทำให้ตกใจ เช่น ตบหลังแรงๆ โดยไม่ให้รู้ตัวก่อน

– ถ้าเป็นเด็กอ่อนควรอุ้มพาดบ่าและใช้มือลูบหลังเบา ๆ ให้เรอ

 

อาการสะอึกเกิดได้เสมอ แม้จะเป็นอาการที่ไม่เลวร้าย แต่ถ้าเกิดว่ามันเกิดขึ้นในช่วงเวลาคับขัน เช่น กำลังจะขึ้นพรีเซนต์งาน กำลังจะเข้าห้องสัมภาษณ์  เป็นต้น คุณก็จำเป็นต้องรู้วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับตัวเองให้ได้มากที่สุด  เพื่อให้อาการสะอึกที่เป็นอยู่หายไปได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดนั่นเอง

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก lokehoon.com

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: