ไขข้อข้องใจ! ‘ขวดน้ำที่ทิ้งไว้ในรถ’ ดื่มได้ปลอดภัยแค่ไหน มีหลักฐาน





ขวดน้ำทั้งขวดเล็กและขวดใหญ่ มักเป็นสิ่งที่ได้แถมมาจากการเติมน้ำมันหรือเติมแก๊สรถยนต์ ทำให้คนขับรถทั้งหลายเลือกที่จะเก็บน้ำดื่มเหล่านั้นเอาไว้ในรถก่อน ถ้าหากระหว่างเดินทางเกิดหิวน้ำขึ้นมา ก็จะได้ควานหามาดื่มได้ แต่เมื่อต้องจอดรถทิ้งไว้และปล่อยให้ขวดน้ำโดนทั้งความร้อนและแสงแดดจากภายนอก ขวดน้ำเหล่านั้นจะยังคงปลอดภัยต่อการบริโภคอยู่หรือไม่? ดื่มน้ำแล้วจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือเปล่า? เรามาหาคำตอบของคำถามนี้กันดีกว่า

 

1188.4

 

จากความเชื่อที่ว่า “น้ำดื่มที่อยู่ในรถยนต์มักจะถูกความร้อนอบ โดนแสงแดดส่อง จนทำให้พลาสติกจากขวดน้ำหลอมเหลว หรือทำให้สารบางอย่างในขวดพลาสติกละลายออกมาปนกับน้ำดื่มได้” สมมติฐานที่คุณสงสัยเป็นจริงหรือไม่ ตามมาดูกัน

 

เพราะขวดน้ำดื่มในบ้านเรามักจะเป็นขวด PET หรือ PETE ซึ่งทำจากพลาสติกโพลีเอทีลีนเทเรฟทาเลท ลักษณะของขวดจะเป็นพลาสติกใส เหนียว แข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา และไม่แตกง่าย ที่สำคัญสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี ด้วยคุณสมบัติแบบนี้ขวด PET จึงถูกนำมาใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม น้ำมัน น้ำมันพืช หรือแม้กระทั่งซอสปรุงรสต่างๆ

 

1188.2

 

ซึ่งถ้าใครสงสัยว่าขวดชนิดนี้สามารถทนความร้อนได้มากแค่ไหน? ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกฎมาว่า “การผลิตขวด PET จะต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถทนทานความร้อนได้สูงถึง 60-95 องศาเซลเซียส

ซึ่งอุณหภูมิที่ว่านี้ถือเป็นอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง หากจอดรถไว้ในที่ร่ม อากาศในรถไม่มีทางสูงเกินนี้แน่นอน ส่วนใครที่มักจอดรถไว้กลางแจ้ง ก็ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าจะเป็นอันตรายจริงอย่างที่กล่าวอ้างกัน เพราะความร้อนในรถยนต์ยังไม่เกิน 60 องศาเซลเซียสแน่นอน

 

Handsome young man or teenager driving car and drinking water from plastic bottle 

 

ส่วนข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ในวารสารที่ ก็ยังไม่เคยมีรายงานการตรวจพบสารพิษและสารเคมีต่างๆที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง แสดงว่าสามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย

 

[ads]

 

แต่สิ่งที่ควรเป็นกังวลมากกว่านั้น ก็คือ ขวด PET ประเภทนี้ถูกออกแบบให้เป็นขวดที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย ไม่เหมาะต่อการใช้ซ้ำ เพราะฉะนั้น อันตรายที่น่ากลัวจึงเกิดจากการใช้ซ้ำเสียมากกว่า แต่หากใครต้องการจะใช้ขวดซ้ำจริงๆ ก็ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาดให้มาก สังเกตรูปลักษณ์ของขวดและสีของขวดว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าท่าไม่ดี ก็ตัดใจทิ้งไปเถอะค่ะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

 

แม้ว่าอุณหภูมิในรถจะสูงไม่มากพอต่อการละลายขวด PET แต่ถ้าจะให้ดีก็ไม่ควรเก็บขวดน้ำปริมาณมากไว้ในรถนานๆ ถ้าได้มาเยอะ ก็ต้องอย่าลืมเอาออกเสียบ้าง ไม่ใช่แค่เรื่องความปลอดภัยทางสุขภาพ แต่การบรรทุกน้ำโดยไม่จำเป็นมันมีผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันรถของคุณด้วย ที่สำคัญอาจเกิดเหตุการณ์ที่ขวดน้ำไหลไปติดที่คันเบรค ทำให้เกิดอันตรายขณะขับรถก็เป็นได้

 

1188.3

 

เก็บขวดน้ำไว้ในรถแค่หนึ่งขวดหรือสองขวดก็พอ เวลาหิวน้ำหรือความร้อนรถขึ้นสูงจะได้มีไว้ดื่มหรือมีไว้ใช้ได้ทันเวลา

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก health.sanook.com และ thaihealth.or.th

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: