ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี





ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์

   เดิมชื่อของท่าน คอร์ราโด เฟโรชี Corrado Feroci เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย ถือว่าเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่คณาศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ท่านมีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่สวนลุมพินี และอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

   ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 (ค.ศ.1892) ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี นามเดิมคือ คอร์ราโด เฟโรจี ตรงกับรัชกาล 6 ในขณะนั้น รัฐบาลประเทศสยาม มีนโยบายขอให้รัฐบาลประเทศอิตาลีคัดเลือกประติมากรผู้มีฝีมือมารับราชการปฏิบัติงานหมีคำไม่สุภาพ และถ่ายทอดความรู้แก่ชาวสยาม ให้มีความรู้ทางด้านศิลปะทัดเทียมกับชาวตะวันตก ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2466 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงได้รับมอบหมายและเดินทางมารับราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในตำแหน่งช่างปั้น ที่ประเทศสยาม ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2466 เมื่ออายุท่านย่าง 32 ปี ผลงานที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงจนได้รับเลือกมารับราชการในประเทศสยาม คือ ประติมากรรมอนุสาวรีย์สงคราม ที่เมืองปอร์โตเฟอราอิโอ ทางด้านชีวิตครอบครัว ก่อนเดินทางมาประเทศไทย ท่านเคยแต่งงานมาครั้งหนึ่งแต่ได้แยกทางกัน และท่านเดินทางมากับภริยาใหม่ คือ นางฟันนี วิเวียนนี และได้ใช้ชีวิตร่วมกันในประเทศสยาม จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวขอท่านจึงกลับประเทศอิตาลีพร้อมลูกชาย และลูกสาว แต่ท่านกลับอยู่ประเทศสยามด้วยความเสียสละเพื่องานศิลปะ และด้านศิลปะศึกษาที่ท่านรัก ท่านแยกทางกันแต่มีโอกาสได้พบกันเมื่อท่านลางานเพื่อเยี่ยมเยือนครอบครัวในบางปี
 

ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์

   ปี พ.ศ.2486 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี มีสัญชาติอิตาเลี่ยนซึ่งแพ้สงครามจึงถูกกักกันตัว ( บางครั้งกล่าวว่ากักบริเวณ ) ท่านจึงเปลี่ยนชื่อ และสัญชาติโดยมีชื่อ “ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” แทนนามเดิม
ท่านแต่งงานกับคุณมาลินี แคนนี่ แต่ไม่มีบุตร ธิดาด้วยกัน ท่านอุทิศตนจนถึงวาระสุดท้ายให้กับการบุกเบิกศิลปะ และศิลปะศึกษาในประเทศไทย แม้อายุท่านล่วงเลยเกิน 60 ปีแล้ว จวบจนท่านถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 โดยสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมโดยเฉพาะอนุสาวรีย์ที่สำคัญต่างๆ ในประเทศไทย

 

ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์

ความรับผิดชอบในหน้าที่
   ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้การอบรมแก่ศิษย์ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติโดยมิได้เหน็ดเหนื่อย ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็ง ท่านมาทำงานแต่เช้าก่อนเวลา ๘.๐๐ น. และกลับบ้านหลังเวลา ๑๘.๐๐ น.ทุกวัน ตั้งใจถ่ายทอดวิชาอย่างจริงจัง ทำให้ศิษย์ทุกคนมีความขยัน หมั่นเพียร ใครเกียจคร้านท่านจะไม่พูดด้วย ท่านชอบที่อยู่ใกล้ศิษย์เสมอ ปกติท่านมิเคยลาป่วยหรือลาหยุดแล้ว ในทางตรงกันข้ามมาทำงานตั้งแต่เช้ายันค่ำ ท่านทำงานไม่หยุดว่าง ทั้งงานประติมากรรมอนุสาวรีย์ของส่วนราชการ และงานสอนที่ท่านทุ่มเท ท่านเคารพต่อราชการไม่เคยใช้เวลาราชการ และไม่เคยทำงานพิเศษเป็นส่วนตัวแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพเพิ่มพูนรายได้นอกจากเงินเดือนราชการ
ความขยันหมั่นเพียรของท่าน ควรค่าแก่การเคารพในเกียรติยศของท่าน

 

ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์
 

ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
   ปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์ ได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดกองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ ระหว่างนั้นท่านได้เริ่มสอนศิลปะแก่ผู้สนใจโดยเฉพาะทางด้านประติมากรรม ทั้งทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ ศิษย์รุ่นแรกๆส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อทางราชการเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาทางด้านศิลปะจึงให้ท่านเป็นผู้วางหลักสูตร และตำราขึ้น โดยมีมาตรฐานเช่นเดียวกับยุโรป อาจารย์ดำรง วงศ์อุปราช กล่าวว่า ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นบุคคลผู้มีความสำคัญที่สุดในการทำให้เกิดศิลปิน และศิลปะแบบใหม่ขึ้นในประเทศไทยอย่างแท้จริง ศิลปินมีการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีฐานของความรู้และความเข้าใจ ท่านเห็นว่า การสร้างสรรค์งานศิลปะนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบและแบบแผน ท่านจึงพยายามให้ทางราชการเปิดโรงเรียนสอนศิลปะ จนเปิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น
ในปี พ.ศ.2477 กรมศิลปากรจึงจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์เป็นผู้อำนวยการและเป็นผู้สอนวิชาศิลปะทั้งทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ.2486 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นโรงเรียนสอนศิลปะสากลแห่งแรกของประเทศสยามและเอเชียอาคเนย์

 

ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์

ผู้วางรากฐานการศึกษา และริเริ่มก่อตั้งวิทยาลัยช่างศิลป์
   ในระดับเตรียมมหาวิทยาลัยนั้น ท่านได้ริเริ่มวางรากฐานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 การเรียนศิลปะ ศาสตราจารย์ศิลป์ กล่าวว่า การศึกษาศิลปะ ต้องใช้เวลามาก อย่างน้อยต้อง 8 ปี แต่ในระดับปริญญาตรี ใช้เวลา 5 ปี ท่านจึงสนับสนุนให้ตั้งโรงเรียนศิลปศึกษา หรือโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร และสามารถเปิดเป็นโรงเรียนศิลปศึกษาขึ้น ในปี พ.ศ.2495 ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนช่างศิลป และปัจจุบันคือวิทยาลัยช่างศิลป ตามลำดับ ซึ่งจัดการเรียนการสอนทางด้านศิลปะระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และผลิตบุคลากรศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทางด้านศิลปะมาเป็นเวลานาน

   ในการจัดทำหลักสูตรในช่วงเริ่มต้นเปิดโรงเรียนนั้น อาจารย์ประยูร อุลุชาฏะ เป็นผู้ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ไว้วางใจให้เป็นผู้จัดทำหลักสูตร ตลอดจนการดำเนินงานต่างๆในขั้นแรกเริ่มตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะนั้นยังไม่มีสถานที่เรียน ต้องอาศัยสถานที่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเมื่อย้ายสถานที่เรียนมาอยู่ที่ตึกกระทรวงคมนาคม ซึ่งถูกรื้อ และสร้างเป็นโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน
 

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อปี พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี

 

ที่มา thaiart.in.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: