‘ไบกอร์เร็กเซีย’โรคอันตรายของผู้ชายเล่นกล้าม!





การออกกำลังกายที่เรียกว่า “เพาะกาย” สไตล์นายแบบ ทำให้ผู้ชายไทยลุกขึ้นมาปฎิวัติตัวเองเลียนแบบเหล่าไอดอลชื่อดังของตัวเองกันมากมาย ปัจจุบันเทรนด์การออกกำลังกายขยับขึ้นมาอีกระดับ การมีกล้ามเนื้อครบถ้วนทั้งซิกซ์แพ็ก และวีเชพแล้วก็ยังไม่พอ จึงเกดิการออกกำลังกายและสร้างกล้ามเนื้ออย่างหนักและกลายเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ชื่อว่า โรคไบกอร์เร็กเซีย(Bigorexia) หรือ มัสเซิลดีสมอร์เฟีย(Muscle Dysmorhia) โรคเสพติดกล้ามเนื้อของผู้ชาย

 

[ads]

         

      โรคไบกอร์เร็กเซีย เป็นโรคชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างผิดปกติ (Body Dysmorphic Disorder) ซึ่งจะพบมากในผู้ชาย โดยคนที่เป็นโรคดังกล่าวจะมีความคิดว่าตัวเองไม่แข็งแรง รู้สึกว่าตัวเองรูปร่างไม่ดี และมีกล้ามเนื้อน้อยเกินไป แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเจ้าตัวมีรูปร่างที่ล่ำบึ้กอยู่ก็ตาม จึงทำให้ฝืนออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ

      โดยผู้ชายที่เป็นโรคไบกอร์เร็กเซีย จะแสดงอาการเหล่านี้ออกมาอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการเสพติดการออกกำลังเพื่อสร้างกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว หากวันไหนไม่ได้เข้าฟิตเนส ก็จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าและเครียด มักส่องกระจกเพื่อเช็กกล้ามเนื้อของตัวเองบ่อย ๆ เน้นกินอาหารเสริมที่มีโปรตีนสูง และอาจถึงขั้นใช้สารสเตียรอยด์ เพื่อช่วยกระตุ้นการเติบโตของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังไม่สนใจสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากการฟิตร่างกาย เช่น การทำงาน การเรียน เพื่อนฝูง และครอบครัว ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้ขั้นรุนแรง มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้เช่นกัน

 

bigorexia-430

ภาพ:www.collinsdictionary.com

          ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีรายงานจากมูลนิธิ Body Dysmorphic Disorder Foundation ประเทศอังกฤษ ชี้ว่า ทุก ๆ 10 คนของผู้ชายชาวอังกฤษที่เข้าฟิตเนสออกกำลังกายเป็นประจำ จะพบว่ามีอยู่ 1 คนที่เป็นโรคไบกอร์เร็กเซียโดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่นในรายของ โอลิ ลอยน์ ที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจกำเริบในวัยเพียง 20 ปี ซึ่งแม่ของเขาเผยว่า โอลิ เริ่มฟิตหุ่นอย่างหนักและใช้สารสเตียรอยด์ตั้งแต่อายุ 18 ปี ส่งผลให้เขามีอาการซึมเศร้าและโรคหัวใจกำเริบถึง 2 ครั้งด้วย

          ส่วนการรักษาโรคดังกล่าวทางผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ที่จะมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นและรักษาจนกลับมาหายได้ในที่สุด

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: