เทคนิคออมเงินให้ ‘รวย’ ด้วย Book Bank เหมาะมากๆสำหรับคนมีภาระเยอะและอยากมีเงินเก็บ





ในปัจจุบันมีการเก็บเงินหลายๆแบบที่เป็นที่นิยม ซึ่งวันนี้เราจะมานำเสนออีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้น เห็นรายรับและรายจ่ายได้อย่างชัดเจน และช่วยให้สะดวกในการจัดการ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีภาระหนี้สินเยอะๆ จะต้องทำอย่างไรตามมาดู

 

ปัจจุบัน การชำระหนี้สินทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต สามารถระบุให้ตัดผ่านบัญชีธนาคารได้ทั้งสิ้น แค่คุณมีเงินอยู่ในบัญชีคุณก็ไม่ต้องไปเสียเวลาเดินทางไปจ่ายค่าจิปาถะเหล่านี้เลย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย แค่เอาเงินไปเข้าให้ตรงเวลาเท่านั้น

แต่ถ้าคุณรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างเอาไว้ในสมุดบัญชีเล่มเดียว ชีวิตของคุณอาจไม่เป็นสุขแน่ๆ เพราะบางครั้งคุณอาจจะตามไม่ทันว่าค่าที่โดนหักไปเป็นค่าอะไรกันแน่ ซึ่งย่อมจะสร้างความปวดหัว หรือทำให้คุณจ่ายเงินไม่ตรบตามเวลาที่ควรจะเป็น

 

เอาอย่างนี้ดีกว่า ถ้าคุณรู้จักแยกบัญชีค่าใช้จ่ายออกเป็นประเภทๆ ชีวิตของคุณจะง่ายขึ้นมาก แค่ทำตามนี้ค่ะ

 

[ads]

 

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการบริหารจัดการเงินด้วยการแยกบัญชีธนาคารของคุณ Tae Aram ที่แบ่งค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆและเงินเก็บออกเป็นหลายๆบัญชี ตามรูป

 

983.1

 

จากรูป….นี่คือ สมุดบัญชีทั้งหมด 4 เล่ม แบ่งเป็น บัญชีรับเงิน 1 เล่ม และ จ่ายเงิน 3 เล่ม คุณ Tae Aram บริหารจัดการเงิน ดังนี้ค่ะ

 

1. เล่มรายรับ เมื่อได้เงินมาในแต่ละเดือนจะก็ถอนออกหมด เหลือทิ้งไว้ทำ statement เล็กน้อย ซึ่งการที่บัญชีนี้มีแต่รายรับจะทำให้ธุรกรรมในเล่มไม่ยาวหลายหน้า และสามารถเปรียมเทียบรายได้แต่ละเดือนได้อย่างชัดเจน ว่ามีอัตราเติบโตมากขึ้นเท่าไร

 

2. เล่มออมหรือลงทุน (อัตราส่วน 30%)  ใน 30%นี้ อาจจะแบ่งไปออมในหลายๆส่วน ทั้งการออมแบบความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ และการออมในความเสี่ยงสูง กำไรสูง เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง เวลาโชคร้ายหรือขาดทุนในอันใดอันหนึ่งจะได้ไม่เครียดมาก

 

3. เล่มจ่ายหนี้ (อัตราส่วน 40%) ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนรถ หรือค่าอื่นๆ สั่งให้ตัดจ่ายจากเล่มนี้เลย โดยเล่มนี้อาจจะเปิด internet banking ไว้ด้วย เพื่อความสะดวกในการจ่ายเงิน อีกทั้งยังสามารถถ่ายรูปเก็บหลักฐานเก็บไว้ในมือถือได้เลยทุกเดือน  

 

4. เล่มค่าใช้จ่ายทั่วไป (อัตราส่วน 30%) ค่ากิน ค่าน้ำมัน ค่าของใช้ในบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายหลักในบัญชีเล่มนี้ ดังนั้น เล่มนี้จะต้องทำ internet banking และ บัตร ATM เอาไว้ด้ว เพื่อความสะดวกในการใช้จ่ายเงิน  และถ้าเงินส่วนนี้เหลือในแต่ละเดือน ก็สามารถโยกไปเก็บในเล่มการออมหรืลงทุนได้ด้วย

 

ทั้งนี้ถ้าคุณมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแยกย่อยกว่านี้ จะเปิดอีกสักกี่บัญชีก็ได้ เช่น บัญชีเพื่อการเรียนต่อ บัญชีเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น ขอเพียงแค่คุณรับรู้ว่ามีทั้งหมดกี่บัญชี และรู้จักบริหารเงินในแต่ละบัญชีให้เป็น เท่านี้คุณก็สามารถรวยเป็นเศรษฐีได้แบบสบายๆแล้ว ลองทำดูนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก forum.eduzones.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: