ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้ทันโรคภัย





ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้ทันโรคภัย

ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
สีน้ำตาลอ่อน
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
สีแดงคล้ำหรือดำคล้ำ
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
สีเขียว
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
อุจจาระสีดำเข้มเหมือนยางมะตอย
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
อุจจาระมีเลือดปนออกมาจำนวนมาก
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
อุจจาระสีเหลือง มีคราบมันและกลิ่นเหม็น
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
อุจจาระร่วงสีเหลืองที่เกิดจากการติดเชื้อไกอาเดีย
ใส่ใจสุขภาพ : เช็คสี “อึ” รู้โรคทันที
อุจจาระสีเทาเหมือนขี้เถ้า
ไม่น่าเชื่อว่า..สีของอุจจาระจะสามารถบ่งบอกถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของผู้เป็นเจ้าของได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว เพราะหากระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ สีและลักษณะของอุจจาระจะเป็นตัวบอกว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นภายในร่างกาย เพื่อให้รู้ว่า เรามีสุขภาพดีหรือไม่

หากทุกคนรู้วิธีสำรวจด้วยตนเอง ก็จะช่วยหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ หรืออาจได้เวลาต้องไปพบแพทย์แล้ว

เพราะฉะนั้น มาเริ่มต้นเช็คสี “อึ” กันได้แล้ว ดูซิว่าเรายังสบายดีรึเปล่า?

• สีอุจจาระที่อาจเป็นปกติ

1. สีน้ำตาลอ่อน เป็นสีอุจจาระที่บอกถึงสุขภาพที่ดี ระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ ควรเช็คสีอุจจาระเป็นประจำและจดบันทึกวันละ 2 ครั้ง

อุจจาระที่สีออกโทนน้ำตาลถึงน้ำตาลอ่อน ซึ่งเป็นสีที่เกิดจากน้ำดีระหว่างการย่อยอาหาร หรือสีเขียว ซึ่งเป็นสีที่เกิดจากผักสีเขียว ถือว่าปกติ แต่หากมีสีน้ำตาลเข้ม จะบ่งบอกว่า ลำไส้อาจเกิดปัญหารุนแรง เนื่องจากมีเลือดออก

2. สีแดงคล้ำหรือดำคล้ำ หากอุจจาระของคุณมีสีเช่นนี้ แม้จะดูน่ากลัว แต่อาจไม่แย่เสมอไป เพราะสีดังกล่าวมักเกิดจากอาหารหรือยา

อุจจาระสีออกโทนแดง อาจเกิดจากอาหารที่มีสีแดง เช่น มะละกอ แตงโม กระเจี๊ยบ ซอสมะเขือเทศ เยลลี่สีแดง เครื่องดื่มสีแดง ที่รับประทานเป็นจำนวนมาก

หากอุจจาระสีดำคล้ำ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสีดำ เช่น ตับหมู ตับวัว ตับเป็ด ตับไก่ เลือดหมู เฉาก๊วย ขนมเปียกปูนสีดำ ข้าวเหนียวดำ ลูกหม่อน ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก หรือยาแก้ท้องเสียบางชนิด

3. สีเขียว อุจจาระสีโทนเขียว ดูประหลาดก็จริง แต่ถือว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการที่อาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่เพื่อการดูดซึมเร็วเกินไป จนเกิดเป็นสีเขียว (ทั้งนี้ไม่นับรวมอุจจาระร่วงที่อาจมีสีเขียวหรือสีอื่นๆ ซึ่งถือว่าผิดปกติ) หรือเกิดจากการรับประทานผักสีเขียว เช่น ผักโขม ผักบุ้ง หรือยาบางชนิด

• สีอุจจาระที่เป็นอันตราย!!

1. อุจจาระสีดำเข้มเหมือนยางมะตอย นี่คือสัญญาณอันตรายที่ชี้ว่า มีภาวะเลือดออกภายใน ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจอาการเลือดออกบริเวณทางเดินอาหารด้านบน ลำไส้ กระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร

หากถ่ายอุจจาระเป็นสีดำบ่อยครั้ง อาจบ่งชี้ว่า คุณเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมีภาวะเลือดออกภายใน หรืออุจจาระที่มีสีดำเกินไป แข็งเกินไป หรือยาวเกินไป ก็จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เช่นกัน

2. อุจจาระมีเลือดปนออกมาจำนวนมาก มักเกิดจากริดสีดวงทวารภายในหรือภายนอกแตก หรืออุจจาระมีสีแดงสดบอกถึงภาวะเลือดออกบริเวณลำไส้ใหญ่หรือสำไส้ตรง เพราะฉะนั้น ควรไปพบแพทย์โดยด่วน

นอกจากนี้ อุจจาระสีแดงอาจเกิดจากภาวะเลือดออกในลำไส้ เช่น ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ผนังลำไส้แตก ซึ่งควรพบแพทย์ในทันทีเช่นกัน

3. อุจจาระสีเหลือง มีคราบมัน และกลิ่นเหม็น ไขมันส่วนเกินที่อยู่ในอุจจาระ อาจเกิดจากระบบการดูดซึมอาหารผิดปกติ เช่น โรคเซลีแอค (เป็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมอาหารของลำไส้) ซึ่งเป็นโรคแพ้กลูเตน ที่มีอยู่ในขนมปัง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

อุจจาระสีเหลืองถือว่าผิดปกติ และอาจเป็นอาการของโรคร้ายแรง สาเหตุที่ทำให้อุจจาระมีสีเหลือง อาจเกิดจากภาวะที่ทำให้การผลิตเอนไซม์ไลเพลสจากตับอ่อนลดลง หรือสกัดกั้นการลำเลียงเอนไซม์ดังกล่าวไปยังลำไส้

4. อุจจาระร่วงสีเหลืองที่เกิดจากการติดเชื้อไกอาเดีย ซึ่งเป็นปรสิตที่พบในของเน่าเสียและน้ำเสีย ที่อาจทำให้อุจจาระร่วง มีไข้ และมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หากอุจจาระยังมีสีเหลืองนานเกิน 1-2 วัน ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

5. อุจจาระสีเทาเหมือนขี้เถ้า อาจบอกถึงภาวะที่ตับหรือตับอ่อนกำลังมีปัญหา ซึ่งอาจเป็นตับอ่อนอักเสบ ตับแข็ง หรือตับอักเสบ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากตับอ่อนอาจอักเสบหรือติดเชื้อ เพราะโดยปกติน้ำดีที่ขับออกจากตับ เป็นตัวทำให้อุจจาระมีสีน้ำตาล การที่น้ำดีมีไม่เพียงพอ อุจจาระจึงกลายเป็นสีเทา ซึ่งบ่งบอกว่า การผลิตน้ำดีหรือท่อน้ำดีอุดตัน ซึ่งอาจเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี การติดเชื้อ แผล หรือเนื้องอกที่บริเวณตับ ตับอ่อน หรือถุงน้ำดี

หากอุจจาระสีอ่อน ขาว หรือสีคล้ายดิน อาจบอกได้ว่า ในอุจจาระขาดน้ำดี ซึ่งมีสาเหตุจากท่อน้ำดีอุดตัน หรือผลข้างเคียงจากการรับประทานยาแก้ท้องเสีย bismuth subsalicylate และยาแก้ท้องเสียอื่นๆมากเกินไป

• “อึ” น่ารู้

– เมือกและเศษอาหารเล็กๆที่อยู่ในอุจจาระ ถือเป็นเรื่องปกติ ที่ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะอุจจาระที่ปกติมักมีเศษเมือก ลักษณะคล้ายเยลลี่ ซึ่งลำไส้ขับออกมาเพื่อให้ความชุ่มชื่นและหล่อลื่นผนังลำไส้ใหญ่ ปะปนอยู่เสมอ

แต่ถ้าเมือก (ซึ่งอาจเป็นน้ำหนองจากการติดเชื้อ) เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นประจำ หรือมีเลือดออก หรือถ่ายบ่อยขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

– อาการอึของคนสุขภาพดี คือ เกิดความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ไม่ต้องเบ่งจนหน้าดำหน้าแดง ขับถ่ายลื่นไหลไม่สะดุด หลังถ่ายรู้สึกสบายตัวสบายใจ

(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 158 กุมภาพันธ์ 2557 โดย เบญญา)

 

[ads=center]

ที่มา: http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000013001

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: