ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ?! ทำไมโบราณถือว่า “เบญจเพศ” คือวัยที่ต้องมีเคราะห์ พระธรรมโกศาจารย์ได้ให้คำตอบแล้ว ฟังแล้วเข้าใจเลย..!!





ด้านพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ท่านได้ออกมาเทศนากรณีดังกล่าว ให้ฟังว่า

“ เบญจเพส ก็หมายความว่า ยี่สิบห้า อายุ ๒๕ มันอันตราย อันตรายตรงที่ว่าเราคะนองนั่นเอง ไม่ต้องถึง ๒๕ หรอก ๑๘ นี่คะนองแล้ว เด็กวัยทีนเอจนี่คะนองแล้ว ๑๙-๒๕ มันคะนองทั้งนั้น โน่น ๓๕ ถึงจะเบาหน่อย พอรู้เรื่องชีวิตรู้จักค่าของชีวิตไม่ค่อยจะเสี่ยงภัยมากเกินไป โตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ ๒๕ มันกำลังคะนองทำอะไรมักจะรวดเร็วโลดโผน มันจึงเกิดทุกข์เกิดโทษกับคนอายุขนาดนั้นมาก เพราะความคะนองนั่นเอง ถ้าหากว่าเรารู้ตัวว่าอุบัติเหตุมันเกิด เพราะความคะนองเกิดเพราะความประมาท เราก็อย่าประมาท ขับรถก็อย่านึกว่ามีรถของเราคันเดียวก็เท่านั้น ”

“มันไม่มีอะไร อายุ ๒๕ ไม่ได้ร้ายอะไรไม่ได้เสียหายอะไร แต่ว่าคนใดไปเกิดอุบัติเหตุเจ็บตอนอายุ ๒๕ เขาก็ว่า “เบญจเพส” เบญจ แปลว่า ห้า เพส แปลว่า ยี่สิบ ถ้าเพศ (ศ.ศาลา) ก็คือเพศหญิง เพศชาย นั่นแหละ มันหมายความว่าอย่างไรก็ไม่ได้เรื่อง แปลแล้วยิ่งไม่ได้เรื่องใหญ่”

 

ที่มา: พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิขุ)
แสงสว่างของชีวิต หน้าที่ ๑๗

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: