คุณจะอยู่อย่างประสบความสำเร็จหรือเป็นที่น่ายกย่องสรรเสริญ





    คุณจะอยู่อย่างประสบความส     ในสังคมเรามีอะไรที่แตกต่างมากมายหลายอย่าง แต่มีอยู่สองอย่างที่ในสังคมต้องการมันแค่อย่างเดียวนั้นคือความสำเร็จ ความสำเร็จในที่นี่มันคืออะไร? และแตกต่างกันยังไง? ทำไมผู้คนส่วนใหย่ถึงต้องการมากกว่า การถูกยกย่องสรรเสริญ

ความสำเร็จคือสิ่งที่คุณใส่ไว้ในแฟ้มประวัติของคุณ ทักษะที่คุณสามารถนำไปสู่การทำงาน และความดีที่ถูกยกย่องสรรเสริญ คือสิ่งที่คุณถูกกล่าวถึงในทางสรรเสริญ พวกเราส่วนใหญ่อาจกล่าวได้ว่า ความดีที่เป็นที่สรรเสริญโดยทั่วไปมีความสำคัญมากกว่า แต่อย่างน้อยในกรณีบางคนความดีที่น่าสรรเสริญนั้นเป็นสิ่งที่เขาไม่ต้องการ

โจเซฟ โซโลเวทชิค ได้คิดเกี่ยวกับปัญหานี้ เขาเขียนหนังสือชื่อ ชายผู้โดดเดี่ยวใน ศรัทธา (The Lonely Man Of Faith) ในปี 1965 คือ กล่าวไว้ว่าคนเรามีธรรมชาติสองด้าน เรียกมันว่า อดัม1และอดัม2   อดัม1 เป็นธรรมชาติด้านภายนอกคือความต้องการเชิงวัตถุทะเยอทะยานพิชิตโลกเพื่อลิ้มรสความสำเร็จ ส่วนอดัม2เป็นธรรมชาติด้านอ่อนน้อมถ่อมตน คือ ต้องการความดีงามฟังเสียงเรียกร้องและเชื่อฟังโลกเพื่อลิ้มรสความมั่นคง ความแข็งแกร่ง ความรัก การไถ่บาป และการกลับคืนธรรมชาติทั้งสองด้าน กำลังทำสงคราม เราอยู่ในโลกที่ต้องเผชิญหน้ากับตัวเองตลอดเวลา ระหว่างความสำเร็จภายนอกและคุณค่าภายใน ธรรมชาติสองด้านทำงานด้วยตรรกะที่แตกต่างกัน ตรรกะภายนอก คือ ตรรกะทางเศรษฐศาสตร์นำไปสู่รางวัลในการทำงาน ภายใน คือตรรกะด้านคุณธรรม แต่บ่อยครั้งเป็นตรรกะที่สวนทางเช่น คุณจะต้องให้จึงจะได้รับเป็นต้น แต่เมื่อลองคิดย้อนกลับไปอดีต จากประวัติศาสตร์ได้คำตอบว่า อดัม1ถูกสร้างจากการทำตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้น อดัม2ถูกสร้างจากการต่อสู้กับความอ่อนแอของคุณ เราอาศัยอยู่ในวัฒนธรรม ที่มีความนึกคิดแบบอดัม1ตลอดมา ซึ่งไม่เคยปริปาก ถึงอดัม2และมันก็ถูกต้อง เป็นจริงทุกประการจากที่เขาได้เขียนหนังสือ และรวบรวมข้อมูลในอดีตเพราะในสังคมปัจจุบัน ผู้คนชื่นชมอดัม1 มักจะละเลยอดัม2 ปัญหาคือ มันเปลี่ยนคุณให้กลายเป็นสัตว์ที่ฉลาด กลายเป็นสัตว์ที่เลือดเย็น ขาดคุณธรรมและจริยธรรม กลายเป็นคนเห็นแก่ตัวเพื่อความสำเร็จของตน

[ads=center]

ไรน์โฮล์ดนีเบอร์ สรุปถึงการเผชิญหน้าของการใช้ชีวิต “ไม่มีสิ่งที่ควรค่าแก่การกระทำ จะถูกทำให้สำเร็จ เราต้อง มีความหวัง ไม่มีสิ่งใดจริงแท้ สวยงาม ดีงามและสำเร็จอย่างสมบูรณ์ เราต้องมีศรัทธาและมีความรัก ไม่มีศีลธรรมใดมีค่า เท่ากับศีลธรรมจากมุมมองของเราเอง นั่นคือ การให้อภัย

อ้างอิง : ted.com

แปลและเรียบเรียงโดย : Pongpol Puksai 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: