“รวยนานดีกว่ารวยเร็ว” เคล็ดลับความรวยฉบับเศรษฐีพันล้าน!!!





 

เคล็ดลับความรวย อยากมีฐานะที่มั่นคงและยั่งยืน แบบฉบับเศรษฐีพันล้าน แค่รวยเร็วอาจจะยังไม่พอ ต้องรู้จักเก็บรักษาเงินด้วยนะ

 

          ด้วยความอยากรู้อยากเห็นเลยถามอากู๋กูเกิลว่าจริงรึเปล่า ทำไมคนที่รวยมาก ๆ อยู่ดี ๆ เงินหมดกันง่าย ๆ ซะงั้น แล้วก็เจอคำตอบ…….. คนพวกนี้ส่วนใหญ่ใช้เงินหมดไปกับการ กิน เที่ยว ปาร์ตี้ ช้อปแบรนด์เนม เล่นยา แล้วก็อยู่ดี ๆ มีญาติเยอะขึ้นมากะทันหัน ในใจก็เกิดคำถามทันทีว่า เอ๊ะ แล้วทำไมเค้าไม่รู้จักเก็บเงินเลยล่ะ ใช้กันจนหมดเกลี้ยงต้องล้มละลายกันเลยเนี่ยนะ อืมมม คงจะเป็นเหมือนที่กูรูด้านการเงินเค้าบอกกันว่าเงินมันเหมือนกับ “แว่นขยาย” ถ้าในใจเป็นคนฟุ่มเฟือย มีเงินเยอะก็ไม่ได้เก็บหรอก ก็คงใช้เยอะขึ้นตามนิสัย แต่ถ้าเกิดคนที่เค้าฉลาด รู้จักวางแผน รู้จักใช้เงิน เค้ามีเงินเยอะขึ้น เค้าก็ไปลงทุนมากขึ้นแถมยังแบ่งให้คนอื่นอีกอย่างล่าสุดที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประกาศบริจาคหุ้น Facebook มูลค่าตั้งสี่หมื่นกว่าล้านดอลลาร์ให้การกุศล 

 


(เดวิด เอ็ดเวิร์ด เศรษฐีลอตเตอรี่ชาวอเมริกัน ที่ถูกรางวัล 27 ล้านดอลลาร์ ถ่ายรูปในบ้านหรูก่อนที่จะใช้เงินหมดและแถมติดยาในเวลาไม่ถึง 10 ปี)

 
          แล้วคราวนี้ถ้าอยากจะรวยนาน ๆ จนแก่ มีเงินเป็นมรดกให้ลูกหลานต้องทำไงดี เนื่องจากตัวเองรู้จักคุณลุงคนหนึ่งที่สร้างฐานะมาจากศูนย์ จนสร้างตัวเป็นเจ้าของธุรกิจพันล้าน แต่ละปีควักเงินส่วนตัวบริจาคเงินให้กับโรงเรียน โรงพยาบาลปีละล้านบาท คุณลุงท่านนี้ใจดีแบ่งปันสิ่งที่ท่านคอยสอนลูกหลานเสมอให้กับสาวสีลมฟัง เลยขอแชร์เทคนิคนาน 7 ข้อ ของคุณลุงพันล้านมาเล่าสู่กันฟังนะคะ 

          1. ไม่กู้! ไม่ผ่อน! ทุกอย่างยกเว้นเรื่องบ้าน เพราะเค้าถือว่าค่อย ๆ เก็บเงินซื้อของมันไม่ตาย แต่ถ้ากู้เยอะผ่อนแยะ เป็นนิสัย เราอาจจะอดตายเพราะเอาเงินไปเสียค่าดอกหมด

          2. เดินห้างเฉพาะเวลาที่จำเป็นต้องซื้อของ ยิ่งเดินบ่อยสายตาเราจะไปเจอของสวยงามน่าซื้อ ล่อตาล่อใจ ยิ่งเดินบ่อยก็จะยิ่งใจอ่อนบ่อย พอเดิน ๆ ไปก็หิว ยังต้องเสียเงินกินข้าวในห้างแพงอีก

          3. หัดทำกับข้าวกินเอง คิดง่าย ๆ ถ้าทำข้าวไข่เจียวกินเอง เสียเงินอย่างมากก็แค่ 10-15 บาท แต่ถ้าไปกินข้าวไข่เจียวตามสั่งก็ต้อง 30 บาทอัพ แล้วถ้าบ้านมีหลายคนไม่ยิ่งแย่ไปเหรอ ทำกินเองให้บ่อยแล้วนาน ๆ กินที นอกจากจะประหยัดเงินได้เยอะมาก สุขภาพยังดีกว่าด้วยเพราะว่าเราเลือกของดีมาทำอาหารได้

          4. ออมก่อน ใช้ทีหลัง ตัดใจตัดเงินอย่างน้อย 20% ไปออมก่อนเลยเพื่อไปลงทุน แล้วค่อยใช้เงินที่เหลือ เพราะถ้าใช้เงินแล้วเหลือถึงเก็บ จะไม่เหลือให้เก็บ แต่ถ้ายังหนุ่มสาว ไม่มีภาระควรเก็บเงินให้ได้ 30-40% ของรายได้

          5. ใช้น้อย แต่ใช้ของดี คุณลุงบอกเสมอว่าแต่ก่อนชอบดูหนัง มีเพื่อนคนหนึ่งดูหนังทุกเรื่องแต่ตีตั๋วถูก ๆ แต่คุณลุงจะนั่งที่แถวหลังจ่ายแพง แต่ไม่ดูบ่อย มันรู้สึกดีกว่า แล้วก็ประหยัดเงินกว่าด้วย เวลาซื้อเสื้อผ้าก็ขอซื้อที่ดีหน่อยจะได้ใส่ได้นาน 

          6. รู้ตัวเสมอว่ามีเงินเท่าไร และต้องเก็บเงินไว้ใช้ตอนไม่มีแรงทำงานด้วย คุณลุงบอกว่าถ้าเราไม่รู้ว่าเรามีเงินเท่าไร เราก็อาจจะเผลอใช้ไปเรื่อยโดยเฉพาะบัตรเครดิตตัวดีทำให้เราใช้เงินเกินตัว บัตรรูดปื๊ด รู้ตัวอีกทีก็เป็นลมตอนได้ จม. แจ้งค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต นอกจากนั้นเราต้องเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่ด้วยตั้งแต่เริ่มทำงาน มาเร่งเก็บตอนสุดท้ายมันไม่ทันหรอก อย่าลืมว่าถ้าเราเริ่มทำงานตอน 25 ปี เรามีเวลาแค่ 40 ปี ในการทำงานถึงอายุ 65 ปี แล้วถ้าเราตายตอน 80 แปลว่าเราต้องใช้เงินเก็บไปอีก 15 ปี โดยไม่มีเงินเดือน! 

          7. สอนลูกหลานให้รู้จักคุณค่าของเงิน หลายบ้านพ่อแม่ใช้เงินประหยัด รู้จักลงทุน แต่เพราะไม่ได้สอนลูกหลาน สุดท้ายก็ถูกลูกหลานผลาญหมด 

 

[ads=center]
ข้อมูลจาก Kapook

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: