ความจริงที่ควรรู้เรื่อง ‘หูกระป๋อง’ กับ ‘ขาเทียม’…ไม่แน่ว่าคุณอาจกำลังถูกหลอกอยู่ !





หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการบริจาคหูกระป๋องเพื่อนำไปใช้ในการผลิตขาเทียม ซึ่งเป็นวัสดุหลักในการประกอบเป็นอวัยวะเทียมขึ้นมา แต่ในบางครั้ง…ความจริงที่คุณรับรู้อาจยังไม่หมด และมีบางอย่างที่ถูกนำไปเป็นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม วันนี้เราจะมาเฉลยให้คุณได้ฟังกันว่า อะไรบ้างที่คุณกำลังเข้าใจถูก และมีอะไรบ้างที่คุณกำลังเข้าใจผิด ตามมาดูกันเลยค่ะ

761.2

1. หูกระป๋องหรือฝาเครื่องดื่มเป็นโลหะประเภทอลูมิเนียมที่ใช้ทำขาเทียมได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือไม่

ในอดีต มูลนิธิขาเทียมฯ ได้คิดค้นขาเทียมที่มีราคาถูกและน้ำหนักเบาจากวัสดุที่เหลือใช้ ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มยาคูลท์ซึ่งทำจากพลาสติกและอลูมิเนียมจากห่วงดึงฝากระป๋อง เพื่อทำขาเทียมให้แก่คนพิการขาขาด ผลงานขาเทียมที่ทำออกมาอยู่ในระดับน่าพอใจ มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรงพอที่รับแรงกดจากน้ำหนักตัวของคนพิการขาขาดได้ แต่ก็พบว่าชิ้นส่วนที่ทำจากอลูมิเนียมเกิดการผิดรูปเมื่อได้รับแรงบิด

เมื่อองค์ความรู้ก้าวหน้าขึ้น  มูลนิธิขาเทียมฯ จึงค้นคว้าพัฒนาหาวัสดุที่มีความคงทนแข็งแรงและเพิ่มอายุการใช้งานของขาเทียมให้มากขึ้น โดยปัจจุบัน โลหะที่ใช้ทำชิ้นส่วนขาเทียมทำมาจากโลหะ 2 ชนิดคือ อลูมิเนียม และเหล็กกล้าไร้สนิม (หรือสเตนเลสสตีล) ซึ่งอลูมิเนียมนี้ก็สามารถนำเอาเศษอลูมิเนียมเหลือใช้มาหลอมใหม่ได้

และไม่ใช่แค่เพียงหูหรือฝากระป๋องเท่านั้นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการหลอมทำขาเทียมได้ แต่อลูมิเนียมทุกชนิด เช่น กระทะ ขัน กะละมัง ที่เป็นอลูมิเนียมก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด

 

761.1

 

2. การรณรงค์นำของเหลือมาใช้เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรบริโภคเพื่อหวังจะนำหูกระป๋องมาเพื่อทำขาเทียม

ทั้งนี้ก็เพราะหูกระป๋อง 4,200 อัน จะมีน้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม และมีมูลค่าเป็นเศษอลูมิเนียมเพียง 50 บาท หรือสามารถจะหลอมเป็นชิ้นส่วนได้เพียง 5 ชิ้น ในขณะที่เราต้องเสียเงินซื้อเครื่องดื่มอย่างน้อยถึง 42,000 บาท กว่าจะได้วัสดุเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้ก็ตกอยู่ที่ผู้ผลิตเครื่องดื่มทั้งนั้น

นอกจากนี้ การดื่มน้ำกระป๋องยังเป็นการสิ้นเปลืองมากกว่าบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เพราะแผ่นโลหะที่นำมาทำตัวกระป๋องจะต้องนำเข้า และต้องจ่ายค่ากระป๋องเพิ่มจากน้ำขวดปรกติถึง 3 บาท

 

3. เหตุใดถึงเลือกเฉพาะหูกระป๋องหรือหูเครื่องดื่มบำรุงกำลัง

เจตนาแรกที่ขอรับห่วงหรือหูฝากระป๋องเครื่องดื่ม เป็นเพราะต้องการใช้ของที่จะทิ้งให้เกิดประโยชน์  อีกทั้ง ห่วงเล็กๆ สามารถดึงออกมา และทิ้งหยอดตู้ได้ง่าย ไม่สกปรก และสะดวกในการรวบรวม

 

4. เศษอลูมิเนียมทุกชนิดต้องนำมาหลอมที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส

หลังจากที่ได้รับบริจากเศษอลูมิเนียมมาแล้ว จะต้องนำมาแปรรูปเป็นอลูมิเนียมแท่งที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหลอมอลูมิเนียมแท่งและค่าจัดส่งมากกว่าค่าวัตถุดิบ

[ads]

 

การสร้างศรัทธาและจิตสำนึกเพื่อช่วยเหลือคนพิการถือเป็นสิ่งที่ดี แต่การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายและทำให้ผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้าใจผิดถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ ดังนั้น "การรณรงค์นำของเหลือใช้มาทำประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรบริโภคเพื่อหวังจะนำหูกระป๋องมาเพื่อทำขาเทียมช่วยเหลือผู้พิการ" 

อย่างไรกาม หากท่านมีความประสงค์จะบริจาคอลูมิเนียม สามารถติดต่อและจัดส่งอลูมิเนียมมายัง "มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" ได้เลยค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก thailegs.com และ pantip.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: