ลองสำรวจตัวเองดู…ถ้ามีมากกว่า 6 ข้อ แสดงว่าคุณเสี่ยงเป็น “โรคซึมเศร้า” แล้ว





เป็นโรคเงียบๆที่น่ากลัวมากๆ ที่สำคัญยังอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดอีกด้วย เพราะโรคนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คน ‘ฆ่าตัวตาย’ มานับไม่ถ้วนแล้ว หากคุณกำลังเป็นกังวล ลองมาเช็กกันดีกว่าว่า “คุณเองมีภาวะโรคซึมเศร้าติดตัวอยู่บ้างหรือเปล่า?” เพราะถ้ามี…จะได้รีบสลัดมันออกไปได้ทัน ก่อนที่มันจะกัดกินหัวใจของคุณจนเฉาตาย

 

ลองตอบคำถามต่อไปนี้จากประสบการณ์โดยตรงของคุณ โดยให้คุณสำรวจตัวเองและประเมินเหตุการณ์ อาการ ความคิดเห็น และความรู้สึกของท่านว่ากำลังเป็นอยู่หรือไม่ในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้  พร้อมแล้วไปลุยกันเลย

 

       1. รู้สึกจิตใจหม่นหมอง(เกือบตลอดทั้งวัน) หรือไม่

       2. รู้สึกเป็นทุกข์จนอยากร้องไห้

       3. รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก

       4. รู้สึกไม่มีความสุข หมดสนุก กับสิ่งที่เคยชอบและเคยทำ

       5. รู้สึกผิดหวังในตนเอง และโทษสิ่งที่เกิดขึ้น

       6. รู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง

       7. รู้สึกอยากอยู่คนเดียวไม่อยากสุงสิงกับใคร

       8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า

       9. คิดอะไรไม่ออก

       10. หลงลืมง่าย

       11. คิดอะไรได้ช้ากว่าปกติ

       12. ทำอะไรอืดอาด เชื่องช้ากว่าปกติ

       13. รู้สึกอ่อนเพลียง่ายเหมือนไม่มีแรง

       14. รู้สึกเบื่ออาหาร กินได้น้อยกว่าเดิม

       15. นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่สนิท

 

ถ้าคุณตอบว่า 'มี' ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป นั่นหมายความว่า คุณกำลังมีภาวะซึมเศร้า และควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษาได้แล้ว

[ads]

 

โรคนี้เป็นกันเยอะ?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงแค่การเจ็บป่วยทางจิตใจอย่างหนึ่งเท่านั้น” ซึ่งความเจ็บป่วยนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง หรือบางครั้งก็เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีสาเหตุใด ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นแล้วก็ยังสามารถรักษาให้หายได้อยู่ โดยผู้ป่วยอาจต้องได้รับยา การรักษาทางจิตใจ หรือใช้ทั้งสองอย่างรวมกัน

734.1

จากการสำรวจประชากรไทย มีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วถึงร้อยละ 5 หรือกว่า 3 ล้านคน ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงคนที่ไม่รู้ตัวเองว่าป่วยด้วย ด้วยเหตุนี้ สถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยจึงถือเป็นปัญหาที่ถูกเฝ้าจับตามองเป็นอันดับ 4  และพบว่ามีผู้ที่ฆ่าตัวตายมากถึงร้อยละ 60 ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยจะเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ง่ายกว่าคนปกติถึง 3 เท่า ดังนั้น โรคนี้จึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากถึงมากที่สุด

 

เมื่อเป็นแล้วต้องทำอย่างไร?

ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ย้ำคิดย้ำทำ เชื่องช้า ซึม เก็บตัว ชอบพูดเปรยว่าถ้าไม่มีเขาอะไรคงจะดี และพูดสั่งเสียอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการหนักราว 2-3 เดือน ถือเป็นช่วงอันตรายที่สุด แต่ถ้าพ้นช่วงนี้ไปได้ก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งอาการอาจจะกำเริบอีกครั้งได้เมื่อไรไม่รู้

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า 

  1. อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป
  2. แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ จัดลำดับความสำคัญและแก้ไขทีละเรื่อง
  3. อย่าพยายามบังคับตนเอง เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
  4. พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น
  5. เลือกทำกิจกรรมที่ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้นและไม่หนักเกินไป เช่น การออกกำลังกาย การชมภาพยนตร์  เป็นต้น
  6. อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออก การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิด
  7. ไม่ควรตำหนิหรือลงโทษตนเองที่ทำไม่ได้อย่างที่ต้องการ
  8. อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเอง เพราะมันสามารถหายไปได้เองเมื่อรักษาหายดี

734.2

การรักษาจึงต้องเน้นการช่วยเหลือผู้ป่วยด้านจิตใจเบื้องต้น ญาติผู้ป่วยหรือคนรอบข้างเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยเหลือให้ผู้ป่วยหายจากอาการที่เป็นอยู่ได้ นอกจากนี้ ก็อาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยยา เช่น การใช้ยาแก้เศร้า (antidepressants) หรือการทำจิตบำบัดบางชนิด เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ

ที่สำคัญคือ โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคที่เป็นแล้วรักษาได้หายขาด ผู้ป่วยบางรายอาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีกหลายครั้ง เนื่องจากได้รับการดูแลที่ไม่ดีเพียงพอ ดังนั้น อาจต้องมีการรักษายาต่อเนื่อง หรือได้รับยาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาป่วยซ้ำ

 

หากเริ่มรู้ตัววว่าตัวเองเริ่มไม่ปกติหรือมีภาวะของโรคซึมเศร้า ก็ขอให้อย่าได้อายและไม่กล้าไปพบหมอ เพราะยิ่งคุณปล่อยไว้นานเท่าไร อาการของโรคนี้ก็จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่คุณไม่สามารถเยียวยาตัวเองได้ เรื่องร้ายๆก็อาจเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่ทันตั้งตัวเลยก็เป็นได้

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก health.kapook.com และ manarom.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: