อันตรายมาก! ถ้าใช้พลาสติกคลุมอาหารไม่ถูกประเภท เสี่ยงมะเร็งสูง !





เห็นใสๆ ดูสะอาด แบบนี้ พลาสติกคลุมอาหารก็มีโทษร้ายแรงไม่แพ้กันนะ เพราะหากคุณใช้มันอย่างไม่ถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะได้รับอันตรายจากมันก็มีไม่น้อยเลย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับพลาสติกคลุมอาหารเหล่านี้ มารู้จักมันเพิ่มเติมสักหน่อยดีไหม ชีวิตของคุณจะได้ปลอดภัยมากขึ้น

 

พลาสติกคลุมอาหาร ( Plastic Wrap ) แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ไม่ใช้กับอาหาร (Non-food grade plastic wrap)  และ ชนิดที่ใช้กับอาหาร (food grade plastic wrap)  โดยมีลักษณะเป็นพลาสติกที่มีลักษณะบางใส เหนียว ยืดหยุ่นสูง และ สามารถเกาะติดกับขอบภาชนะได้ดี สามารถป้องกันการผ่านเข้าออกก๊าซออกซิเจน ฝุ่นละออง แมลง เชื้อโรค สารหอมระเหย กลิ่นได้  นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันการเน่าเสียของอาหารได้ยาวนานมากขึ้นด้วย

ด้วยข้อดีทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้การใช้พลาสติกคลุมอาหารนิยมนำมาใช้มากขึ้น เนื่องจากมีลักษณะสวยงามและน่ารับประทานกว่าภาชนะโฟม ทำให้ในปัจจุบันมีการใช้พลาสติกชนิดนี้อย่างแพร่หลาย ทั้งในลักษณะที่ใช้ขึงปิดปากภาชนะแทนฝา หรือ ใช้ห่อหุ้มอาหารเพื่อถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ให้ดูสดใหม่ได้นานขึ้น

732.2

อย่างไรก็ตาม พลาสติกคลุมอาหารเป็นกับวัสดุที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับอาหาร และมีโอกาสสูงมากที่สภาพความเป็นกรดหรือไขมันจากอาหาร จะกลายเป็นตัวกลางในการพาสารพิษจากพลาสติกลงมาปนเปื้อนกับอาหาร ซึ่งเมื่อเรารับประทานอาหารเหล่านั้นเข้าไป ก็เกิดการสะสมของสารพิษ และอาจก่อเป็นสารก่อมะเร็งได้

คนส่วนใหญ่คิดว่า พลาสติกคลุมอาหารสามารถสัมผัสอาหารทุกชนิดได้โดยตรง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่อยากให้คุณคิดแบบนั้นค่ะ เพราะสารบางอย่างในพลาสติกอาจปนเปื้อนออกมาได้ การใช้ฟิล์มพลาสติกถนอมอาหารจึงต้องมีวิธีการใช้ให้ปลอดภัยและถูกวิธี ดังต่อไปนี้

[ads]

 

ข้อควรระวังในการใช้พลาสติกคลุมอาหาร ( Plastic Wrap )

1. เลือกใช้ชนิดพลาสติกคลุมอาหารให้เหมาะสม

ควรเลือกใช้พลาสติกคลุมอาหารให้ตรงกับที่ระบุไว้บนฉลาก เช่น  ใช้กับเตาไมโครเวฟ หรือเหมาะกับอาหารแช่แข็ง เป็นต้น

 

2.  สามารถใช้พลาสติกคลุมอาหารชนิดที่มีสาร PVC เป็นส่วนประกอบหลัก ในการห่อหุ้มอาหารประเภทผัก ผลไม้ หรือ อาหารที่ไม่มีไขมันได้

พลาสติกประเภท PVC ไม่เหมาะกับการใช้กับอาหารแต่สามารถใช้กับผลไม้ได้ แต่ถ้าต้องการใช้พลาสติกคลุมอาหารชนิดนี้กับอาหารที่มีไขมันจริงๆ ก็ควรใช้ร่วมกับภาชนะที่มีก้นลึกและบรรจุอาหารให้ต่ำกว่าปากภาชนะประมาณ 1 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้พลาสติกสัมผัสกับอาหารโดยตรง

732.3

 

3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกห่อหุ้มอาหารที่มีไขมันสูง

ไม่ควรใช้กับอาหารจำพวก เนยแข็ง เนื้อสัตว์ติดมัน เค้กที่มีหน้าครีมหรือช๊อคโกเลต อาหารทอด ถ้าจำเป็นก็ควรเลือกใช้พลาสติกชนิดที่ใช้กับอาหาร (food grade) จะดีกว่า

 

4. สามารถใช้พลาสติกคลุมอาหาร ในการอุ่นหรือทำอาหารในเตาไมโครเวฟได้ 

ทั้งนี้ต้องระวังไม่ให้พลาสติกสัมผัสกับอาหารโดยตรง เพราะจะทำให้สารที่ใช้ทำพลาสติกรวมถึงสารก่อพลาสติกลงไปปนเปื้อนในอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้พลาสติกคลุมอาหารปิดฝาภาชนะ หรือ ห่อหุ้มอาหารเหลวที่จะนำไปอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟที่ความร้อนสูง  เพราะความร้อนสูงสามารถทำให้พลาสติกหลอมละลายได้     

732.1

 

5. ไม่ควรใช้พลาสติกคลุมอาหารในการอุ่น หรือทำอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงมาก จนอาจทำให้พลาสติกละลาย 

เช่น  ในเตาอบ หม้อแกง กระทะ  หรือ  cooker hobs เป็นต้น และยิ่งถ้าในการทำอาหารนั้น มีไอน้ำ หรือ ไอน้ำมันเกิดขึ้น ยิ่งต้องระวัง!  เพราะทั้งไอน้ำและไอน้ำมันจะช่วยชะเอาสารที่ใช้ทำพลาสติกและสารก่อพลาสติกลงสู่อาหารได้   ทั้ง ๆ ที่พลาสติกเองไม่ได้สัมผัสอาหารโดยตรงแม้แต่น้อย

 

หากคุณสามารถใช้พลาสติกคลุมอาหารได้ถูกประเภท  คุณก็จะได้รับความปลอดภัยจากการรับประทานอาหารมากที่สุด และมีอายุอยู่ได้อย่างยืนยาวแบบไร้โรคภัยไข้เจ็บให้กวนใจ

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก matichon.co.th และ topicstock.pantip.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: