บอกเคล็ดลับ!! TOEIC 900+ เตรียมตัวเอง ไม่ต้องไปเรียนก็ทำได้!!


มาเขียนต่อตามสัญญาครับ หลังจากที่เขียน TOEIC 900+ สอบครั้งแรกได้เลย ไม่เคยไปติวเพื่อเตรียมสอบ http://pantip.com/topic/34559815 ซึ่งกระทู้นั้นจะเป็นในส่วนพัฒนา Listening Skills ด้วยตนเอง ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนเสริมตามสถาบันต่างๆ ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และห่างหายไปเพราะติดภารกิจช่วง Christmas และปีใหม่ (ภารกิจเที่ยว อิอิ) เมื่อหมดช่วงวันหยุดปีใหม่กลับมาก็ต้องมาเคลียร์งานเพราะหยุดไปหลายวัน ตอนนี้เคลียร์งานเสร็จแล้ว เลยมาเขียนกระทู้ต่อ
อ่อ ใครสนใจอยากพูดคุยหรืออยากจะสอบถามก็สามารถหลังไมค์มา หรือ add friend ใน facebook มาได้นะครับ แต่ add fb น่าจะดีกว่า เพราะเวลาถามมันเด้งขึ้นมาตลอดและตอบง่ายดี fb ผมก็ https://www.facebook.com/mastertui
แอดมาแล้วก็แนะนำตัวเองด้วยนะครับ ผมจะได้รู้ว่าแอดมาจาก pantip ไม่ใช่ spam account ^^
คำถามที่เจอเยอะมากกกกกก.... คือ เราพื้นฐานอ่อนมากกกกกกกกกกกก... (ก ไก่ วิ่งเข้าสู่ infinity 555+) ฟังอะไรก็ไม่รู้เรื่อง อ่านอะไรก็ไม่รู้เรื่อง แต่อยากพัฒนาภาษาอังกฤษจะเริ่มจากตรงไหนดี???? คำตอบคือ เริ่มจากความตั้งใจนี่แหละครับ คุณมาถูกทางแล้ว เหมือนสำนวนที่เราได้ยินกันบ่อย Where there is a will, there is a way = แปลไทยก็จะประมาณ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น แต่การจะไปถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งเอาไว้ ก็เหมือนจะเดินทางจากกรุงเทพไปขอนแก่น แน่นอนว่าจากกรุงเทพมันมีถนนหลายสายมากที่จะพาเราไปสู่ขอนแก่นได้ มีทั้งเส้นตรงๆ สั้นๆ, เส้นอ้อมๆ, เส้นวกไปวนมา ฯลฯ และถ้าเราขับรถไปเรื่อยๆ แบบไม่รู้จักถนนเลย เราอาจจะขับวนไปวนมา หลงไปหลงมา สุดท้ายอยู่ที่เดิม หรือไกลจากเป้าหมายกว่าเดิม 555+
ดังนั้น ถ้าจะเก่งภาษาอังกฤษจะเริ่มจากอะไรก่อนดี อย่างแรกเลยครับ ผมขอแนะนำว่า เราต้องรู้จักหลัก Grammar ที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่เข้าใจเรื่องนี้ไม่มีทางเก่งภาษาอังกฤษได้ครับ นั่นก็คือ... Parts of Speech (ชนิดของคำ) นั่นเอง
เพราะถ้าเราไม่รู้จัก Parts of Speech เราจะไม่รู้เลยว่า คำแต่ละคำในประโยคมันสัมพันธ์กันอย่างไร และคำไหนควรวางไว้ตรงไหนในประโยค
เคยไหม… ที่เปิด Dictionary จนครบทุกคำละก็ไม่รู้ว่าประโยคนี้มันแปลว่าอะไร? … รู้คำศัพท์นะแต่ไม่รู้จะเรียบเรียงออกมาเป็นคำพูดหรือประโยคได้ยังไง? … เอ๊ะ เราต้องแปลคำไหนในประโยคก่อนนะ? … แล้วถ้าจะแต่งประโยคคำไหนควรจะวางไว้ด้านหน้าคำไหนควรจะวางไว้ด้านหลัง? ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าเราเข้าใจภาษาอังกฤษตั้งแต่พื้นฐาน การเรียน Grammar ก็เหมือนการสร้างพีระมิด พีระมิดจะใหญ่โตแข็งแรงได้นั้นก็ต้องมีรากฐานที่มั่นคง เราจะเก่งภาษาอังกฤษได้ต่อเมื่อเราเข้าใจพื้นฐาน Grammar ที่สำคัญที่สุดของภาษาอังกฤษซะก่อน นั่นก็คือ Parts of Speech (วจีวิภาค = วิจีวิภาคคืออะไร? แปลไทยเป็นไทยอีกทีมันก็คือ ชนิดของคำ นั่นเอง )
English Parts of Speech ประกอบด้วยสมาชิก 8 ตัว
1. Nouns คำนาม
2. Pronouns คำสรรพนาม
3. Verbs คำกริยา
4. Adjectives* คำคุณศัพท์*
5. Adverbs คำวิเศษณ์
6. Prepositions คำบุพบท
7. Conjunctions คำสันธาน
8. Interjections คำอุทาน
(*หมายเหตุ: วจีวิภาคในภาษาไทย มีแค่ 7 ชนิด เพราะถือว่า Adjective เป็นส่วนหนึ่งของคำวิเศษณ์ เนื่องจาก Adjectives มีหน้าที่ในการขยายเช่นกัน)
1. Nouns (N.) are words used to name people, animals, and things. They can function as subjects (S), objects of verbs (OV), objects of prepositions (OP), complements (C), and adjectival nouns.
คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ และสิ่งต่างๆ หน้าที่ของของคำนามคือ 1) เป็นประธานของประโยค [Subject : S] 2) เป็นกรรมของกริยา [objects of verbs : OV] 3) เป็นกรรมของบุพบท [objects of prepositions : OP] 4) เป็นตัวเติมเต็ม [complements : C] และ 5) เป็นคำนามที่ขยายคำนามด้วยกันเพื่อสร้างคำประสม [adjectival nouns]
- My brother bought that book from this store.
[“brother” = S. / “book” = OV (bought = V.) / “store” = OP (from = preposition)]
- He is my student.
[“student” = C. (is = linking verb) “student” ไม่ได้เป็น OV เพราะ “student” ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำ และ “He” กับ “student” ในประโยคนี้คือคนเดียวกัน]
- I will wait for you at the bus station.
[“bus station” เป็น compound noun (เกิดจาก bus = N. และ station = N. โดย station เป็นคำนามหลักและ bus ไปขยาย station) “bus” จึงเป็น Adjectival noun คือ คำนามที่ขยายคำนาม]
2. Pronouns (Pron.) are words used to replace nouns. Their functions are the same as nouns: subjects (S), objects of verbs (OV), objects of prepositions (OP), complements (C), and possessive adjectives.
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนที่คำนาม (ไม่จะได้ไม่ต้องพูดคำนามนั้นซ้ำๆ) จึงมีหน้าที่ในประโยคเหมือนคำนาม คือ 1) เป็นประธานของประโยค [Subject : S] 2) เป็นกรรมของกริยา [objects of verbs : OV] 3) เป็นกรรมของบุพบท [objects of prepositions : OP] 4) เป็นตัวเติมเต็ม [complements : C] และ 5) เป็นสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ [possessive adjectives]
- His name is Narongchai. He is from Thailand.
[“He” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น S. ของประโยค]
- I have known him for 10 years.
[“him” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น OV ของ have known]
- When we were students, I went to school with him.
[“him” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น OP ของ with]
- It is he who I consider as my best friend.
[“he” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น C. ของประโยคเพราะอยู่หลัง “is” ซึ่งเป็น linking verb และในประโยคนี้ “he” ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำ]
- I always went to his house after school.
[“his” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai’s (-’s แสดงความเป้นเจ้าของ) ขยายคำว่า house “his” เรียกว่า possessive pronoun ถือเป็น determiners (คำนำหน้า noun) ชนิดหนึ่ง]
3. Verbs (V.) are words used to show the action or state of being of the subject.
คำกริยา คือ คำที่ใช้บอกว่าประธานกำลังทำอะไร (action verbs) หรืออยู่ในสถานะใด (state verbs)
- Lee is writing a letter to Desorah
[“write” เป็น action verb เพราะแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ S. กระทำ]
- Those flowers smell wonderful.
[“smell” เป็น state verb เพราะ แสดงถึงสถานะว่าดอกไม้มีกลิ่นหอม]
Some verbs can be both action and state ones.
คำกริยาบางคำสามารถเป็นได้ทั้ง action verb และ state verbs
- The chef has tasted the soup. (พ่อครัวได้ชิมซุปแล้ว)
[“taste” ในประโยคแปลว่า ชิม เป็น action verb]
- The soup tastes a bit too salty. (ซุปมีรสชาติเค็มไปนิด)
- [“taste” ในประโยคแปลว่า มีรสชาติ เป็น state verb]
4. Adjectives (Adj.) are words used to describe nouns and pronouns.
คำคุณศัพท์ คือ คำที่ใช้ขยายคำนามและคำสรรพนาม
- Donald is talking to a rich businessman.
[“rich” ขยาย businessman]
(ตำแหน่งของ Adjective ที่วางอยู่หน้า Noun เรียกว่า attributive position)
- Ellen is beautiful.
[“beautiful” ขยาย “Ellen”]
(ตำแหน่งของ Adjective ที่วางไว้หลัง V. to be / linking verbs เรียกว่า predicative position)
- She is beautiful.
[“beautiful” ขยาย “she” ซึ่งในที่นี้เป็นสรรพนามแทนคำว่า “Ellen”]
*Note: Adjective ที่ขยาย pronoun จะอยู่ในตำแหน่ง “predicative position เท่านั้น”
5. Adverbs (Adv.) are words used to describe three things: verbs, adjectives, and adverbs.
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ และคำวิเศษณ์
- My father drives fast but my mom drives very slowly.
[“fast” (adv.) ขยาย “drives” (v.) และ “slowly” (adv.) ขยาย “drives” (v.)]
- My father drives fast but my mom drives very slowly. -
[“very” (adv.) ขยาย “slowly” (adv.)]
- The weather today is extremely hot.
[“extremely” (adv.) ขยาย “hot” (adj. – predicative position ขยาย “The weather today”)]
6. Prepositions (Prep.) are words used to link between clauses and phrases to show place, direction, time etc. Only noun, pronouns, and phrases are placed after prepositions.
คำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างอนุประโยคและกลุ่มคำเพื่อแสดงถึงสถานที่ ทิศทาง หรือเวลา ของคำนาม คำสรรพนาม gerunds หรือ วลีที่วางอยู่ข้างหลัง
- I kept all the books in that closet. [“in” (prep. of place)]
- I am running to school. [“to” (prep. of direction)]
- See you again on Monday. [“on” (prep. of time)]
- Last night I went to eat out with Dorothy. [“with” (prep. in others section)]
7. Conjunctions (Conj.) are words used to join between words and words, phrases and phrases, clauses and clauses; left and right must be equal.
คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างคำกับคำ วลีกับวลี และอนุประโยคกับอนุประโยค โดยฝั่งซ้ายและฝั่งขาวของคำสันธานต้องมีค่าเท่ากัน
- My sister and I play badminton every Sunday.
[“and” (conj.) เชื่อมหว่างคำกับคำ “My sister” และ “I”]
- I am good at English and mathematics.
[“and” (conj.) เชื่อมหว่างคำกับคำ “English” และ “mathematics”]
- Do you want to go with us or stay at home alone?
[“and” (conj.) เชื่อมหว่าง วลี กับ วลี “go with us” และ “stay at home alone”]
- I am very hungry because I haven’t eaten anything all day.
[“and” (conj.) เชื่อมหว่าง อนุประโยค กับ อนุประโยค “I am very hungry” และ “I haven’t eaten anything all day”]
8. Interjections (Interj.) are words used to express feeling. They are not grammatically related to any other part of the sentence.
คำอุทาน คือ คำที่ใช้แสดงอารมณ์ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ โดยคำอุทานจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางไวยากรณ์กับคำอื่นๆ ในประโยค
- Wow! That’s truly amazing. [“Wow” (interj.)]
- Could you please open the door for me? [“please” (interj.)]
หลังจากนี้ ทุกครั้งที่เราเจอศัพท์ที่ไม่รู้ และเปิด Dictionary เราจะไม่ดูแค่คำแปลนะครับ สัญญานะ? (555+) แต่ดูด้วยว่าคำที่เราเห็นนั้นเป็น parts of speech อะไร
คำบางคำในภาษาอังกฤษ เป็นได้มากกว่า 1 part of speech
เช่น book (n.) = หนังสือ / book (v.) = จอง
- He’s writing a book about his experiences. (book = n.)
- Did you already book a table for our dinner tonight? (book = v.)
คำประเภทนี้เรียกว่า Homonym คือ คำพ้องรูปและเสียง แต่ไม่พ้องความหมาย เช่น right (adj.) = ถูก / right (n.) = ด้านขวา / right (n.) = สิทธิ เป็นต้น
ไหนๆ ก็ พูดถึง Homonym แล้ว ขอเสริมให้ครบทั้ง 4 พี่น้องเลยนะครับ ในครอบครัวนี้ยังมี
Homograph = คำพ้องรูป (เขียนเหมือน แต่ออกเสียงไม่เหมือน) เช่น desert (n.) /เด๊ด-เซิทร์ (ออกเสียงเน้นที่ "เด็ด" และออกเสียง "เซิทร์" เบาๆ)/ แปลว่า ทะเลทราย และ desert (v.) /ดิ-เซิทร์ ออกเสียง "ดิ" เบาๆ ออกเสียงเน้นที่ "เซิทร์"/ แปลว่า ละทิ้ง เป็นต้น
็Homophone = คำพ้องเสียง (เขียนไม่เหมือน แต่เสียงเหมือน) เช่น right และ write เป็นต้น
สุดท้าย Synonym = คำไวพจน์ (พ้องความหมาย) เช่น big, large, huge, และ massive เป็นต้น
มาต่อแล้วครับ... ขอต่อเรื่อง Parts of Speech อีกนิด ความจริงแล้วอย่างที่ผมเคยเขียนไปว่า Communication Skills ก็เหมือนการเล่นดนตรี มันไม่มีสูตรลัด จะเก่งไม่เก่งมันขึ้นอยู่กับการฝึกบ่อยๆ และใช้บ่อยๆ ดังนั้น จะรู้ vocab เยอะๆ จะรู้ว่าคำไหน เป็น Part of Speech อะไร ก็ต้อง อ่านเยอะๆ เปิด Dictionary เยอะๆ
อ่อ...มีคนถามว่า อยากเก่ง Eng ต้องท่องศัพท์มั้ย?... ขอตอบว่า แต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน ดังที่ Howard Gardner กล่าวไว้ในทฤษฏีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ว่ามนุษย์รู้แบบการเรียนรู้และความชำนาญที่ไม่เหมือนกัน โดย Howard Gardner แบ่งความชำนาญหรือปัญญาออกเป็น 9 กลุ่ม... (หยุดเรื่อง พหุปัญญาไว้แค่นี้ก่อน ออกทะเลไปไกลมาก 555+... ใครสนใจสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่https://en.wikipedia.org/wiki/Theory_of_multiple_intelligences ) ดังนั้นบางคนอาจจะท่องศัทพ์แล้ว click กับวิธีนี้ ท่องแล้วจำได้ ท่องแล้วชอบ ก็ท่องต่อไปครับ ...แต่ไม่ใช่ผม สำหรับผม ผมไม่ชอบการท่องศัพท์เลย ผมว่ามันน่าเบื่อมาก (บอกแล้วว่าแต่ละคนมีวิธีเรียนรู้ไม่เหมือนกัน) ผมชอบใช้วิธีการเปิด Dictionary เน้นว่าเปิด เปิดแบบผลิกทีละหน้าๆ ไม่ใช่จิ้มๆ ใน iPad หรือ พิมพ์ๆ บน Keyboard (เพราะในสมัยที่ผมเริ่มตั้งใจอ่าน Eng มันยังไม่มี technology พวกนี้ 555+) แล้วทุกครั้งที่เปิด Dictionary ผมจะ tick คำที่ผมไม่รู้เอาไว้ ดังนั้นถ้าครั้งต่อไปเจอคำนี้แล้วไม่รู้อีก พอมาเปิด Dictionary เราก็จะรู้ว่า อ่อ เคยเปิดคำนี้แล้วหนิ 1 ครั้ง แล้วก็รีบๆ tick อันที่ 2 ลงไป เชื่อมั้ยครับว่าบางครั้งนี่แบบ... เฮ้ยเปิดคำนี้มา 5 ครั้งแล้วเนี่ย ทำไมจำคำนี้ไม่ได้สักที 555+
พอเปิดเสร็จ ผมจะดู ตัวอย่างประโยคที่เขาให้มาใน Dictionary และแต่งประโยคของตัวเองออกมา เช่น Book (n) หนังสือ = He’s writing a book about his experiences. โดยส่วนตัว ผมว่าการได้เอาคำศัพท์มาแต่งประโยค มันทำให้ผมจำคำนั้นๆ ได้ แล้วเข้าใจว่าคำพวกนี้ต้องใช้คำนั้นยังไงเวลาจะแต่งประโยคจริงๆ (นี่เป็นแค่แนวทางๆ หนึ่งที่ผมใช้ สำหรับบางคนวิธีนี้อาจจะ work แต่สำหรับบางคนก็อาจจะไม่)
กลับมาเรื่อง Parts of Speech ต่อ ... ถ้าเราเจอศัพท์ที่ไม่รู้เรามีสิทธิ์รู้มั้ยว่าคำนั้นเป็น Parts of Speech อะไร?... ตอบว่า รู้ได้ครับ
รู้จากการดูตำแหน่งของคำในประโยค เพราะแต่ละ Parts of Speech มีตำแหน่งที่ตายตัวสำหรับ Parts of Speech ของตัวเอง
เช่น Nouns
จากในรูป ก็จะเห็นว่า แต่ละ Function ของ nouns ก็มีตำแหน่งของตัวเอง
Subjects (S) อยู่หน้า Main V.
Objects of verbs (OV) อยู่หลัง Main V.
Objects of prepositions (OP) อยู่หลัง Prepositions
Complements (C) อยู่หลัง V. to be / Linking V.
Adjectival nouns. อยู่หน้า noun ที่มันขยาย
- My brother bought that book from this store.
[“brother” = S. / “book” = OV (bought = V.) / “store” = OP (from = preposition)]
- He is my student.
[“student” = C. (is = linking verb) “student” ไม่ได้เป็น OV เพราะ “student” ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำ และ “He” กับ “student” ในประโยคนี้คือคนเดียวกัน]
- I will wait for you at the bus station.
[“bus station” เป็น compound noun (เกิดจาก bus = N. และ station = N. โดย station เป็นคำนามหลักและ bus ไปขยาย station) “bus” จึงเป็น Adjectival noun คือ คำนามที่ขยายคำนาม]
Pronouns เป็นคำที่เอามาใช้แทน Nouns ดังนั้นตำแหน่งจึงเหมือนกับ Nouns
- His name is Narongchai. He is from Thailand.
[“He” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น S. ของประโยค]
- I have known him for 10 years.
[“him” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น OV ของ have known]
- When we were students, I went to school with him.
[“him” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น OP ของ with]
- It is he who I consider as my best friend.
[“he” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai และเป็น C. ของประโยคเพราะอยู่หลัง “is” ซึ่งเป็น linking verb และในประโยคนี้ “he” ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำ]
- I always went to his house after school.
[“his” เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำว่า Narongchai’s (-’s แสดงความเป้นเจ้าของ) ขยายคำว่า house “his” เรียกว่า possessive pronoun ถือเป็น determiners (คำนำหน้า noun) ชนิดหนึ่ง]
Verbs แบ่งหลักๆ ตามหน้าที่จะแบ่งเป็น Helping V. กับ Main V. ตำแหน่งของ Main Verbs จะอยู่หลัง Subject เสมอ แต่ Helping V. สามารถย้ายมาวางไว้หน้า Subject เมื่อสร้างประโยคแบบ Inversion
ประโยคแบบ Inversion ที่ง่ายที่สุดก็คือ ประโยคคำถามนั้นเอง เช่น
He has been to the US. = Has he been to the US? การย้าย "has" ไปวางหน้า "he" เรียกว่า ประโยคแบบ inversion ครับ
รูปนี้อธิบายว่า
Helping V มี 4 ตระกูลคือ V. to be / V. to have / V. to do / Modal V. โดย helping v ที่ต่างกันจะส่งผลให้ v. ที่ตามมาอยู่ในรูปต่างกัน เช่น
V. to be ต้องตามด้วย V.ing (โครงสร้างแบบ Continuous) / v. to be + V.3 (โครงสร้าง Passive voice)
Main V. แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ Action V. กับ State V.
เรื่อง Verbs นี่ค่อนข้างซับซ้อน รอผมผอมๆ ก่อนเดี๋ยวจะถ่ายคลิปอธิบายเรื่อง verb มาให้ดูนะครับ ถ่ายตอนนี้ไม่ไหว หน้าบานล้นกล้อง 5555
Adjectives มีไว้ขยาย nouns มีอยู่ 3 ตำแหน่งหลักๆ
1. หน้า noun เช่น I bought a big house (big), Look at that handsome man (handsome), Do you know those beautiful girls (beautiful) เป็นต้น
2. หลัง V.to be / Linking V. เช่น This book is interesting (interesting), Her garden looks really wonderful (wonderful), Your food smells delicious (delicious) เป็นต้น
3. หลัง noun (ตำแหน่งนี้ advanced กว่า 2 อันแรกเล็กน้อย คือจะเป็นที่อยู่ของพวก adj ที่ลงท้ายด้วย -able ตามตัวอย่างในรูปด้านล้าง และเป็นตำแน่งของทั้ง Adj. clause แลพ Adj. Phrase)
เช่น
I already talked to the boy who broke the window. ("who broke the window" เป็น Adj. Cl. ขยาย "the boy")
The man talking to my mother right now is the director of my school. ("talking to my mother right now"ขยาย "the man")
The drug developed at our company has been distributed to all countries in Asia. ("developed at our company"ขยาย "the drug")
Adverbs อย่างที่อธิบายไป (ในความเห็นที่ 1) แล้วว่า มันขยายได้ 3 อย่าง ขยาย verbs, ขยาย Adj., และยังขยาย Adv. ได้อีกด้วย
จึงทำให้มันมีหลายตำแหน่งและอยู่ได้หลายที่ในประโยคมาก และที่สำคัญ Adv มีทั้งแบบ one-word Adv คือ คำๆ เดียวเป็น Adv เช่น always, often, usually, wonderfully, wisely, surprisingly, ... และแบบ group-word Adv. คือ คำหลายๆ คำมารวมกัน แล้วกลายเป็น Adv. เช่น every day, last night, this week, from Thailand, on the table, before the first test, after finished their homework... และอีกมากมาย
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า Adv. แบ่งคร่าวๆ ได้ 5 ประเภท ตามรูปเลย
1. Adverb of Time is used to answer the question “When?”
Jane called me yesterday. (yesterday answers the question, “When did Jane call?”)
We went to Paris two years ago. (two years ago)
Next week the new book will be released. (next week)
2. Adverb of Frequency is used to answer the question “How often?”
She always gets up early. (always)
He usually has lunch at 11 o’clock. (usually)
He hardly goes to library at weekends. (hardly)
We throw a party from time to time. (from time to time)
3. Adverb of Place is used to answer the question “Where?”
I liv. (here)
She has just put those books on my table. (on my table)
Your bag is over there. (over there)
They come from Thailand. (from Thailand)
4. Adverb of Manner is used to answer the question “How?”
The baby is sleeping soundly. (soundly = well)
He drove the car very carefully through the crowd. (carefully)
They never come to class late. (never / late)
She smiled confidently to the audience. (confidently)
5. Adverb of Degree (very, so, too, and enough) is used to answer the question “To what degree?” to describe Adj. or Adv. (This type of adverbs (very, so, and too) is usually placed before the Adj. or Adv. which it modified. Except for “enough”, it is placed after the Adj. or Adv. which it modified)
Jane yelled at me very loudly.
It was too dark for us to see.
Thank you so much for your kindness.
The bag is light enough for the baby to carry.
He drove fast enough to make everyone in the car nervous.
โดย Adv. 4 อันแรก เป็น Adv ที่ใช้ขยาย Verbs ส่วน Adv. อันสุดท้าย Adverb of Degree ใช้ขยาย Adj. หรือ Adv.
ตำแหน่งการว่าง Adv ก็เลยต่างกัน ตามรูป
___________________________________________
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูล จาก : http://pantip.com/topic/34644814