เงินเดือนต่อชั่วโมงของคุณเท่าไหร่?!จะทำงานต่อไป-หางานใหม่ดี!





การทำงานทุกวันนี้ สิ่งเเรกที่นึกถึงคือ เงินเดือนหรือค่าตอบเเทนเป็นหลัก เเต่งานที่ให้เงินเดือนสูงก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่างานนั้นจะ "คุ้มค่า"กับคุณ Pop – Chutipong Benjasatkul จากเว็ปไซด์ http://SalaryDIY.com ได้ให้คำเเนะนำไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

 

[ads]

 

เนื้อหาจาก [Online]http://SalaryDIY.com

"…คำถาม : ตอนนี้อายุ 3x เงินเดือน 1xx,xxx ถ้าเทียบกับคนที่อายุเท่ากัน ถือว่ามากหรือน้อยกว่า?

ตอบ : ถ้าจะถามผมว่าคนที่ติดต่อเข้ามา ขอคำปรึกษาจากผมในเรื่องใดมากที่สุด ต้องขอตอบว่า คำถามแนวเปรียบเทียบเงินเดือน (benchmarking) ถือเป็นคำถามยอดนิยมตลอดกาลครับ ส่วนตัวผมเดาว่า คำถามนี้ถูกถามเพื่อต้องการถามให้แน่ใจว่า ตัวผู้ถามเองนั้นยังคงความ competitiveness (ยังอยู่ในสถานะที่แข่งขันได้) อยู่หรือไม่ เมื่อเทียบกับ Candidate รายอื่นๆ ในตลาดแรงงาน หรือตลาดการหางาน


คำตอบที่ผมให้มี 2 แนวทาง ขึ้นอยู่กับ Mood & Tone (อารมณ์) ของคนที่คุยด้วย คือ

  1. แนวให้กำลังใจ จุดไฟในทรวง หรือ

  2. แนวปลอบใจ ดับไฟฟุ้งซ่าน

ต้องขอบอกว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเลย ที่ถามเพื่อให้ได้คำตอบในสิ่งที่เขาต้องการอยากฟัง และแน่นอนถ้าให้คุณเดาว่า คนที่คุยกับ Headhunter อย่างผม ส่วนใหญ่ก็ตั้งธงมาแต่ไกลแล้วว่าอยากเปลี่ยนใหม่ เพราะฉะนั้น คำตอบที่ผมให้ คงไม่สำคัญเท่ากับคำตอบที่ต้องการฟัง ซึ่งก็คงไม่พ้น การให้ผมช่วยประสานเสียง ยืนยันให้เขาหางานใหม่

 

เงินเดือน = จ้างเหมารายเดือน

 

   ก่อนอื่นเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย คุณต้องเข้าใจตรงกันตรงนี้ก่อนว่า เงินเดือนที่เราได้รับมานั้น เป็น ค่าจ้างที่นายจ้างเหมาจ่ายเป็นรายเดือน  โดยใช้สมมติฐานว่าแต่ละคนใช้เวลาทำงานไม่เท่ากัน  (ถึงแม้จะกำหนดว่า วันหนึ่งทำงาน 8 ชั่วโมงก็ตาม) ในตำแหน่งคล้ายๆกัน เงินเดือนที่ไร่เรี่ยกัน คุณเชื่อหรือไม่ว่า บางคนใช้เวลาทำงาน วันละ 8 ชั่วโมง บางคนวันละ 10 ชั่วโมง บางคนวันละ 12 ชั่วโมง หรือบางคนมากกว่านั้น และบางคนอาจจะทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด

   ดังนั้นก่อนที่จะเทียบกับเงินเดือนกับคนอื่นๆ ในตลาด ควรต้องเริ่มต้นด้วยการปรับฐานเงินเดือนให้เหมือนกันก่อน แบบเดียวกับที่เราชอบใช้ประโยคว่าให้เทียบ apple to apple โดยใช้ Concept ง่ายๆ คือให้คุณเปรียบตัวเองเป็น ดารา หรือ เซเลบ ที่ถูกจ้างให้ไปออก Event ตามที่ต่างๆ ซึ่งจะมีการกำหนดค่าตัว หรือค่าจ้างว่า Rate อยู่ที่เท่าไหร่ และให้เวลากี่ชั่วโมง

   มาเริ่มกันเลยครับ เอาเวลาของคุณ (ของใครของมันนะครับ) ว่าใช้เวลาทำงานทั้งหมดกี่ชั่วโมงต่อเดือน เพื่อปรับให้เป็น เงินรายชั่วโมง หรือค่าจ้างต่อชั่วโมง

 

ค่าจ้างต่อชั่วโมง = เงินเดือน หารด้วย จำนวนชั่วโมงที่ทำงานต่อเดือน

 

ตัวอย่าง

smileyงาน A เงินเดือน 80,000 บาท

ชั่วโมงที่ทำงานต่อเดือน = วันละ 8 ชม (เข้า 8โมง ออก 5โมง). x 22 วันทำงาน = 176 ชั่วโมง
ค่าจ้างต่อชั่วโมง = 80,000 / 176 = 455 บาท/ชม.


smileyงาน B เงินเดือน 100,000 บาท

ชั่วโมงที่ทำงานต่อเดือน = วันละ 10 ชม.(เข้า 8โมง ออก 1ทุ่ม) x 22 วันทำงาน = 220 ชั่วโมง
ค่าจ้างต่อชั่วโมง = 100,000 / 220 = 455 บาท/ชม.


***ตามตัวอย่างข้างต้น ถ้าคุณย้ายจากงาน A เงินเดือน 80,000 ไปทำงาน B เงินเดือน 100,000 หากดูผิวเผินแล้วดูเหมือนคุณจะได้เงินเพิ่มขึ้นแต่หารู้ไม่ว่าต้นทุนจริงๆของเงินที่เพิ่มขึ้นมานั้นมาจากเวลาที่หายไปและสิ่งที่ตามมาจากการ work long hour(ทำงานเกินเวลา)งาน B นั้น ใช้เวลาคุณมากขึ้น อาจเป็นเพราะ เนื้องานยากขึ้น ตำแหน่งที่สูงขึ้น ความรับผิดชอบที่สูงขึ้น การดูแลทึมงานที่ใหญ่ขึ้น การดูแลยอดขายที่มากขึ้น เป็นต้น

อาจมีหลายคนแย้งว่า “อ้าว! ก็ผม/หนู ยังหนุ่มยังสาว ทำงานเลิกดึก ทำงานวันเสาร์อาทิตย์ แค่นี้รับได้” ยอมรับ และยอมแลกเวลากับเงินที่ได้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 20,000 แค่นี้ไม่มีปัญหา ถือว่าคุ้ม!!ก็ถ้าคุณรับได้ คงไม่มีใครว่าอะไรได้ครับ แต่คุณต้อง make sure นะครับว่า

 

ความคุ้มค่าเกิดมากที่สุด

โดยให้เทียบสิ่งที่ได้มา

กับสิ่งที่ต้องเสียไป

 

เพราะหลายครั้ง สิ่งที่เราต้องเสียไปเป็นสิ่งที่ไม่อาจเห็นด้วยตาเปล่า เช่น สุขภาพ ความสุข เวลาส่วนตัว หรือเวลาที่ให้กับคนที่คุณรัก ในขณะที่สิ่งที่ได้มาชัดๆ คือเงินเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ ไม่ว่าคุณจะเงินเดือนเท่าใด มากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐาน แต่ถ้าสุดท้ายแล้วคุณไม่พอใจในสิ่งที่มี สิ่งที่เป็นอยู่ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะอยู่ใน Top ของ Range หรือ จะอยู่ Bottom ของ Range ก็หาได้มีความสุขไม่…"

 

 

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: