6 วิธีป้องกันปัญหา “ลาหยุดก็ยังจะโทรตาม”





มีวันหยุดทั้งที ใครก็อยากพักผ่อนให้เต็มที่ ไม่รับรู้เรื่องงานอะไรทั้งนั้น แต่บางทีมันก็ปฏิเสธยากนี่สิ ไม่รับก็จะหาว่าใจดำ รับไปแล้วก็สั่งนั่นนี่ทำเหมือนว่าเราพร้อมจะทำให้เดี๋ยวนั้นเลย ให้ตายเถอะจอร์จ !

 

เพื่อให้เคลียร์ปัญหานี้ได้ลงตัวทั้งคนที่โทรตามและคนที่ถูกโทรตาม (รวมไปถึงไลน์ หรือส่งข้อความใน facebook ด้วย) Thaijobsgov มีทางออก


Getting hot
Getting hot

ภาพประกอบจาก www.huffingtonpost.com
 

อย่าฝึกนิสัยขี้โกหก เช่น พักเที่ยงแต่เลยเวลาทำงานไปเยอะ ก็ลาป่วยซะเลย, โดดประชุมไปเดินเตร่คลายเครียด, เขียนใบลาไว้5วัน แอบโดดซะอีกวันจะเป็นไรไป ฯลฯ มันส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของคุณได้ เวลาจำเป็นจะต้องลาจริง ๆ เช่น ลาป่วย, ลาไปงานศพญาติ, ได้ช่วงพักร้อนที่เหมาะสม จะไม่มีใครเชื่อในตัวคุณ (ก็คุณเอาเวลาทำงานมาล้อเล่นก่อนนี่! angry)

 

คนที่ลางาน : กรุณาเคลียร์งานในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบมาล่วงหน้าก่อนวันลา 2-3 วัน แล้วเคลียร์กับคนที่จะมารับช่วงต่อหรือคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานเราว่าต้องเตรียมอะไร ทำยังไงต่อ ข้าวของเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้อยู่ตรงไหน เอกสารสำคัญมีอะไรบ้าง ฯลฯ ยิ่งละเอียดยิ่งดี ระหว่างที่เราไม่อยู่พวกเขาจะได้ไม่จิกตามตัวเราให้วุ่นวายหรือบ่นไล่หลังเรา และที่สำคัญก็คือ "พวกเขาจะโทรหาเราในกรณีที่เรื่องคอขาดบาดตายจริง ๆ" เพราะปัญหาจุกจิก ขั้นตอนที่ไม่ยากอะไร เราดักทางไว้หมดแล้วด้วยการเคลียร์ให้รู้เรื่อง ชัดเจนทุกฝ่าย (ย้ำว่าความชัดเจนเป็นเรื่องสำคัญมาก)
 

คนที่ลางาน : อย่าใจดีรับโทรศัพท์ทุกเรื่องที่ออฟฟิศโทรมาระหว่างที่กำลังลาหยุด ลาป่วย หรือลาพักร้อน ในเมื่อคุณเคลียร์ปัญหาง่าย ๆ ไว้ล่วงหน้าแล้ว คุณก็ต้องทำให้พวกเขารู้สึกได้จริงว่า "คุณติดต่อได้เฉพาะเรื่องคอขาดบาดตายมาก ๆ" คนที่เป็นมืออาชีพในการทำงานจริง ๆ จะไม่นำเวลาส่วนตัวมาปนกับงานเลยแม้แต่น้อย (ความใจดีบางทีก็เป็นภัยต่อความเป็นมืออาชีพ มือโปรตัวจริงต้องชัดเจนและเด็ดขาด!)

 

คนที่สแตนบายอยู่ออฟฟิศ : ในเมื่อเป็นทีมเดียวกัน อย่าปัดปัญหาทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ลาพักร้อนแล้วไงล่ะ? เรื่องของเธอหนิ! … ใจเขา ใจเรา นึกถึงวันที่ตัวเองต้องลาบ้างคงไม่อยากโดนจิกใช่ไหมล่ะ? ต้องเดินเรื่องยังไง ทำอะไร ของอยู่ไหน เอกสารต้องทำไงต่อ ฯลฯ พยายามจำรายละเอียดให้มากที่สุดเพื่อตัดปัญหาโทรจิกตามตัว จำไม่ได้ก็จดเอา

 

คนที่สแตนบายอยู่ออฟฟิศ : ควรมีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี อะไรที่พอจะทำได้ก็ทำไปก่อน ถ้ามันเกินกำลังจริง ๆ ค่อยรอให้คนที่ลาหยุดนั่นแหละมารับผิดชอบเองทีหลัง (ไม่ใช่โยนงานให้เขาทำนะ มันน่าเกลียด! ในที่นี้หมายความว่า ทำหน้าที่ของใครของมันไป หน้าที่ของเขาถ้ามันจะบกพร่องจริงๆ ก็ควรเป็นเรื่องของเขาที่ต้องรับผิดชอบเอง อย่าก้าวก่ายกันมาก)

 

คนที่สแตนบายอยู่ออฟฟิศ : ควรตระหนักให้ดีว่า "เวลางานกับเวลาส่วนตัวควรแยกขาดจากกัน" และควรรู้จักการ "เรียงลำดับความสำคัญของช่องทางการสื่อสาร" โทรศัพท์ควรมีไว้เฉพาะเรื่องด่วนและสำคัญมากที่สุด, ไลน์ควรเป็นเรื่องที่ไม่ด่วนมาก เพราะเขาจะเปิดอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ใช่เดี๋ยวนั้นที่เราส่งข้อความไป!, อีเมล์ควรเป็นเรื่องที่ไม่ได้รีบร้อนอะไรมาก แต่ก็ให้ความรู้สึกจริงจัง เป็นการเป็นงาน, เฟซบุ๊กคือพื้นที่(ค่อนข้าง)ส่วนตัว ไม่เหมาะกับการจิกเรื่องงาน แต่ถ้าจะเอาไว้ฝากไฟล์งานเล็ก ๆ แทนอีเมล์ ก็ไม่ว่ากัน  

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นกับวัฒนธรรมของแต่ละองค์กร และการสื่อสารกันระหว่างคนลากับคนอยู่ทำงาน อยากเคลียร์จริง ต้องทำให้มันชัดเจนกันทุกฝ่ายนะจ๊ะ laughlaughlaughlaugh

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: